ธุรกิจประกัน “สหรัฐ-จีน” ตลาดหลักดันเบี้ยทั่วโลกฟื้นตัวบวกปีนี้ 5.1%

The Allianz SE offices in the La Defense business district of Paris, France, on Monday, Nov. 9, 2020. France's economy will take a smaller hit from the new lockdown to contain the spread of Covid-19 than it did during the tighter restrictions on activity earlier this year, according to the countrys central bank. Photographer: Benjamin Girette/Bloomberg via Getty Images

อลิอันซ์ โกลบอล อินชัวรันส์ เผยรายงานปี 2564 ธุรกิจประกันภัยใน “สหรัฐ-จีน” จะเป็นตลาดหลักที่จะขับเคลื่อนการเติบโตเบี้ยประกันภัยทั่วโลกฟื้นตัวบวก 5.1%

อลิอันซ์ เปิดเผยรายงาน อลิอันซ์ โกลบอล อินชัวรันส์ ฉบับล่าสุด ซึ่งมีการวิเคราะห์พัฒนาการของตลาดประกันทั่วโลก โดยพบว่าอุตสาหกรรมประกันมีการเติบโตที่ค่อนข้างต่ำในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยในปี 2563 รายได้จากเบี้ยประกันทั่วโลกลดลงเพียง 2.1% รายได้จากเบี้ยประกันวินาศภัยเพิ่มขึ้น 1.1% ในขณะที่รายได้จากเบี้ยประกันชีวิตลดลง 4.1%

อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตที่ลดลงในภาพรวมยังสูงกว่าในปี 2552 (-1.1%) หรือช่วงหลังวิกฤตการณ์ทางการเงิน รายได้จากเบี้ยประกันทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 8 หมื่นล้านยูโร ซึ่งน้อยกว่าช่วงก่อนโควิด-19 อยู่ที่ 3.73 ล้านล้านยูโร (ประมาณ 143 ล้านล้านบาท) โดยมี 2.267 ล้านล้านยูโร (ประมาณ 86.7 ล้านล้านบาท) จากประกันชีวิต และ 1.463 ล้านล้านยูโร (56 ล้านล้านบาท)

มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมประกันจะมีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งในปี 2564 ในภาพรวมเบี้ยประกันจะเพิ่มขึ้น 5.1% ทั่วโลก และเป็นที่น่าประหลาดใจว่าสหรัฐอเมริกาและจีนจะเป็นตลาดหลักที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโต ด้วยอัตราการเติบโตในสองประเทศอยู่ที่ 5.3% และ 13.4% ตามลำดับ หลังจากที่ลดลงอย่างมากในปีก่อนหน้า

กลุ่มประกันชีวิตจะมีการฟื้นตัวดีกว่ากลุ่มประกันวินาศภัยด้วยอัตราการเติบโต 5.7% เทียบกับ 4.2% ของกลุ่มประกันวินาศภัย โดยมีปัจจัยบวกจากความสำคัญที่มากขึ้นของประเด็นเรื่องความยั่งยืนและการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ อัตราการเติบโตเฉลี่ยที่สูงกว่า 5% ทั่วโลกในอีก 10 ปีข้างหน้าจึงมีความเป็นไปได้

ลูโดวิค เซอร์บราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของอลิอันซ์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมประกันพิสูจน์แล้วว่าสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ในช่วงวิกฤติโควิด-19 อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นข่าวดีท่ามกลางความท้าทายที่เราเผชิญ เนื่องจากวิกฤตนี้ ทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ลูกค้าของเราซึ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มตัว และต้องการที่จะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ดังนั้น จึงเป็นเวลาสู่การเปลี่ยนผ่านครั้งยิ่งใหญ่จากการเน้นที่ผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ไปสู่การพิจารณากระบวนการมอบบริการให้กับลูกค้าแบบองค์รวม ซึ่งไม่ได้เน้นแค่ผลตอบแทนด้านการเงิน แต่ยังเน้นที่การบริหารและป้องกันความเสี่ยง นี่เป็นวิธีการเดียวที่ธุรกิจจะดำเนินต่อเพื่อรับมือกับความต้องการในการป้องกันความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น หลังวิกฤติโควิด 19 ผ่านพ้นไป”

เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) สามารถจัดการกับวิกฤติโควิด-19 ได้ค่อนข้างดี และมีรายได้จากเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น 2.9% ในปี 2563 ทั้งประกันวินาศภัยและประกันชีวิตในอัตราการเติบโตที่ใกล้เคียงกัน โดยประกันวินาศภัยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 3.1% และประกันชีวิต 2.9% มีรายได้รวมจากเบี้ยประกัน 9.39 แสนล้านยูโร (359 ล้านล้านบาท) โดย 70% มาจากธุรกิจประกันภัย

มีการคาดการณ์ว่าเอเชียจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าภูมิภาคอื่นๆ นี่แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจเอเชีย โดยจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 10.4% ในปี 2021 (ประกันชีวิต 10.7% ประกันวินาศภัย 9.7%) มีการคาดการณ์อัตราการเติบโตเฉลี่ยในอีก 10 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 8.6% (ประกันชีวิต 8.9% ประกันวินาศภัย 7.9%) ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเติบโตในทศวรรษที่ผ่านมาเพียง 9%

มิคาเอลา กริม ผู้แต่งร่วมของรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า “เอเชียกำลังเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมประกันโลก โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังจากวิกฤตโควิด-19  ซึ่งเอเชียมีตัวเลขที่น่าทึ่งในอีก 10 ปีข้างหน้า เอเชียจะมีอัตราการเติบโตเป็น 50% ของอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันทั่วโลก 31% มาจากประเทศจีน ไม่เฉพาะเรื่องอัตราการเติบโตเท่านั้น ตลาดประกันในเอเชียยังส่งเสริมเทคโนโลยีและโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ เอเชียล้ำหน้ากว่ายุโรปหลายปีในเรื่องของการสร้างแพลตฟอร์มและประสบการณ์ของลูกค้า”

สำหรับประเทศไทย ในปี 2563 ตลาดประกันในประเทศหดตัว 1.9% ส่วนใหญ่เป็นผลจากธุรกิจประกันชีวิตซึ่งเป็นรายได้จำนวน 2 ใน 3 ของรายได้จากเบี้ยประกันทั้งหมด โดยรายได้จากเบี้ยประกันชีวิตลดลง 3.3% ในทางตรงกันข้าม เบี้ยประกันในกลุ่มประกันวินาศภัยกลับเพิ่มขึ้น 1.5% มีการคาดการณ์ว่ารายได้จากเบี้ยประกันจะมีอัตราการเติบโต 2.0% ในปี 2563 จากรายได้ของเบี้ยประกันในธุรกิจทั้งสองกลุ่มที่จะเริ่มกลับเป็นปกติ ในอีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 5.3% ต่อปี ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่ค่อนข้างสูงอายุ โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยจ่ายค่าประกัน 287 ยูโร (ประมาณ 11,000 บาท) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั้งภูมิภาคอยู่ที่ 251 ยูโร (ประมาณ 10,000 บาท) ในปี 2563

อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร = 38.24 บาท