
“TikTok” ย้ำบทบาทขับเคลื่อนเทรนด์ “ช็อปเปอร์เทนเมนต์” ถอดบทเรียนร้านดังบนแพลตฟอร์ม “Dr.Pong-Oshi Inter-Simplus-Warisshop” สร้างแบรนด์ปั๊มยอดขายด้วย “วิดีโอสั้น-ไลฟ์-การสร้างเครือข่าย Affiliate” ผสมผสานเครื่องมือต่าง ๆ
วันที่ 27 ก.ค. 2566 รายงานข่าวจาก TikTok เปิดเผยว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce)ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตต่อเนื่อง ยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 จากรายงาน SEA e-Conomy 2022 เปิดเผยตัวเลขมูลค่ารวมของตลาด e-Commerce ในปี 2019 มีมูลค่า 43 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 131 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2022 และคาดว่าจะสูงถึง 180 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่มขึ้น จาก 360 ล้านคน ในปี 2019 เป็นกว่า 460 ล้านคนในปี 2022 จากประชากรทั่วทั้งภูมิภาคที่ 600 ล้านคน
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
- สพฐ.ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธ.ค.ให้นักเรียน ม.ปลายเตรียมสอบ TGAT/TPAT
นอกจากใช้เพื่อความบันเทิงแล้ว กว่า 75% ยังใช้ด้าน e-Commerce แม้การใช้จ่ายต่อครั้งยังเป็นจำนวนเงินไม่มาก เฉลี่ยที่ 10-5 เหรียญสหรัฐ แต่ด้วยขนาดของผู้บริโภคที่มีจำนวนมากทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลในกลุ่ม e-Commerce ขณะที่ภาพรวม GDP ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โตขึ้น 5-10% ผลักดันให้คนกว่า 20 ล้านคน เข้าสู่การทำงานในธุรกิจ e-Commerce
การซื้อขายรายย่อยจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้ค้าจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะเพื่อส่งเสริมการขายในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เช่น เรียนรู้การทำคอนเทนต์วิดีโอ การพูดคุยผ่านการไลฟ์ เพื่อให้ทันต่อกระแสเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่ง TikTok Shop มีเครื่องมือช่วยติดอาวุธเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย
ตลาด e-Commerce ในประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง จากมูลค่าตลาด 5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019 เติบโตขึ้นเป็น 21 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021 และ 22 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2022 คาดว่าจะมีการเติบโตรายปีแบบผสมเพิ่มขึ้น 13% เป็นมูลค่า 32 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025
ปัจจุบัน TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่รวมคอนเทนต์ และคอมเมิร์ซไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้ซื้อสินค้าได้ภายในแพลตฟอร์ม โดยไม่ต้องสลับแอปพลิเคชั่น และขับเคลื่อนเทรนด์ Shoppertainment ที่การตัดสินใจซื้อสินค้าได้รับอิทธิพลจากการรับชมคอนเทนต์ความบันเทิง
งานวิจัยจาก Boston Consulting Group (BCG) ระบุว่าเทรนด์ดังกล่าวนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกภายในปี 2025 และในประเทศไทยจะเติบโตถึง 12.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
รวมถึงสนับสนุนภาคธุรกิจกว่า 15 ล้านธุรกิจทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ TikTok มีผู้ใช้งานกว่า 325 ล้านคนในแต่ละเดือน ไม่ใช่แค่ความบันเทิงแต่ยังมอบประสบการณ์การช็อปปิ้งแบบไร้รอยต่อให้ผู้ใช้ ด้วยความง่ายในการใช้งานที่เอื้อให้ผู้ค้าสร้างร้านค้าสำหรับธุรกิจได้ด้วยตนเอง ขั้นตอนไม่ซับซ้อน มีการให้คำแนะนำอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีเครื่องมือช่วยส่งเสริมการขายให้กับร้านค้าตามเทรนด์การรับชมสื่อของผู้ใช้ โดยผู้ค้าสามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับสินค้าและลักษณะธุรกิจของตัวเองได้
