
รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT รุ่นใหม่ BRT EV เตรียมเก็บค่าโดยสาร 15 บาท ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป หลังเปิดให้ทดลองนั่งฟรี 2 เดือน จ่ายได้ผ่านช่องทางไหน ทำอย่างไร เช็กรายละเอียดที่นี่
จากกรณี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) ผู้ชนะการประมูลโครงการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT โฉมใหม่ รถ BRT-EV และได้เริ่มให้บริการในเส้นทางสาทร – ราชพฤกษ์ ฟรี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน-31 ตุลาคม 2567 (ฟรี 2 เดือน) เวลาให้บริการ 06.00 – 22.00 น.
ล่าสุด สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.) แจ้งว่า วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นี้ จะเป็นวันแรกที่มีการเก็บค่าโดยสาร รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT และระบุว่าสามารถชำระค่าโดยสารได้ผ่าน BRT E-Ticket ผ่านมือถือ และ บัตรแรบบิท โดยที่สถานีจะไม่มีช่องทางการจำหน่ายบัตรโดยสาร
“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมข้อมูลสำคัญ ก่อนเริ่มจ่ายค่าโดยสาร รถ BRT ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายนนี้
ค่าโดยสาร BRT จ่ายได้ผ่านช่องทางไหน ?
ค่าโดยสาร รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT สามารถชำระได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
- BRT E-Ticket โดยซื้อได้ผ่านไลน์ออฟฟิเชียล @brteticket และจ่ายด้วยการสแกน QR Payment ผ่านแอปธนาคารต่าง ๆ
- บัตรแรบบิท ทุกประเภท (บุคคลทั่วไป/นักเรียน-นักศึกษา/ผู้สูงอายุ) ยกเว้นบัตรที่ผูกกับบัญชีไลน์ เพย์
ค่าโดยสาร BRT กี่บาท ?
ค่าโดยสาร รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT มีอัตราอยู่ที่ 15 บาทตลอดสาย โดยนักเรียน-นักศึกษา และผู้สูงอายุ ที่จ่ายด้วยบัตรแรบบิท จะได้รับส่วนลดค่าโดยสาร ทำให้อัตราค่าโดยสารเป็นดังนี้
- ใช้ตั๋ว BRT E-Ticket – 15 บาทตลอดสาย
- ใช้บัตรแรบบิท ประเภทบุคคลทั่วไป – 15 บาทตลอดสาย
- ใช้บัตรแรบบิท ประเภทนักเรียน-นักศึกษา – 11 บาทตลอดสาย
- ใช้บัตรแรบบิท ประเภทผู้สูงอายุ – 11 บาทตลอดสาย
ซื้อ BRT E-Ticket ขึ้นรถโดยสาร BRT ทำอย่างไร ?
วิธีการซื้อ BRT E-Ticket เพื่อขึ้นรถโดยสาร BRT มีขั้นตอนดังนี้
- เพิ่มเพื่อน LINE Official Account BRT E-Ticket @brteticket
- เมื่อเพิ่มเพื่อนแล้ว เลือกเมนู “ซื้อ E-Ticket”
- เลือกสถานีต้นทาง-ปลายทาง จำนวนบัตรโดยสารที่ต้องการซื้อ
- ตรวจสอบรายละเอียด และกดชำระเงิน
- กด “Pay Now”
- เลือกช่องทางการชำระเงิน
- ทำการชำระเงินโดยการบันทึกรูปภาพ QR Code และจ่ายผ่านโมบายแบงกิ้ง
- เมื่อชำระเงินสำเร็จ จะได้รับ BRT E-Ticket
วิธีการจ่ายค่าโดยสารด้วย BRT E-Ticket มีขั้นตอนดังนี้
- ในหน้าแชต LINE Official BRT E-Ticket เลือกเมนู “ตั๋วของฉัน”
- กดเลือกตั๋วที่ต้องการใช้เดินทาง
- เมื่อหน้าจอแสดง QR Code ของ BRT E-Ticket ให้นำไปสแกนที่เครื่องชำระเงิน บริเวณทางเข้ารถโดยสาร จนเครื่องชำระเงินแสดงหน้าจอ “ชำระค่าโดยสารสำเร็จ”
ทั้งนี้ ตั๋ว BRT E-Ticket มีเงื่อนไขในการซื้อและการใช้ ดังนี้
- BRT e-Ticket ที่ทำการซื้อผ่านช่องทาง LINE Official Account: BRT E-Ticket เป็นราคาปกติเท่านั้น ไม่สามารถใช้ส่วนลดค่าโดยสารใดๆ ได้
- จำกัดการซื้อ BRT e-Ticket ได้สูงสุด 4 (สี่) ในต่อครั้งเท่านั้น
- BRT e-Ticket ที่ทำการซื้อแล้วสามารถใช้ได้ภายในวันที่ซื้อเท่านั้น ทั้งนี้ท่านสามารถใช้ได้จนถึงเวลาให้บริการรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) เที่ยวสุดท้ายในแต่ละวัน
- BRT e-Ticket 1 (หนึ่ง) ใบ สามารถใช้ได้ 1 (หนึ่ง) คน ต่อครั้งเท่านั้น และเมื่อมีการใช้ BRT e-Ticket แล้วจะไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้อีก
- BRT e-Ticket ที่ทำการซื้อแล้ว ไม่สามามารถยกเลิก ขอคืน แลก เปลี่ยน และ/หรือ ทอนเป็นเงินสด หรือสิ่งอื่นใดได้ในทุกกรณี
- โปรดเก็บและแสดง BRT e-Ticket เป็นหลักฐาน หากมีการขอตรวจสอบผู้ที่ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่ามีการชำระค่าโดยสาร จะต้องทำการชำระค่าโดยสารหรืออาจถูกปรับตามที่ BMA กำหนด
- ราคาค่าโดยสารเป็นไปตามที่กรุงเทพมหานคร (“BMA”) ประกาศกำหนด
- หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือแจ้งปัญหาการใช้งาน สามารถติดต่อได้ที่ Rabbit Hotline โทร 02-617-8383
ขึ้นรถโดยสาร BRT จ่ายด้วยบัตรแรบบิท ทำอย่างไร ?
