GISTDA ผนึก 8 หน่วยงานร่วมพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศช่วยภัยแล้ง

GISTDA ผนึก 8 หน่วยงานหลักของประเทศร่วมพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยแล้ง

วันที่ 9 มีนาคม 2566 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมชลประทาน, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

โดยกรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมภูมิสารสนเทศเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง

GISTDA ผนึก 8 หน่วยงานร่วมพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศช่วยภัยแล้ง

โดยงานนี้ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว., นายขจร เราประเสริฐ ผู้ตรวจยราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย, นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

และนายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร

ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร โฆษก GISTDA และผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของพืชเกษตรรายแปลงด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ สำหรับการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในภาคการเกษตร ภัยพิบัติ

GISTDA ผนึก 8 หน่วยงานร่วมพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศช่วยภัยแล้ง

รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์จากดาวเทียม ในการเตรียมพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภัยแล้ง อีกทั้งหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ และหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านนโยบาย ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยแล้ง

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่อยู่ภายใต้การประเมินความเสียหายด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

ที่ผ่านมา การประกาศภัยแล้ง อาศัยข้อมูลปริมาณน้ำฝนของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีการรายงานสภาวะฝนทิ้งช่วงอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก เพื่อประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้งในระดับจังหวัด โดยให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อขอรับเงินชดเชยผู้ประสบภัย

ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องมีการตรวจสอบและยืนยันความเสียหายก่อน จึงจะสามารถดำเนินการจ่ายค่าชดเชยให้แก่เกษตรกรได้ ทำให้ต้องใช้บุคลากร งบประมาณ และระยะเวลาในการสำรวจพื้นที่เพื่อตรวจสอบความเสียหาย

GISTDA ผนึก 8 หน่วยงานร่วมพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศช่วยภัยแล้ง

การร่วมมือในครั้งนี้จะเริ่มดำเนินการให้พื้นที่นำร่อง 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา สกลนคร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ กำแพงเพชร และอุทัยธานี ซึ่งจะเป็นการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและข้อมูลดาวเทียมมาวิเคราะห์และพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและความเสียหายของพืชเกษตรรายแปลง แบบอัตโนมัติ


เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานทั้งระดับปฏิบัติการและระดับนโยบาย ได้นำไปใช้ในการวางแผนและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นเครื่องมือให้กับภาคประชาชนได้เข้าถึงเพื่อการรับรู้และการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งของประเทศต่อไป