ย้อนดูพัฒนาการตลาดหุ้นไทย 10 ปี เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

ภาพ ตลท. หุ้นไทย (SET) ตลาดหุ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ถ้าจะกล่าวถึง พัฒนาการของตลาดทุนของไทยในยุคใหม่นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค เริ่มจาก “ตลาดหุ้นกรุงเทพ” (Bangkok Stock Exchange) เริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2505 ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน และต่อมาเป็น “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ภายใต้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “The Securities Exchange of Thailand” และต่อมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) ได้มีการเสนอให้มีการจัดตั้ง ตลาดหลักทรัพย์ที่มีระบบระเบียบขึ้นเป็นครั้งแรก

และในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2518 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ชื่อภาษาอังกฤษในขณะนั้นคือ The Securities Exchange of Thailand) ได้เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก และได้ทำการเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น “The Stock Exchange of Thailand” (SET) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534

ซึ่งรู้หรือไม่ว่าในช่วง 10 ปีย้อนหลังมานี้พัฒนาการตลาดทุนไทยเป็นอย่างบ้าง โดยในเรื่องนี้ “ดร.ภากร ปีตธวัชชัย” กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เล่าให้ฟังว่า พัฒนาการตลาดทุนไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่อง หากดูในช่วง 10 ปีก่อน หรือในปี 2555 ขนาดมูลค่าตลาด SET อยู่ที่ 11.8 ล้านล้านบาท และมูลค่าตลาด mai อยู่ที่ 1.3 แสนล้านบาท และมาในปี 2565 มูลค่าตลาด SET เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 19.3 ล้านล้านบาท และ mai อยู่ที่ 5.6 แสนล้านบาท

และหากดูสัดส่วนองค์ประกอบแต่ละอุตาหกรรมก็ปรับเปลี่ยนไป จากปี 2555 สัดส่วนทรัพยากรอยู่ที่ 21% การเงินและประกัน อยู่ที่ 21% บริการ 18% และอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 15% และในปี 2565 เปลี่ยนเป็น ภาคบริการ 25% ทรัพยากร 23% การเงินและประกัน 15% และเทคโนโลยี 12% ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2575 มูลค่าตลาดจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งในส่วนของ SET, mai และ Live Platform & Exchange โดยอุตสาหกรรจะมีหลากหลายมากขึ้น และนักลงทุนต่างชาติจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้ หากดูมูลค่าการระดมทุน IPO ในปี 2564 อยู่ที่ 4.54 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 7 ในเอเซีย และอันดับ 18 ของโลก ขณะที่สภาพคล่องสูงสุดในอาเซียนตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเติบโตต่อเนื่องจาก 5 หมื่นล้านบาท มาอยู่ที่ 9.3 หมื่นล้านบาทในปี 2564 และปีนี้อาจจะปรับลดลงเล็กน้อยจากสถานการณ์ตลาดที่มีความผันผวน โดยอยู่ที่ราว 8 หมื่นล้านบาท

ขณะที่การเปิดบัญชีหุ้นเพิ่มขึ้นเช่นกัน พบว่า ปัจจุบันมีนักลงทุนเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกว่า 5.67 ล้านบัญชี โดยมีการเปิดบัญชีใหม่เกือบ 2 ล้านบัญชี คิดเป็นการเติบโต 40% จากปีก่อน และเติบโตเพิ่มขึ้นจากในช่วง 3-4 ปีก่อนที่มีการบัญชีหุ้นเพียง 3-4 ล้านบัญชี

“หากดูกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของ SET Index จะเห็นว่าปรับดีขึ้นกว่าช่วงก่อนโควิด-19 ประมาณครึ่งเดียวของ เช่น ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การส่งออก และภาคการผลิต แต่จะเห็นกลุ่มเกี่ยวภาคบริการยังไม่ได้ฟื้นตัว เช่น โรงแรม โรงพยาบาล จึงมองว่ายังมีโอกาสที่จะ Recover กลับมา โดยความสามารถในการทำกำไร พบว่า บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น 50-60% สูงกว่าช่วงโควิด-19 แต่เป็นการฟื้นตัวแบบ K Shaped ซึ่งในส่วนของ K ขาบน จะเป็นกลุ่มการผลิต และเทคโนโลยี ส่วน K ขาล่าง จะเป็นกลุ่ม พลังงงาน อสังหาริมทรพย์ เกษตร อาหาร และการเงิน ดังนั้น กลุ่ม Consumer Product ยังมีโอกสที่จะ Recover”

ดร.ภากร กล่าวต่อไปอีกว่า ตลาดได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริษัทต่างประเทศรายใหม่เข้ามา จะมีอยู่ 2 ส่วน คือ 1.มีเกณฑ์รองรับ IPO New Economy ตอบโจทย์การระดมทุนของธุรกิจในอุตสาหกรรมที่สอดรับกับแนวโน้มเศรษฐกิจ และนโยบายภครัฐ โดยเฉพาะการใช้ Digital Transformation เพื่อให้บริษัทฟื้นตัวและปรับตัวได้เร็ว หรือการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในการเข้ามาระดมทุน ซึ่งมองว่ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ยังน่าดึงดูด

และ 2.การพัฒนาตลาดทุน โดยพัฒนาระบบการซื้อขายสำหรับตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ ซึ่งจะมีการให้ความรู้ รวมถึงมี Platform ให้ใช้ทั้งเรื่องของระบบบัญชี ทรัพยากรบุคคล (HR) ระบบไอที และกฎหมายในราคาเหมาะสม โดยจะมีการนำข้อมูลมาใส่ในแพลตฟอร์ม เพื่อให้การตรวจสอบสถานะ (Due Diligence) ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีบริษัท 1 รายเข้ามาระดมทุนใน Live Platform & Exchange และคาดว่าในปี 2566 จะมีอีกหลายบรษัทให้ความสนใจ

นอกจากนี้ พัฒนา OPEN Platform ที่เปิดโอกาส และเชื่อมโยงการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) เพื่อเพิ่มโอกาสและความหลากหลายในการระดมทุนและการลงทุนผ่านโทเคนดิจิทัล โดยสนับสนุนการระดมทุนผ่านการออกโทเคนดิจิทัล (Investment Token และ Utilities Tokens) แลพัฒนาแพลตฟอร์มสินทรัพญืดิจิทัลครบวงจร และเป็นศูนย์กลางหรือเครือข่ายสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยน รวมถึงเปิดกว้างในการเชื่อมโยงลูกค้า และผู้ใช้บริการรายต่างๆ ให้นักลงทุนสามารถลงทุนผ่านตลาด Traditional และ Digital Asset

“คำแนะนำการลงทุนในอนาคตมี 3 เรื่องที่เราต้องพิจารณา คือ ความหลากหลายของสินทรัพย์ ไม่ใช่แค่หุ้นในประเทศและต่างประเทศ แต่ยังมีอีกมากมาย จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับความเสี่ยง เช่นเดียวกับการกระจายพอร์ตการลงทุน ควรกระจายความเสี่ยงอย่างหมาะสม ผลตอบแทนที่ยอมรับได้ และท้ายที่สุด คือ เชื่อมเรื่องราวในการลงทุน เช่น ประเทศไทยมีจุดแข็งอะไรบ้าง เช่น สุขภาพ โรงแรม อาหาร และบริษัทอะไรที่ทำธุรกิจเหล่านี้เก่ง ทำให้เราสามารถเลือก Sector และ Story ในการลงทุนได้”  กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าว