ไขความลับ! นักวิจัยสิงคโปร์เผยที่มากลิ่นฉุนจาก ‘ทุเรียน’ เตรียมปรับ ‘ยีน’ เจือจางกลิ่น

สำนัก “ทูเดย์ ออนไลน์” รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (Duke-NUS) จำนวน 5 คน เปิดเผยว่า ขณะนี้สามารถวิจัยและคิดค้น “ทุเรียนพันธุกรรมใหม่” ให้เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว

ก่อนหน้านี้กลุ่มนักวิจัยดังกล่าว ได้รับทุนสนับสนุนจากกลุ่มผู้รักทุเรียน เพื่อหาที่มาของกลิ่นทุเรียนที่รุนแรง ซึ่งเป็นทั้งที่ชอบและไม่ชอบของคนทั่วไป โดยกลุ่มวิจัยดังกล่าวใช้เวลานานถึง 3 ปี จนในที่สุดผลลัพธ์ที่ได้มาก็คือ สิ่งที่ทำให้ทุเรียนมีกลิ่นรุนแรงคือ “สารซัลเฟอร์” หรือ “กำมะถัน” ที่มีผสมอยู่ในผลทุเรียนนั่นเอง

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า กลิ่นที่รุนแรงจากผลทุเรียนนั้น ทำให้หน้าที่สำคัญก็คือ ดึงดูดให้สัตว์ต่างๆ มาแทะกิน และถ่ายเอาเมล็ดออกมา เพื่อให้มีต้นใหม่ขึ้นมาตามธรรมชาติ โดยผลไม้ชนิดนี้ได้ถือกำเนิดบนโลกมานานกว่า 65 ล้านปีแล้ว ซึ่งกลายพันธุ์มาจากต้นโกโก้ หรือพูดไดเว่าบรรพบุรุษของทุเรียนก็คือ “ต้นโกโก้” นั่นเอง

ทั้งนี้ การค้นพบในครั้งนี้ ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถตัดแต่ง “ยีน” ของทุเรียนให้ไร้กลิ่น หรือมีกลิ่นที่ลดลง อีกทั้งจะทำให้รสชาติของทุเรียนกลมกล่อมมากขึ้นด้วย

โดยความคิดเห็นหลังจากที่ข่าวดังกล่าวนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ปฏิกิริยาทั้งเห็นด้วยและต่อต้านจากผู้คนทั่วไปมากขึ้น เช่น สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานทุเรียนอยู่แล้วมองว่า “ทุเรียนที่ไร้กลิ่นและมีรสชาติที่เปลี่ยนไปก็ไม่ใช่ทุเรียนอีกต่อไป”

ส่วนกลุ่มที่เห็นด้วยบอกว่า หากทุเรียนมีกลิ่นที่รุนแรงน้อยลง หรือไม่มีกลิ่นเลย อาจทำให้พวกเขาสนใจหันมาลองรับประทานทุเรียนดูสักครั้ง