
31 พฤษภาคมของทุกปี “วันงดสูบบุหรี่โลก” กับคำขวัญประจำปี 2566 “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” เตือนนักสูบหน้าใหม่
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันงดสูบบุหรี่โลก” (World No Tobacco Day) โดยเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี 2531 เนื่องจากตระหนักถึงอันตรายและความสูญเสียทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทั้งต่อผู้สูบเอง และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่
- เตือน 10 จังหวัด เตรียมพร้อมยกของขึ้นที่สูง รับมือสถานการณ์น้ำ
- ส่องประวัติ ไทยน้ำทิพย์-หาดทิพย์ ผู้ขายโค้กในไทย ทำไมรายได้ต่างกัน
- ราคายางใกล้แตะ 50บาท/กก. กระทบโรงงานน้ำยางข้นต้นทุนพุ่ง-จ่อปิดตัว
การกำหนดและจัดกิจกรรมในวันดังกล่าว จึงเป็นไปเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเลิกสูบ โดยให้รัฐบาล ชุมชน และประชากรโลกตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมกระตุ้นให้รัฐบาลกำหนดนโยบายหรือกฎหมายเพื่อควบคุมยาสูบขึ้น

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกยังระบุไว้ชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถป้องกันได้ จึงมีการกำหนดคำขวัญในการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในแต่ละปี และอนุสัญญาควบคุมยาสูบโดยแสดงโทษของยาสูบและแสดงภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ขึ้น
สำหรับคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกครั้งแรก คือ “บุหรี่หรือสุขภาพต้องเลือกสุขภาพ” ส่วนคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2566 ได้แก่ “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและเน้นย้ำ รวมถึงรณรงค์ในเรื่องโทษและภัยของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในนักสูบหน้าใหม่
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดดอกไม้ประจำวันงดสูบบุหรี่โลกขึ้น ได้แก่ ดอกลีลาวดี หรือดอกลั่นทม ที่มีความหมายถึงการมีความสุข ซึ่งถูกนำมาใช้สื่อความหมายในวันลดสูบบุหรี่โลกว่าเป็นการกำจัดสิ่งไม่ดีให้ออกไป
ชื่อเดิมของดอกลีลาวดี คือ “ดอกลั่นทม” แต่ก่อนไม่นิยมปลูกในบ้าน เนื่องจากเชื่อว่าจะนำแต่ความทุกข์ระทมเข้ามา
แต่ภายหลังก็ได้รับการตีความใหม่กลายเป็นดอกไม้ที่มีความหมายอันเป็นมงคล คำว่า “ลั่น” หมายถึง การเลิกหรือละทิ้ง ส่วน “ทม” หมายถึง ความระทม รวมกันจึงมีความหมายว่าการละทิ้งความทุกข์ระทมหรือการพบความสุขนั่นเอง