ขั้นตอนการใช้บัตรแรบบิท เพื่อชำระค่าโดยสาร รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT มีขั้นตอนดังนี้
- เตรียมบัตรแรบบิท พร้อมเติมเงิน
- เมื่อขึ้นรถโดยสารแล้ว แตะบัตรแรบบิทที่เครื่องรับชำระเงิน จนกว่าหน้าจอแสดงคำว่า “ชำระค่าโดยสารสำเร็จ”
สำหรับผู้ที่ยังไม่มีบัตรแรบบิท หรือต้องการเติมเงินบัตรแรบบิท ก่อนใช้บริการรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT สามารถทำได้ผ่านช่องทางต่อไปนี้
ตู้เติมสบายพลัส บนสถานี BRT จำนวน 6 สถานี
- สถานี B1 : สาทร (เชื่อมต่อ BTS ช่องนนทรี)
- สถานี B3 : เทคนิคกรุงเทพ
- สถานี B4 : ถนนจันทน์
- สถานี B5 : นราราม 3
- สถานี B6 : วัดด่าน
- สถานี B12 : ราชพฤกษ์ (เชื่อมต่อ BTS ตลาดพลู)
ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารของรถไฟฟ้า ดังต่อไปนี้
- BTS สายสีเขียว
- MRT สายสีเหลือง
- MRT สายสีชมพู
- รถไฟฟ้าสายสีทอง
หรือทำผ่านช่องทางออนไลน์ โดยซื้อบัตรแรบบิทผ่านทาง ช้อปปี้ และลาซาด้าของ Rabbit Card และเติมเงินผ่านแอปพลิเคชั่น My Rabbit
รถ BRT มีกี่สถานี ?
สถานีของรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT มีทั้งหมด 14 สถานี คือ
- สถานี B1 : สาทร (เชื่อมต่อ BTS ช่องนนทรี)
- สถานี B2 : อาคารสงเคราะห์
- สถานี B3 : เทคนิคกรุงเทพ
- สถานี B3A : ถนนจันทน์เหนือ (สถานีใหม่)
- สถานี B4 : ถนนจันทน์
- สถานี B4A : ถนนจันทน์ใต้ (สถานีใหม่)
- สถานี B5 : นราราม 3
- สถานี B6 : วัดด่าน
- สถานี B7 : วัดปริวาส
- สถานี B8 : วัดดอกไม้
- สถานี B9 : สะพานพระราม 9
- สถานี B10 : เจริญราษฎร์
- สถานี B11 : สะพานพระราม 3
- สถานี B12 : ราชพฤกษ์ (เชื่อมต่อ BTS ตลาดพลู)

รถ BRT เปิดทำการกี่โมง เดินรถทุกกี่นาที ?
รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-22.00 น. โดยมีความถี่การให้บริการดังนี้
วันจันทร์-ศุกร์
- เวลา 06.00-07.00 น. ให้บริการทุก 10 นาที
- เวลา 07.00-09.30 น. ให้บริการทุก 7 นาที
- เวลา 09.30-17.00 น. ให้บริการทุก 10 นาที
- เวลา 17.00-19.30 น. ให้บริการทุก 7 นาที
- เวลา 19.30-21.00 น. ให้บริการทุก 10 นาที
- เวลา 21.00-22.00 น. ให้บริการทุก 15 นาที
วันเสาร์-อาทิตย์
- เวลา 06.00-07.00 น. ให้บริการทุก 15 นาที
- เวลา 07.00-21.00 น. ให้บริการทุก 12 นาที
- เวลา 21.00-22.00 น. ให้บริการทุก 15 นาที
ทั้งนี้ รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT ให้บริการคันสุดท้ายจากสถานีต้นทางในเวลา 22.00 น.
มีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ไหน ?
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม เกี่ยวกับรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT สามารถสอบถามได้ผ่านช่องทางต่อไปนี้
การให้บริการ รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT
- โทร. 063-832-6774
- LINE : brtev
- e-mail : [email protected]
การชำระค่าโดยสาร รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT
- แรบบิท ฮอตไลน์ โทร. 02-617-8383
- LINE : @brteticket