มาดูกันว่าร้านค้าที่ประสบความสำเร็จบน TikTok มีเคล็ดลับอะไรบ้าง
เริ่มจาก Dr.Pong ใช้กลยุทธ์การสื่อสารด้วยวิดีโอสั้น (Short video) วันละ 2-3 วิดีโอ เนื่องจากเป็นแบรนด์สินค้าที่มีผลิตภัณฑ์ด้านความงามหลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงต้องให้ข้อมูลครบถ้วนเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ปัจจุบัน ผู้ใช้นิยมดูวิดีโอขนาดสั้นมากกว่าการอ่าน หรือการชมโฆษณาขนาดยาวทำให้การสร้างวิดีโอขนาดสั้นได้รับความสนใจ และสื่อสารข้อมูลได้รวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่มีรายละเอียดมาก
Dr.Pong ยังสร้างคอนเทนต์แนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวที่แตกต่างกัน เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ที่กำลังมีปัญหา และต้องการตัวช่วย
อีกแบรนด์ คือ Oshi Inter Shop เปลี่ยนผู้เข้าชมเป็นยอดขายจริง ด้วยการ Live เป็นร้านค้าที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ “ไลฟ์” สร้างชุมชนธุรกิจของตนเอง
ปัจจุบัน Oshi Inter Shop เป็นร้านค้ากระดาษทิสชูที่มียอดขายกว่า 200,000 บาทต่อเดือน มีอัตราการกลับมาซื้อซ้ำสูงถึง 95.68% โดยแบรนด์ใช้กลวิธีการไลฟ์ต่อเนื่อง กว่า 7,000 นาทีต่อเดือน เพื่อสื่อสารกับผู้ใช้ แสดงสินค้าจริง การใช้งานจริง เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่จะได้รับ เครื่องมือไลฟ์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ และนำไปสู่การสร้างชุมชนธุรกิจจนนำพาไปสู่การซื้อซ้ำของผู้ใช้ได้
ถัดมาเป็นแบรนด์ Simplus ที่เพิ่มการเข้าถึง และปั๊มยอดขายด้วย Creator Affiliate โดยสามารถสร้างเครือข่าย Affiliate (ตัวแทนขาย)ได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องจากคุณภาพสินค้า รูปลักษณ์ และความสะดวกของการใช้งานกระตุ้นให้ผู้ใช้อยากมีส่วนร่วมในการรีวิว หรือบอกต่อผ่านคอนเทนต์วิดีโอในการรีวิวสินค้าที่มีหลากหลายรายการ พร้อมสร้างคอนเทนต์จากผลิตภัณฑ์ของ Simplus เช่น เมนูอาหารอย่างง่ายด้วยกระทะไฟฟ้าใบเดียว ทำให้แบรนด์เข้าถึงผู้ใช้ พร้อมไปกับกระตุ้นความคิดริเริ่มที่ทำให้อยากทดลองทำอาหาร หรือทำเมนูใหม่ ๆ ตาม
Simplus เป็นแบรนด์ที่เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ปัจจุบันว่าการดูรีวิวสินค้าไม่ใช่แค่การอ่านรีวิว หรือการโชว์รูปเพียงหนึ่งภาพอีกต่อไป แต่เป็นการได้เห็นการใช้งานในรูปแบบคอนเทนต์วิดีโอทั้งจากผู้ใช้จริงและจากครีเอเตอร์มืออาชีพ เพื่อพัฒนาเหล่าครีเอเตอร์ และเครือข่าย Creator Affiliate ทาง Simplus ยังสนับสนุนคอมมิวนิตี้ของเหล่าครีเอเตอร์ด้วยการส่งเสริมการเทรนนิ่งเพื่อการสร้างสรรค์คอนเทนต์ด้วย
ไม่ใช่แค่สร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ และทำให้เกิดยอดขายจริงเท่านั้น TikTok Shop สนับสนุนให้เกิดชุมชนธุรกิจที่เชื่อมโยงร้านค้าและหลอมรวมความแตกต่างหลากหลายไว้บนแพลตฟอร์ม เช่น Warisshop ร้านขายเสื้อผ้า ชุดโด๊ป
อาบาย่า และเสื้อผ้ามุสลิมในสไตล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะวันแห่งการเฉลิมฉลอง เช่น วันฮารีรายอ Warisshop สามารถเชื่อมโยงสินค้าที่มีความต้องการเฉพาะส่งตรงสู่ชาวมุสลิมทั่วประเทศไทย ได้เห็นสินค้าจริงผ่านไลฟ์ และวิดีโอขนาดสั้น
ทั้งหมดเป็นตัวอย่างของร้านค้าที่ประสบความสำเร็จบนแพลตฟอร์ม TikTok