
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 ที่ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่10 พร้อมด้วย นพ.ณรงค์ อภิกุลวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศมีจำนวนผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในลำดับที่ 17 ของโลก สรุปยอดผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 31 ราย ยังอยู่ในการรักษาที่โรงพยาบาล(รพ.) 11 ราย เสียชีวิต 1 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 43 ราย ส่วนในผู้ป่วยรายวิกฤต ยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อาการยังทรงตัว แพทย์ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด และผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 3 มีนาคม มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 3,680 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 104 ราย มารับการรักษาที่ รพ.เอง 3,576 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 2,435 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,545 ราย สถานการณ์ทั่วโลกใน 75 ประเทศ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 4 มีนาคม พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 92,321 ราย เสียชีวิต 3,137 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,152 ราย เสียชีวิต 2,945 ราย
- พระราชินี เสด็จฯ ส่วนพระองค์ ทรงร่วมวิ่ง CIB RUN 2023 ระยะทาง 10 กิโลเมตร
- พระราชินีทรงนำทีมแข่งขันเรือใบนานาชาติ เข้าเส้นชัยอันดับ 1
- 3 “ท่าเรือบกอีสาน” รุกคืบอุดรฯเปิดนิคมเชื่อม “รถไฟจีน-ลาว”
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีมาตรการเร่งด่วนสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการป้องกันโรค ทั้งหมด 14 ข้อ ได้แก่ 1.ให้ทุกหน่วยดำเนินตามมาตรการของ สธ.อย่างเคร่งครัด 2.ติดตามดูแลคนไทยในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้ออย่างใกล้ชิด 3.ทุกส่วนราชการระงับ/เลื่อนการเดินทางไปประเทศที่มีการแพร่ระบาดและประเทศเฝ้าระวัง 4.เตรียมสถานที่สังเกตอาการ คัดกรองผู้ป่วย
5.เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดต้องกักตัว 14 วันไม่ถือเป็นวันลา 6.จัดหาเวชกัณฑ์อุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นเพิ่มเติมและหากจำเป็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานของบประมาณเพิ่มเติม 7.ตั้งศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทำเนียบฯ 8.ให้มีการประชุมเตรียมพร้อมป้องกันสม่ำเสมอ 9.ทุกหน่วยงานเร่งจัดหาสินค้าที่ใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้พียงพอกับความต้องการ
10.ดูแลบุคลากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม 11.กระทรวงพาณิชย์ป้องกันการกักตุนสินค้าและควบคุมราคา 12.กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลรองรับพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 13.กระทรวงคมนาคมคัดกรองผู้โดยสารอย่างเคร่งครัด และ14.ขอความร่วมมืองดจัดกิจกรรมที่ต้องมีการรวมตัวของประชาชน
สรุปสถานการณ์ ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2563 ณ เวลา 08.00 น.
1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 11 ราย กลับบ้านแล้ว 31 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 43 ราย
2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 3 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 3,680 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 104 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 3,576 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 2,435 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,545 ราย
3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 75 ประเทศ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 4 มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 92,321 ราย เสียชีวิต 3,137 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,152 ราย เสียชีวิต 2,945 ราย
คำแนะนำสำหรับประชาชน
1. ประชาชนที่มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการรายงานพบผู้ป่วย หลังเดินทางกลับประเทศไทยภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูกไอ เสมหะ หายใจเร็ว หอบให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวม และมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้
2. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศที่มีการระบาด และหากจำเป็นต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด ขอให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิตการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วย หรือตาย
3. ประชาชนทั่วไป ขอให้ดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศแปรปรวน ใช้มาตรการ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และสวมหน้ากากป้องกันโรค เวลาไอ จาม หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ
- อาการของโรค “โควิด-19” จากไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นอย่างไร
- “ระยะที่ 3” ของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างไร