หนี้ดี-หนี้เสีย รู้จักหนี้แต่ละประเภท กลยุทธ์การจัดการหนี้ที่มีประสิทธิภาพ

หนี้ดี-หนี้เสีย

หนี้ดี-หนี้เสีย รู้จักหนี้แต่ละประเภท ตั้งเป้าหมายจัดการหนี้ กลยุทธ์จัดการหนี้ที่มีประสิทธิภาพ

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ 11 ธ.ค. มีมาตรการทางด้านเศรษฐกิจหลายเรื่องที่จะถูกเสนอให้ที่ประชุมอนุมัติ โดยที่สำคัญจะเป็นมาตรการแก้ปัญหาหนี้ การอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย และผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงช่วยหนี้กลุ่มเปราะบางกลุ่มอื่นของสถาบันการเงิน เพื่อแก้ปัญหาหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนด้วย

เรื่องการลดภาระการชำระหนี้และดอกเบี้ย ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ เน้นการตัดเงินต้นและดอกเบี้ย เมื่อลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามเงื่อนไข เพื่อให้ลูกหนี้สามารถรักษาทรัพย์สิน บ้าน รถยนต์ รวมถึงสถานประกอบการของตัวเองเอาไว้ได้

รวมถึงการให้ลูกหนี้ NPL ที่มียอดมูลหนี้ไม่เกิน 5,000 บาท โดยการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อสามารถปิดหนี้ได้ และสามารถเคลียร์เครดิตปรับปรุงชำระหนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในอนาคต

นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ยังมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางเพิ่มเติม ทั้งลูกหนี้ประวัติหนี้ดี เพื่อให้กำลังใจในการรักษาวินัยการเงินการคลังต่อไป รวมถึงลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้เรื้อรัง

ส่วนมาตรการการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร Nonbank ลดภาระการผ่อนชำระค่างวดเหลือ 70% และลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 เช่น อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 25 ต่อปี ก็จะเหลือร้อยละ 15 ต่อปี

ADVERTISMENT

หนี้ดีและหนี้เสีย คืออะไร

หนี้เพื่อการประกอบอาชีพ เป็นหนี้ที่สร้างอาชีพให้กับเรา ทำให้เรามีโอกาสมีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น การกู้เงินมาเปิดร้านขายของ การกู้เงินมาตั้งบริษัท

หนี้เพื่อสร้างอนาคต เช่น การกู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อให้เรามีความรู้มาใช้ในการทำงาน หรือมีทักษะ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพที่ทำอยู่ ซึ่งจะทำให้เรามีอนาคตที่มั่นคงมากขึ้น

ADVERTISMENT

หนี้เพื่อความมั่นคงระยะยาว เช่น การกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อให้มีบ้านเป็นของตนเอง แทนที่จะต้องจ่ายค่าเช่าบ้านก็กลายเป็นการจ่ายค่าผ่อนบ้านแทน ทำให้มีทรัพย์สินส่วนตัวเพิ่มขึ้น

หนี้เสีย คือ หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ในอนาคต และอาจจะทำให้ความมั่นคงลดลงอีกด้วย เช่น หนี้เพื่อการประกอบอาชีพ เป็นหนี้ที่สร้างอาชีพให้กับเรา ทำให้เรามีโอกาสมีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น การกู้เงินมาเปิดร้านขายของ การกู้เงินมาตั้งบริษัท

หนี้เพื่อสร้างอนาคต เช่น การกู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อให้เรามีความรู้มาใช้ในการทำงาน หรือมีทักษะ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพที่ทำอยู่ ซึ่งจะทำให้เรามีอนาคตที่มั่นคงมากขึ้น

หนี้เพื่อความมั่นคงระยะยาว เช่น การกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อให้มีบ้านเป็นของตนเอง แทนที่จะต้องจ่ายค่าเช่าบ้านก็กลายเป็นการจ่ายค่าผ่อนบ้านแทน ทำให้มีทรัพย์สินส่วนตัวเพิ่มขึ้น

หนี้เสีย คือ หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ในอนาคต และอาจจะทำให้ความมั่นคงลดลงอีกด้วย เช่น เมื่อเข้าใจความแตกต่างของหนี้ดีและหนี้เสีย ก็สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างหนี้เสีย ในขณะเดียวกันก็สร้างหนี้ดี เพื่อเป็นเส้นทางไปสู่อนาคตที่มั่นคงขึ้น

