ของแพง! แบงก์ชาติเผยธุรกิจ 16% เตรียมขึ้นราคาสินค้าระลอกใหม่

แบงก์ชาติเปิดข้อมูลผลสำรวจการปรับราคาสินค้าและบริการล่าสุด เผยผู้ประกอบการธุรกิจ 27% ยอมรับปรับขึ้นราคาสินค้าไปแล้ว และอีกราว 16% มีแผนปรับราคาภายใน3เดือน เพราะเจอปัญหาต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น

วันที่ 17 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยถึงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปช่วง 2 เดือนแรก(ม.ค.-ก.พ.65) เฉลี่ยอยู่ที่4.25 %เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 2.42% ตามอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงาน อาหารสด และอาหารสำเร็จรูป เป็นสำคัญ

โดยพบว่าสินค้าและบริการที่มีการปรับราคาสูงขึ้นมากมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น แต่ยังจำกัดอยู่ในหมวดพลังงานและหมวดอาหารเป็นหลัก

ขณะที่รายงานผลสำรวจการปรับราคาสินค้าและบริการในช่วงเดือน ก.พ. 2565 ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และกลุ่มเอสเอ็มอี พบว่า ผู้ประกอบการ 27% ได้มีการปรับราคาไปแล้ว ส่วนอีก 16% มีแนวโน้มจะปรับราคาในช่วง3เดือนข้างหน้าถึง 1ปี และ 57% ยังไม่มีแนวโน้มปรับขึ้นราคา แต่ก็ต้องติดตามแนวโน้มราคาวัตถุดิบที่อาจเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงแบกรับต้นทุนไว้ แต่ก็มีแนวโน้มจะทยอยส่งผ่านต้นทุนไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้นในระยะต่อไป โดยกลุ่มผู้ประกอบการที่คาดว่าจะทยอยปปรับราคาช่วง 3เดือนข้างหน้า จนถึงปลายปี 2565ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ SME ที่แบกรับรับต้นทุนได้น้อยกว่า ธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่ง SME ส่วนมากคาดว่าจะแบกรับต้นทุนโดยไม่ปรับราคา ได้อีกเพียง 3-6เดือนเท่านั้น

โดยปัจจัยสำคัญที่กดดันให้ต้องปรับราคาคือ ต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนขนส่ง หากประเมินจากประเภทธุรกิจพบว่า ธุรกิจในภาคการผลิตและการค้ามีโอกาสปรับราคาได้มากกว่าภาคบริการ

รายงานระบุว่า แม้ในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมาธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่าจะยังไม่ปรับราคา สินค้าและบริการ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความสามารถใน การแบกรับต้นทุนได้มากกว่า และใช้วิธีอื่นแทน เช่น ลดโปรโมชั่น เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้บริโภคมากกว่าที่ประเมินไว้ หากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน รวมถึงปัญหา global supply disruption อาจรุนแรงกว่าที่คาด หากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนลุกลามไปประเทศอื่น ๆ หรือยืดเยื้อจนทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในบางหมวด

โดยคาดการณ์การปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการตามประเภทธุรกิจในปี 2565 กลุ่มที่คาดว่าปรับเพิ่มได้ทันทันภายใน1เดือน คือ กลุ่มปิโตรเคมีและพลาสติก ปรับได้ตามราคาน้ำมันท่ีสูงข้ึน และกลุ่มผลิตอาหาร
ปรับได้ตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม และกลุ่มสินค้าที่ขาดแคลน เช่น กลุ่มอาหารทะเล

สำหรับกลุ่มที่จะสามารถทะยอยปรับราคาในช่วง3-6เดือน คือกลุ่ม ชิ้นส่วนยานยนต์/อิเล็กทรอนิกส์ /เครื่องใช้ไฟฟ้า เจรจาได้ตามสัญญาซื้อขายกับซัพพลายเออร์ ทำให้ส่งผ่านราคาได้บางส่วน รวมถึงกลุ่มค้าปลีกค้าส่ง แม้กำลังซื้ออ่อนแอ แต่สินค้าอุปโภคเป็นสินค้าจำเป็นบางส่วนสามารถปรับราคาได้


ส่วนกลุ่มที่จะยังไม่สามารถปรับราคาได้ในช่วง12เดือนคือ กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์และจักรยานยนต์ สามารถปรับขึ้นได้เมื่อออกรุ่นใหม่ รวมถึงธุรกิจโรงแรมร้านอาหาร เนื่องจากกำลังซื้อต่ำ เน้นทำราคาปรับลดต้นทุนแรงงานคาดว่าไตรมาส4 ปีนี้จะสามารถปรับขึ้นราคาได้