
ผลพวงจากเหตุระเบิดโกดังเก็บพลุและดอกไม้เพลิงระเบิด ภายในตลาดมูโนะ ริมถนนสายตากใบ-สุไหงโก-ลก หมู่ 1 ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา ทำให้โกดังพังถล่มลงมาหมดทั้งหลัง บ้านเรือนประชาชนและร้านค้าที่อยู่ข้างเคียงในรัศมี 500 เมตร ได้รับผลกระทบเสียหายอีกกว่า 200 หลัง มีผู้เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 121 ราย ส่งผลให้หลายฝ่ายเริ่มให้ความสนใจกับการทำธุรกิจโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟในประเทศไทย
จากข้อมูลของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ที่ได้ยื่นขอใบอนุญาตและยังประกอบกิจการอยู่ พบว่า ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานที่ประกอบกิจการผลิตประทัดไฟ พลุ ดอกไม้เพลิง รวมถึงดินประสิวและธูป ทั้งหมด 4 แห่งเท่านั้น
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เข้าบัญชีวันนี้ 5 จังหวัด
- EV จีนทุบราคาเลือดสาด ฉางอานท้ารบ-BYD เกทับลดอีกแสน
- วิธีเช็กเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท chongkho.inbaac.com
โดยอยู่ในพื้นที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี 1 แห่ง เป็นการ ผลิตประทัดไฟ ดอกไม้เพลิงทุกชนิด และดินประสิว เครื่องจักร 94 HP เงินทุน 5 ล้านบาท คนงาน 65 คน
แห่งที่ 2 อยู่ ใน อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 2 แห่ง โรงงานแรกผลิตดอกไม้เพลิงและประทัด เครื่องจักร 5 HP เงินทุน 1.8 ล้านบาท คนงาน 57 คน ส่วนโรงงานที่ 2 ผลิตพลุและดอกไม้เพลิง เครื่องจักร 5 HP เงินทุน 2.2 ล้านบาท คนงาน 53 คน
และแห่งสุดท้ายอยู่ใน อ.บางกล่ำ จ.สงขลา 1 แห่ง ผลิตธูป และดอกไม้เพลิง รวมถึงเป็นคลังสินค้าแบ่งบรรจุซื้อมาขายไป เครื่องจักร 52 HP เงินทุน 31.8 ล้านบาท คนงาน 31 คน
ซึ่งโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟในทั้งหมดจัดเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 คือ คือ โรงงานที่ มีเครื่องจักรรวมกันทั้ง 75 แรงม้าขึ้นไป (HP) หรือเทียบเท่า และมีพนักงานหรือคนงานมากกว่า 75 คนขึ้นไป เป็นโรงงานที่มีมลภาวะต้องรับใบอนุญาตก่อนจึงจะตั้งโรงงานได้
หากเป็นโรงงานประเภทนี้ต้องขออนุญาตตั้งโรงงานต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้รับเอกสาร รง.3 และต้องยื่นขอเอกสารอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน คือ รง.4 จึงจะดำเนินกิจการได้ ตามกฏกระทรวงกำหนดประเภทชนิด และ ขนาดของโรงงานฉบับปี 2563 (ล่าสุด)
ทั้งนี้ การขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้ประกอบการควรตรวจสอบว่าโรงงานที่กำลังจะก่อตั้งนั้นจัดอยู่ในจำพวกไหน ไม่ว่าจะเป็นแรงม้าของเครื่องจักร ประเภทของกิจการ และจำนวนคนที่ใช้ในการในโรงงาน และที่สำคัญที่สุด โรงงานควรตั้งอยู่ในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ และไม่ก่อให้เกิดเหตุอันตรายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยครับ
รายงานข่าวล่าสุด ระบุว่า อุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ได้ลงไปดูความเสียหายจากเหตุระเบิด พร้อมทั้งร่วมกันหาสาเหตุกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ทั้งนี้โกดังพลุดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพราะตาม พ.ร.บ. โรงงาน 2535 จะครอบคลุมการดูแล ควบคุมเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งไม่รวมถึงโกดัง
อย่างไรก็ตาม ทางกรมฯ ยังไม่ได้รับรายงานเข้ามาว่า โกดังพลุดังกล่าวเป็นของโรงงานที่ผลิตพลุจากที่ใด ได้มีการขออนุญาตถูกต้องหรือไม่ หรือเป็นการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ผลิตในประเทศ ขณะเดียวกันยังต้องรอทางตำรวจสืบสวนหาเจ้าของโรงงานเพื่อสรุปผลที่ชัดเจนต่อไป
ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย 2535 กำหนดให้ พลุ ดอกไม้ไฟ หรือดอกไม้เพลิง เป็นวัตถุอันตราย โดยจัดเป็นวัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีดินปืนเป็นส่วนประกอบหลัก สถานประกอบการหรือโรงงานผลิตจึงต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชม และได้รับใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกับดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยทุกขั้นตอน ที่สำคัญไม่อนุญาตให้ดัดแปลงที่พักอาศัยเป็นโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟ
โดยวัตถุอันตรายที่เป็นสารประกอบในการทำพลุ ดอกไม้เพลิงดังกล่าว จะประกอบไปด้วย 1.สารโปแตสเซียมเปอร์คลอเรต มีผลต่อการระคายเคืองของผิวหนังและระบบทางเดินหายใจส่วนบน 2.สารซัลเฟอร์ หรือกำมะถัน ทำให้เกิดอาการตาแดง ผิวหนังอักเสบ หายใจขัด เกิดการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจ 3.สารโปตัสเซียมไนเตรต ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุผิวหนัง
ถ้ากลืนกินเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้ ท้องเสีย และกล้ามเนื้ออ่อนแรง 4.สารแบเรียมไนเตรต ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหู ตา จมูก และผิวหนัง ทำลายตับ ม้าม และเกิดอัมพาตที่แขน ขา บางรายอาจทำให้เสียชีวิตได้
นอกจากนี้ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน 2490 หมวด 3 ยังระบุอีกว่า ดอกไม้เพลิง ยังกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดสั่ง นำเข้า หรือค้าซึ่งดอกไม้เพลิง เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ หากถ้าปรากฏว่าที่เก็บทำหรือค้าดอกไม้เพลิง อาจเป็นอันตรายแก่ประชาชน เพื่อความปลอดภัยนายทะเบียนท้องสามารถสั่งย้ายที่ตั้งโรงงานได้