รถไฟฟ้าสายสีชมพู-เหลือง-ส้ม รวมเรื่องต้องรู้ก่อนเปิดใช้ปี 2565-2570

รถไฟฟ้าสายสีชมพู เหลือง ส้ม1

หลายคนรอคอย โครงการรถไฟฟ้า 3 สาย “สีชมพู-เหลือง-ส้ม” พร้อมเปิดให้บริการตามกำหนดใน 2565 และ 2570 และบางสายไปถึงสมุทรปราการได้ในราคาหลักสิบเท่านั้น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู สีเหลือง และสีส้ม มีเส้นทางการเดินขบวนรถตั้งแต่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร ช่วงชานเมือง ไปจนถึงเส้นทางสิ้นสุดในต่างจังหวัด อย่าง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารเกิดความสะดวกในการเดินทางมากขึ้นในอนาคต

“ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมสิ่งที่ผู้โดยสารต้องรู้เกี่ยวกับรถไฟฟ้าทั้ง 3 โครงการ ก่อนเริ่มเปิดให้บริการตามเวลาที่กำหนด

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีเส้นทางของโครงการเริ่มต้นที่หน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ย่านมีนบุรี ระยะทางรวมประมาณ 34–36 กิโลเมตร ดำเนินการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีทั้งสิ้น 32 สถานี ดังนี้

เช็กสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู

เส้นทางสายหลัก

  • ศูนย์ราชการนนทบุรี
  • แคราย
  • สนามบินน้ำ
  • สามัคคี
  • กรมชลประทาน
  • แยกปากเกร็ด
  • เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
  • แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศรีรัช
  • แจ้งวัฒนะ 14
  • ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
  • สำนักงานเขตหลักสี่
  • หลักสี่
  • ราชภัฎพระนคร
  • วัดพระศรีมหาธาตุ
  • รามอินทรา 3
  • ลาดปลาเค้า
  • รามอินทรา กม.4
  • มัยลาภ
  • วัชรพล
  • รามอินทรา กม.6
  • คู้บอน
  • รามอินทรา กม.9
  • วงแหวนรามอินทรา
  • นพรัตน์
  • บางชัน
  • เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
  • ตลาดมีนบุรี
  • มีนบุรี

เส้นทางสายแยก

  • ศรีรัช
  • อิมแพคชาเลนเจอร์
  • ทะเลสาบเมืองทองธานี

งบประมาณสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีมูลค่ารวม 53,490 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,847 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธา 21,381 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 25,262 ล้านบาท

โดยกลุ่มบีเอสอาร์ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐฯ 22,500 ล้านบาท และกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 30,990 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวจากธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท

รถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิดบริการเมื่อใด

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในปี 2565 แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • เฟสที่ 1 : ช่วง “มีนบุรี-ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ” ระยะทาง 21 กิโลเมตร วางแผนเปิดบริการเดือนมิถุนายน 2565
  • เฟสที่ 2 : ขยายเส้นทางไปถึง “กรมชลประทาน” รวมเป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร กำหนดเปิดบริการเดือนสิงหาคม 2565
  • เฟสที่ 3 : เปิดบริการเต็มรูปแบบตลอดเส้นทางจนถึง “ศูนย์ราชการนนทบุรี-สี่แยกแคราย” เดือนกรกฎาคม 2566

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.22 บาท

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายเหลือง เป็นโครงการที่มีแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร และสิ้นสุดเส้นทางในจังหวัดสมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีลาดพร้าว และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกเทพารักษ์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีสำโรง ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตร

ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มีทั้งสิ้น 23 สถานี ดังนี้

เช็กสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

  • พหลโยธิน 24
  • จันทรเกษม
  • ลาดพร้าว
  • ภาวนา
  • โชคชัย 4
  • ลาดพร้าว 71
  • ลาดพร้าว 83
  • มหาดไทย
  • ลาดพร้าว 101
  • บางกะปิ
  • แยกลำสาลี
  • ศรีกรีฑา
  • หัวหมาก
  • กลันตัน
  • ศรีนุช
  • ศรีนครินทร์ 38
  • สวนหลวง ร.9
  • ศรีอุดม
  • ศรีเอี่ยม
  • ศรีลาซาล
  • ศรีแบริ่ง
  • ศรีด่าน
  • ศรีเทพา
  • ทิพวัล
  • สำโรง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

งบประมาณสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีมูลค่ารวม 51,810 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,013 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธา 23,206 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 22,591 ล้านบาท

โดยกลุ่มบีเอสอาร์ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐฯ 25,050 ล้านบาท และกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 26,760 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวจากธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดบริการเมื่อใด

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในช่วงกลางปี 2565 (ยังไม่มีการระบุวัน และเดือนที่ชัดเจน)

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 14 บาท และสูงสุดไม่เกิน 42 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.38 บาท

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และเส้นทางตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – บางกะปิ – มีนบุรี – แยกร่มเกล้า

มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจาก จากจุดตัดทางรถไฟสายธนบุรี (สายใต้เดิม) กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ และ จากจุดตัดทางรถไฟสายธนบุรี (สายใต้เดิม) กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ มีทั้งสิ้น 29 สถานี ดังนี้

เช็กสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม

  • บางขุนนนท์
  • ศิริราช
  • สนามหลวง
  • อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  • หลานหลวง
  • ยมราช
  • ราชเทวี
  • ประตูน้ำ
  • ราชปรารภ
  • รางน้ำ
  • ดินแดง
  • ประชาสงเคราะห์
  • ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • รฟม.
  • วัดพระราม 9
  • รามคำแหง 12
  • ม.รามคำแหง
  • กกท.
  • รามคำแหง 34
  • แยกลำสาลี
  • ศรีบูรพา
  • คลองบ้านม้า
  • สัมมากร
  • น้อมเกล้า
  • ราษฎร์บูรณะ
  • มีนพัฒนา
  • เคหะรามคำแหง
  • มีนบุรี
  • แยกร่มเกล้า

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

งบประมาณสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม 

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม มีมูลค่ารวม 143,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,000 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธาทั้งระบบ 96,000 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 32,000 ล้านบาท โดยรัฐฯ จะชำระค่างานโยธาทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยคืนให้ในระยะเวลา 10 ปีหลังเปิดดำเนินการ

รถไฟฟ้าสายสีส้มเปิดบริการเมื่อใด

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม คาดว่าจะเปิดให้บริการครั้งแรก ในปี 2570 (ยังไม่มีการระบุวัน และเดือนที่ชัดเจน)

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้าสายสีส้มมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท และสูงสุดไม่เกิน 45 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.25 บาท