เสียงจากผู้บริโภค บ้านหลัง 2 ซื้อเพราะจำเป็น-

คอลัมน์ ดาต้า เบส

ผู้สื่อข่าวจัดทำ “ประชาชาติธุรกิจโพล” สำรวจผู้บริโภคถึงผลกระทบจากมาตรการสกัดฟองสบู่ของแบงก์ชาติ พบว่า มีทั้งส่วนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

โดย “มาตรการเพิ่มเงินดาวน์ 20%” เห็นด้วยเพราะสามารถควบคุมนักเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ได้ และเป็นการเพิ่มวินัยด้านการเงิน, ไม่เห็นด้วยเพราะเพิ่มภาระให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง

“มาตรการควบคุมตั้งแต่บ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป” ซึ่งไม่มีผู้เห็นด้วยเลย เนื่องจากผู้บริโภคที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 เกิดจากความจำเป็น อาทิ คนต่างจังหวัดเข้ามาทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ซื้อพักอยู่เอง กับมีรายได้แล้วซื้อบ้านหลังที่ 2 ให้พ่อ-แม่อยู่อาศัยในต่างจังหวัด ซึ่งไม่มีจุดประสงค์ในการเก็งกำไร

“มาตรการป้องกันเก็งกำไรบ้าน-คอนโดฯ” เห็นด้วยเพราะมองว่าเป็นการป้องกันไม่ให้ราคาที่พักอาศัยแพงเกินความเป็นจริง ส่วนไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่าไม่ควรเหมารวมบ้าน เนื่องจากบ้านไม่มีการซื้อเพื่อเก็งกำไร และต้องแยกแยะระหว่างนักเก็งกำไรกับเรียลดีมานด์เพื่อไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องต้องเดือดร้อน

“มาตรการบังคับกับบ้านราคาเกิน 10 ล้าน” ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วย 100% เพราะผู้ซื้อบ้านราคาสูงขนาดนี้เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้สูง สามารถจ่ายเงินดาวน์ 20% ได้โดยไม่เดือดร้อน

สำหรับข้อเสนอแนะมีดังนี้ 1.ควรให้เวลาผู้บริโภคปรับตัวอย่างน้อย 3 ปี 2.แยกข้อแตกต่างระหว่างนักเก็งกำไรกับผู้ซื้อเรียลดีมานด์ 3.ควรยกเว้นสินค้าบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ 4.ควบคุมการซื้อบ้านหลังตั้งแต่ที่ 3 เป็นต้นไป 5.ควรดาวน์บ้าน 10% คอนโดฯ 15% ลดภาระให้ผู้บริโภคบ้าง

และ 6.ถ้าต้องเพิ่มเงินดาวน์ แบงก์ชาติควรจัดหาสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำ เพื่อลดภาระการผ่อนของผู้บริโภค

 

รับข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อย่าลืมกดติดตาม และกดปุ่ม See first (เห็นโพสต์ก่อน)
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

ติดตามอ่านข่าวสารจากประชาชาติออนไลน์ ทันสมัย-ทันใจ
ดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชั่น >> Prachachat << ได้แล้ววันนี้
ทั้งระบบ ios และ android

อ่านประชาชาติธุรกิจ ทั้งฉบับผ่าน e-Newspaper
ได้ที่แอปพลิเคชั่น Ookbee เลือก “ประชาชาติ”