กรมบัญชีกลาง ขยายวงเงินทดรองราชการ หนุนค่าใช้จ่ายป้องกันโควิด

กรมบัญชีกลาง

กรมบัญชีกลาง อนุมัติให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และจังหวัด ขยายวงเงินทดรองราชการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันโควิด

วันที่ 10 ..64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมบัญชีกลางอนุมัติให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและจังหวัดปฏิบัตินอกเหนือระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2562 ข้อ 18 กรณีขยายวงเงินทดรองราชการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เฉพาะสถานการณ์ครั้งนี้ ในพื้นที่76 จังหวัด และในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

และอนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพิ่มเติม ประกอบกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในประเทศไทยยังคงพบผู้ติดเชื้อ มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีมาตรการที่สำคัญในการควบคุมโรค เช่น มาตรการควบคุมโรคให้เหมาะสม โดยมีการค้นหาผู้ติดเชื้อ ดูแลรักษา แยกกัก และควบคุมโรคเน้นผู้สูงอายุและผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง และการจัดการเตียง มีการกักตัวดูแลรักษาที่บ้าน หากมีอาการมากขึ้น

โดยจะส่งต่อเข้ารักษาในสถานพยาบาล และศูนย์พักคอย เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD – 19) ในพื้นที่ก่อนนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงขอยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ให้สามารถใช้จ่ายเงินทดรองราชการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ที่ได้รับการขยายวงเงินจากกรมบัญชีกลางดังกล่าว ได้เป็นกรณีพิเศษ

ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการตามแนวทางที่ได้รับอนุมัติขยายวงเงินไว้แล้ว ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการศูนย์พักคอย (Community Isolation และ Home Isolation) เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ก่อนนำส่งโรงพยาบาล เช่น ค่าปรับปรุงสถานที่ กรณีมีความจำเป็นต้องปรับปรุงสถานที่ให้เหมาะสม ค่าอาหารจัดเลี้ยง ค่าตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายในการดูแลด้านการดำรงชีพของผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายผู้ป่วย เป็นต้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ที่จำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการดังกล่าว

2. ค่าวัสดุทางการแพทย์ และเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลที่เสี่ยง และกิจกรรมที่เสี่ยง และวัสดุอื่น ที่จำเป็นเรงด่วน ในการดำเนินการดังกล่าว

3. ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายผู้ป่วย ไปยังโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม ค่าตอบแทนให้แก่ ผู้ปฏิบัติงาน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น และค่าใช้จ่ายอื่น ที่จำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการดังกล่าว

4. ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการฉีดวัคซีน ค่าเช่าสถานที่ หรือจ้างเหมาปรับปรุงสถานที่ฉีดวัคซีน ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการบริหารจัดการฉีดวัคซีน ค่าเช่าอุปกรณ์ ค่าตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ค่าอาหารจัดเลี้ยง ค่าสาธารณูปโภคอื่น ที่จำเป็น รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ที่จำเป็นเรงด่วนในการดำเนินการดังกล่าว

5. ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลสนาม เช่น ค่าติดตั้งกล้องวงจรปิด ค่าไฟฟ้าส่องสว่างค่าสาธารณูปโภคอื่น ที่จำเป็น ค่าอาหารจัดเลี้ยง ค่าตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ค่าจ้างเหมาเก็บขยะติดเชื้อ ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการดังกล่าว

ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ว ขอเรียนว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของประเทศไทยในภาพรวมพบว่าขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มสูงขึ้น ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนเป็นจำนวนมาก มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ต้องมีการเฝ้าระวังการติดเชื้อและรักษาความเข้มข้นของมาตรการการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด

เพื่อให้การป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล จึงอนุมัติให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และจังหวัดยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2562 โดยให้สามารถใช้จ่ายเงินทดรองราชการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีจุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ที่ได้รับอนุมัติขยายจากกรมบัญชีกลาง ได้ตามรายการที่ขอทำความตกลง”

ทั้งนี้ ขอให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และจังหวัดกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินทดรองราชการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามรายการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดด้วย