“ซาฟารีเวิลด์” 9 เดือนขาดทุนกว่า 500 ล้าน “ภูเก็ตแฟนตาซี” ปิดยาวไม่มีกำหนด

“ซาฟารีเวิลด์” รายงานความคืบหน้าการดำเนินการ เพื่อขอพ้นเหตุอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน แจงผลประกอบการ 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทพลิกกลับมามีกำไรต่อเนื่อง ส่วน 9 เดือนแรกปีนี้เจอผลกระทบ “โควิด-19” ขาดทุนสุทธิกว่า 500 ล้านบาท ชี้ “ภูเก็ตแฟนตาซี” ยังต้องปิดยาวรอท่องเที่ยวฟื้น-ขาดรายได้หนัก

นางอาภา คิ้วคชา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “SAFARI” ได้ทำหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ว่า ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ประกาศให้ บมจ.ซาฟารีเวิลด์ฯ เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะบียน

เนื่องจากงบการเงินประจำปี 2549 ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี ปรากฏส่วนผู้ถือหุ้นมีค่าต่ำกว่าศูนย์ บริษัทฯ ได้ไขเหตุเพิกถอนดังกล่าวแล้วเสร็จ และอยู่ในช่วงดำเนินการให้มีคุณสมบัติเพื่อกลับมาซื้อขาย
โดยบริษัทฯ ขอรายงานความคืบหน้า ดังนี้

1) การประกอบธุรกิจของบริษัท

บริษัทฯ ได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงานด้านต่าง ๆ เช่น พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และการบริการ การส่งเสริมการขายและการตลาด เพิ่มรายได้อื่น และการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสัตว์ เป็นต้น เพื่อที่จะแก้ไขผลการดำเนินงานให้กลับมามีกำไร ซึ่งผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2560-2562 ก็มีกำไรมาอย่างต่อเนื่อง

หากแต่ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2563 มีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 523.55 ล้านบาท เพราะมีรายได้จากการดำเนินงานเพียง 346.38 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 จำนวน 1,020 ล้านบาท หรือลดลง 74.65% อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส Covid-19 ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563

ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ และบริษัทย่อยลดลงเป็นจำนวนมาก
อีกทั้งบริษัทฯ และบริษัทย่อย คือภูเก็ตแฟนตาชี ต้องปิดกิจการชั่วคราวตามคำสั่งของภาครัฐตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 (รวม 104 วัน) เป็นเหตุให้ในช่วงเวลาดังกล่าวต้องขาดรายได้โดยสิ้นเชิง แต่ยังมีคำใช้จ่ายที่จำเป็นเพื่อรักษาธุรกิจให้ดำรงอยู่ต่อไป เพื่อให้พร้อมที่จะกลับมาเปิดให้บริการต่อไปได้

ซึ่งปัจจุบันซาฟารีเวิลด์ติดกลับมาเปิดให้บริการแล้ว แต่ภูเก็ตแฟนตาชียังคงปิดให้บริการชั่วคราวต่อไปจนกว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวจะฟื้นกลับมา อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมีส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 3,435.96 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในเดือนมกราคม 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ทำสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง เป็นวงเงินรวม ทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ชำระหนี้สินของบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเดิม ใช้ชำระคืนหนี้ตั๋วแลกเงินและหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2563-2564 และใช้ในการก่อสร้างโครงการคาร์นิวัลเมจิก

ซึ่งภายหลังการปรับโครงสร้างทางการเงินดักล่ว บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะมีภาระในการชำระเงินต้นของเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินที่ลดลงจากเดิม และจะมีสภาพคล่องที่เพียงพอและมีอัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสม

2) ความคืบหน้าการขยายธุรกิจสร้างโครงการคาร์นิวัลเมจิก

ตามที่บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจลทุนผ่านบริษัท ภูเก็ตแฟนตาชี จำกัด (มหาชน) สร้างโครงการคาร์นิวัลเมจิกบนเนื้อที่ดิน ประมาณ 82ไร่ ที่ตำบลกมลา อำภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ติดกับโครงการภูเก็ตแฟนตาชี บริหารงานโดยบริษัทคาร์นิวัลเมจิก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นโดยทางอ้อม (บริษัทฯ ถือหุ้นผ่าน บมจ.ภูเก็ตแฟนตาซี) นั้น

ปัจจุบันโครงการคาร์นิวัลเมจิกอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งความคืบหน้าของงานก่อสร้างยังคงอยู่ที่ 95% ของงานก่อสร้างทั้งหมด เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของ Covid-19 และผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้มีคำสั่งให้หยุดทำการก่อสร้างชั่วคราว ในวันที่ 15 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2563 เป็นเวลาประมาณ 45 วัน เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid- 19 ในจังหวัดภูเก็ต ส่งผลให้งานก่อสร้างต้องหยุดชะงักอย่างกระทันหัน จึงจำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการเปิดให้บริการจากเดิมกำหนดในไตรมาสแรกของปี 2563 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด

3) การกำกับดูแลกิจการและการควบคุมภายใน

บริษัทฯ ได้ปรับปรุงนโยบายและระเบียบในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับลักษณะและการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อย พร้อมทั้งได้วางระบบควบคุมภายในให้เพียงพอเพื่อให้การดำเนินการของบริษัทฯ และบริษัทย่อย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมมาภิบาล

โดยบริษัทฯ ได้ว่าจ้างให้บริษัทพีแอนด์แอล อินทอร์นอล ออดิท จำกัด (ปีแอนด์แอล) เป็นผู้ตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัท และได้จัดตั้งสำนักกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (Compliance) เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฏเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องขององค์กรและหน่วยงานกำกับดูแลของทางการด้วย

ทั้งนี้ บริษัทพีแอนด์แอล ได้เข้าปฏิบัติงานตรวจสอบและประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 โดยผลของการตรวจสอบและประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน ครั้งที่ 1/2563 ตามรายงานของบริษัทพีแอนด์แอลฯ ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ มีความเพียงพอ และเหมาะสมในการดำเนินธุรกิจ