กรมอุตุฯ ประกาศเตือนฉบับที่ 8 ฝนตกหนักถึงหนักมาก ช่วง 21-24 พ.ย.นี้

ประกาศเตือนฉบับที่ 8 ฝนตกหนักมาก
(Photo by Mladen ANTONOV / AFP)

กรมอุตุฯออกประกาศเตือนฉบับที่ 8 “ฝนตกหนักถึงหนักมาก-คลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย” อิทธิพลจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่าง มีแนวโน้มเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทยในช่วงวันที่ 22-23 พ.ย.นี้ ขณะที่มีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกทม.และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ช่วงวันที่ 21-24 พ.ย.นี้

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เมื่อเวลา 17.00 น. นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เตือนภัยลักษณะอากาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 8

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่าง มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทยในช่วงวันที่ 22-23 พ.ย. 65 ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

กทม.ตกหนัก 60-80%ของพื้นที่

โดยเฉพาะในพื้นที่ของภาคกลาง รวมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 22 – 25 พ.ย. 65 จะมีฝนฟ้าคะนองถึงร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 23 – 24 พ.ย. 65

ส่วนภาคตะวันออกในช่วงวันที่ 21 – 24 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 – 27 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่

สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 21 – 22 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค และในช่วงวันที่ 23 – 25 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ขณะที่ภาคใต้ในช่วงวันที่ 21 – 25 พ.ย. 65 จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และในช่วงวันที่ 25 – 27 พ.ย. 65 จะมีฝนฟ้าคะนองลดลงเหลือร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565

ภาคตะวันออก: จังหวัดสระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ช่วงวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2565

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดมุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 05.00 น.

ประกาศเตือนฉบับที่ 8 ฝนตกหนักมาก

ประกาศเตือนฉบับที่ 8 ฝนตกหนักมาก

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่าง
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่าง