ไม่ต้องลงทะเบียน ! รับสิทธิลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว สูงสุด 15,000 บาท

รัฐบาลชูจุดแข็งท่องเที่ยว จัดกิจกรรมปูพรมทุกภูมิภาค คาดปีนี้ รายได้เพิ่มถึง 6 แสนล้าน

ครม.เคาะมาตรการลดหย่อนภาษี การท่องเที่ยวสำหรับบุคคลธรรมดาได้สูงสุด 15,000 บาท ลดหย่อนภาษีได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองหลักและเมืองรอง 55 จังหวัด นิติบุคคลก็ได้ด้วย

วันที่ 5 มิถุนายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติออกมาตรการลดหย่อนภาษี ในปีภาษี 2567 ที่มาจากการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองรองและจังหวัดท่องเที่ยว ในช่วง Low Season ในคราวการประชุมเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567

โดยมาตรการลดหย่อนภาษีการท่องเที่ยว จะมีผลระหว่างเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน 2567 โดยจะต้องเดินทางท่องเที่ยวเมืองรอง หรือเมืองที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยสามารถนำค่าบริการท่องเที่ยว ค่าที่พัก มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ไม่เกิน 15,000 บาท/คน

ไม่ต้องลงทะเบียนลดหย่อนภาษี 15,000 บาท

สำหรับมาตรการลดหย่อนภาษีกรณีบุคคลธรรมดา เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ รัฐบาลกำหนดกลุ่มเป้าหมาย-ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หักลดหย่อนค่าบริการจากการท่องเที่ยว ดังนี้

  • ค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  • ค่าที่พักในโรงแรม
  • ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
  • ค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม

หลักฐานการลดหย่อนภาษี

  • มีการใช้จ่ายจริงในการเดินทางท่องเที่ยวเมืองรอง และพื้นที่ที่กรมสรรพากรกำหนด
  • รายการใช้จ่ายต้องไม่เกิน 15,000 บาท
  • ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร

ทั้งนี้ มาตรการลดหย่อนภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ ในเมืองรอง จะทำให้รัฐบาลสูญเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 581.25 ล้านบาท

มาตรการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567

นิติบุคคลที่ทำธุรกิจท่องเที่ยว นำรายจ่ายมาหักลดหย่อนภาษี รายการดังนี้

ADVERTISMENT
  • ค่าห้องพัก
  • ค่าห้องสัมมนา
  • ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง
  • ค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวเพื่อการอบรมสัมมนา
  • มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม-30 พฤศจิกายน 2567 หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • หักรายจ่ายได้ 2 เท่า สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง
  • หักรายจ่ายได้ 2 เท่า ในพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

กรณีการสัมมนาที่จัดในท้องที่อื่นนอกจากพื้นที่เมืองรอง และพื้นที่ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด หักภาษี ได้ดังนี้

  • หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในท้องที่อื่น
  • ในกรณีที่การสัมมนาเกิดขึ้นในท้องที่อื่น นอกจากเมืองรองและท้องที่ตามที่กรมสรรพากรกำหนด
  • ให้หักรายจ่ายที่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใด และถ้าแยกไม่ได้ให้หัก 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง

ทั้งนี้ มาตรการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567 ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)

ADVERTISMENT

มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว-จัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ ในเมืองรอง 55 จังหวัดทำให้รัฐบาลสูญเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 1,200 ล้านบาท

สำหรับพื้นที่ท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล 2567 มีดังนี้

เมืองรองภาคเหนือ 16 จังหวัด

  • เชียงราย
  • พิษณุโลก
  • ตาก
  • เพชรบูรณ์
  • นครสวรรค์
  • สุโขทัย
  • ลำพูน
  • อุตรดิตถ์
  • ลำปาง
  • แม่ฮ่องสอน
  • พิจิตร
  • แพร่
  • น่าน
  • กำแพงเพชร
  • อุทัยธานี
  • พะเยา

เมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด

  •     อุดรธานี
  •     อุบลราชธานี
  •     หนองคาย
  •     เลย
  •     มุกดาหาร
  •     บุรีรัมย์
  •     ชัยภูมิ
  •     ศรีสะเกษ
  •     สุรินทร์
  •     สกลนคร
  •     นครพนม
  •     ร้อยเอ็ด
  •     มหาสารคาม
  •     บึงกาฬ
  •     กาฬสินธุ์
  •     ยโสธร
  •     หนองบัวลำภู
  •     อำนาจเจริญ

เมืองรองภาคกลาง-ตะวันออก-ตะวันตก 12 จังหวัด

  •     ลพบุรี
  •     สุพรรณบุรี
  •     นครนายก
  •     สระแก้ว
  •     ตราด
  •     จันทบุรี
  •     ราชบุรี
  •     สมุทรสงคราม
  •     ปราจีนบุรี
  •     ชัยนาท
  •     อ่างทอง
  •     สิงห์บุรี

เมืองรองภาคใต้ 9 จังหวัด

  •   นครศรีธรรมราช
  •     พัทลุง
  •     ตรัง
  •     สตูล
  •     ชุมพร
  •     ระนอง
  •     นราธิวาส
  •     ยะลา
  •    ปัตตานี