
ผู้ว่าการแบงก์ชาติชี้นโยบายหาเสียงพรรคการเมือง คำนึงถึง “เสถียรภาพ” มากกว่า “กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น” แบบทอดแห สร้างผลข้างเคียง แนะวางโครงสร้างระยะยาว หนุนเศรษฐกิจเติบโตยั่งยืน หวั่นนโยบายบั่นทอนเสถียรภาพก่อให้เกิดวิกฤต
วันที่ 24 เมษายน 2566 ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน “Meet the Press” ว่า สำหรับนโยบายการหาเสียงเลือกตั้งนั้น มองว่าจังหวะและบริบทเศรษฐกิจไทยตอนนี้เรื่อง “เสถียรภาพ” สำคัญมากกว่า “กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น” ดังนั้น นโยบายอะไรที่มากระทบเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจไม่ค่อยดี
- พระราชทานอภัยโทษ คดีทักษิณ ที่มาวาระอันเป็นมงคล วโรกาสสำคัญ
- หมอธีระวัฒน์ ชี้ งานวิจัยระบุ ชอบกินเนื้อสัตว์เสี่ยงตาย ไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกาย ไม่ช่วย
- พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
โดยนโยบายที่สำคัญกว่า “กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น” น่าจะสร้างศักยภาพเศรษฐกิจระยะยาว ทำอะไรที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อให้เศรษฐกิจไปได้ในอนาคต ซึ่งหลายอย่างมองไปข้างหน้าเรื่องของการมุ่งไปสู่เศรษฐกิจยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมานโยบายกระตุ้นตรงนั้นตรงนี้ ได้ผลชั่วคราวในแง่ตัวเลข แต่มีผลข้างเคียง เช่น หนี้ตามมา ดังนั้น เวลาทำนโยบายจะต้องดูให้ครบว่าผลของการกระตุ้นที่จะเกิดขึ้นตามมา และค่าเสียโอกาสของงบประมาณที่มีจำกัด ซึ่งไปใช้ที่อื่นอาจจะเหมาะสมหรือไม่
“การกระตุ้นด้วยนโยบายประชานิยม คือ การดูแลในระดับที่มากเกินไป นโยบายอันหนึ่งที่บ้านเราไม่ควรเห็น คือ นโยบายทอดแห ลดค่าโน่นค่านี่ เป็นอะไรที่ไม่เฉพาะเจาะจง ทำให้เงินที่ใช้ไม่ไปในจุดที่ควรไป เช่น นโยบายบางอันคนรวยอาจจะใช้ได้ ดังนั้น นโยบายควรเป็นนโยบายแบบพุ่งเป้า หรือ Targeted เช่น บัตรคนจน ลงไปที่คนจน ดีกว่าทอดแห เพราะงบประมาณจะช่วยเสริมสร้างการเติบโตในระยะยาว”
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวอีกว่า นโยบายอะไรที่มาบั่นทอน “เสถียรภาพ” จะนำไปสู่วิกฤต ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ด้าน คือ 1.ฐานะการคลัง ภาระการคลังเพิ่มสูงเกินไป กระทบเสถียรภาพการคลัง ซึ่งจะดูจากตัวเลขหนี้สาธารณะต่อจีดีพี และภาระหนี้ต่องบประมาณ ซึ่งสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 8.5-8.7% ซึ่งหากเกิน 10% มีโอกาสที่จะถูกดาวน์เกรดเรตติ้ง
2.เสถียรภาพด้านราคา จะเกิด Hyper Inflation ที่เงินเฟ้อวิ่งทะลุ 10% ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาฐานะการคลังไม่ดี จนต้องทำให้ธนาคารกลางจากองค์กรอิสระเปลี่ยนมาเป็นต้องตอบโจทย์การคลัง ซึ่งนโยบายการเงินและการคลังต้องแยกจากกัน
3.ค่าเงิน จะเห็นว่าตลาดลงโทษนโยบายการเงินแปลก ๆ เช่น อังกฤษ ที่มีนโยบายคลังลดภาษี-ลดงบดุล ทำให้ความเชื่อมั่นถูกกระทบ และ 4.สถาบันการเงิน นโยบายอะไรที่กระทบวินัย หรือสร้างแรงจูงใจหรือสร้างวัฒนธรรมจงใจผิดนัดชำระหนี้ (Moral Hazard) ซึ่งโอกาสเห็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น
“หากถามว่านโยบายพรรคการเมืองจะทำให้การทำนโยบายของ ธปท.ยากขึ้น ตอบเลยว่าไม่เคยทำงานง่าย แต่หากดูภาพรวมเศรษฐกิจได้ผ่านช็อกต่าง ๆ สะท้อนเศรษฐกิจเรายืดหยุ่น เราก็คงไปต่อได้”