ตั้งเป้าหมายจัดการหนี้

เมื่อเราจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างเป็นระบบแล้ว จะรู้ว่าในแต่ละเดือนจะมีกระแสเงินสดเหลืออีกเท่าไหร่ ก็สามารถหาวิธีการจัดการหนี้ที่เหมาะกับตัวเองได้ สิ่งสำคัญ คือ ต้อง “ตั้งเป้าหมายการจัดการหนี้” โดยอาจมีการให้รางวัลเล็ก ๆ กับตนเองก็ได้ เช่น ชำระหนี้บัตรเครดิตให้หมดภายใน 1 ปี หากทำได้ จะไปทานอาหารมื้อพิเศษเพื่อเป็นรางวัลในการพิชิตเป้าหมายนี้ได้ หรือใช้ตั้งเป้าหมายที่เรียกว่า SMART

S-Specific : เป้าหมายควรมีความเฉพาะเจาะจง เช่น ต้องการปลดหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดภายใน 12 เดือน

M-Measurable : เป้าหมายควรวัดผลได้ เช่น ต้องการลดจำนวนหนี้ลง 10,000 บาทต่อเดือน

A-Achievable : เป้าหมายควรเป็นไปได้จริง เช่น จะหางานเสริมเพื่อหารายได้เพิ่ม 5,000 บาทต่อเดือน

R-Relevant : เป้าหมายควรเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเงินของคุณ เช่น จะลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารลง 2,000 บาทต่อเดือน

T-Time-Bound : เป้าหมายควรมีกรอบเวลาที่ชัดเจน เช่น จะออมเงิน 100,000 บาท ภายใน 2 ปี

กลยุทธ์จัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งสำคัญในการจัดการหนี้ คือ ต้องหยุดสร้างหนี้เพิ่ม จากนั้นสรุปรายการหนี้ทั้งหมด หากมีหนี้หลายก้อน ให้รีบเคลียร์หนี้ก้อนที่ดอกเบี้ยมากที่สุดก่อน แต่บางครั้งหากมีหนี้บางก้อนเหลือไม่มาก การเลือกที่จะเคลียร์หนี้ก้อนเล็กออกไปก่อนก็ช่วยให้มีกำลังใจในการปลดหนี้ก้อนอื่น ๆ ด้วย (เนื่องจากจำนวนของหนี้ลดลง) ทั้งนี้ สามารถเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดการกับหนี้ได้ เช่น

มองหาแหล่งเงินทุนไร้ดอกเบี้ย โดยขอความช่วยเหลือจากครอบครัวหรือญาติพี่น้อง และสามารถให้ยืมเงินก้อนใหญ่มาชำระหนี้ทั้งหมดในปัจจุบัน แล้วผ่อนชำระให้เขาโดยไม่มีดอกเบี้ย หรือคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ๆ

พูดคุยกับเจ้าหนี้โดยตรง ขอลดอัตราดอกเบี้ย ยืดเวลาการผ่อนชำระ หรือการพักชำระเงินต้น ซึ่งต้องแสดงให้เห็นว่ามีความจริงใจที่จะชำระหนี้จนครบถ้วนอย่างแน่นอน

การรีไฟแนนซ์ เป็นการรวมหนี้ก้อนเดียว โดยสามารถติดต่อกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่มีบริการในด้านนี้ ซึ่งจะช่วยให้อัตราดอกเบี้ยโดยรวมลดลง และการชำระหนี้ไปที่เจ้าหนี้เพียงรายเดียวทำให้บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น

กลยุทธ์ Snowball หรือการล้างหนี้แบบหิมะถล่ม เหมาะกับผู้ที่มีหนี้สินหลายก้อน โดยแต่ละก้อนก็มีอัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากัน ก็จะใช้วิธีชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน ส่วนหนี้ก้อนอื่น ๆ ให้ชำระเป็นเงินขั้นต่ำ เมื่อชำระหนี้ก้อนที่ดอกเบี้ยสูงสุดครบแล้ว ก็ให้ชำระหนี้ก้อนที่มีดอกเบี้ยสูงรองลงมา ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย ทำให้หนี้หมดไวขึ้น

สุดท้าย พึงระลึกไว้ว่าอย่านำเงินไปจ่ายหนี้ทั้งหมด แต่ให้แบ่งเงินส่วนหนึ่งเก็บออม และเมื่อเห็นจำนวนเงินในบัญชีที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นกำลังใจให้เราในการต่อสู้กับชีวิตต่อไป และเมื่อใดที่มีโอกาสในการลงทุนต่อยอด ก็ยังมีเงินสำรองในการเพิ่มความมั่งคั่งได้อีกด้วย

คำแนะนำ หากมีปัญหาเรื่องหนี้สินหรือการจัดการด้านการเงิน อย่าอายที่จะ “ขอความช่วยเหลือ” จากผู้ที่มีความรู้ เพราะยิ่งปล่อยให้ปัญหาลุกลามมากขึ้น อาจจะแก้ไขไม่ได้แล้ว แต่หากได้รับคำแนะนำจากผู้ที่มีความรู้ ก็จะสามารถจัดการปัญหาที่มีอยู่ และพลิกกลับมาเป็นผู้ที่มีความมั่นคงทางการเงินได้