
เปิดวิธีรักษาภาวะลองโควิด อาการเรื้อรังจากโรคโควิด กรมการแพทย์ ชี้ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด แนะ แอโรบิคแบบเบา-ฝึกหายใจช้าและลึก-พักผ่อน ทานอาหารครบ 5 หมู่-เลี่ยงมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ควันบุหรี่ ไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ภาวะลองโควิด (Long Covid) เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับหายป่วยจากโควิด แต่จะมีอาการคล้ายกับยังเป็นโควิดอยู่ต่อเนื่องตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับหลายระบบในร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ครม.เคาะแล้ว ซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท เริ่ม 1 ม.ค. 67
- เปิดภาพ 3 รัฐมนตรีเกษตรฯ ต้อนรับนายกฯ เยี่ยมวิถีชาวบ้าน หนองบัวลําภู
- MOTOR EXPO 2023 ยอดขายรถ 4 วันแรกทะลุ 8,300 คัน
ทั้งนี้ ภาวะลองโควิด มักพบในกลุ่มผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักตัวมาก ผู้มีประวัติเป็นโรคหัวใจ ผู้ที่มีอาการติดเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรง และผู้สูงอายุ
เนื่องจาก ลักษณะของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่เสื่อมถอยร่วมกับมีการอักเสบจากการติดเชื้อโควิด ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการต่อเนื่องได้นานมากกว่าคนปกติ ซึ่งอาการทางระบบหัวใจและปอด ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะลองโควิด ได้แก่
- เจ็บหน้าอก
- ใจสั่น
- เหนื่อยเรื้อรัง
- ไอเรื้อรัง
ด้านนายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเสริมว่า สำหรับแนวทางการดูแลตนเองหลังป่วยโควิด เพื่อป้องกันภาวะลองโควิดนั้นมีวิธีการ ดังนี้
- ควรฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ด้วยการออกกำลังกาย ชนิดแอโรบิคแบบเบา ๆ และฝึกการหายใจแบบช้าและลึก เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจมีความแข็งแรง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะควันบุหรี่ธรรมดาหรือแม้แต่บุหรี่ไฟฟ้า ฝุ่น PM2.5
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ ควรรักษาสุขอนามัยของตนเองด้วยการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ ทุกครั้งที่สัมผัส และควรเว้นระยะห่างจากผู้อื่น 1-2 เมตร
“กลุ่มเสี่ยงที่จะพบอาการ Long Covid ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ โรคประจำตัวของผู้ป่วย ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการ Long Covid จะไม่ส่งผลในระยะยาวต่อร่างกาย หากผู้ป่วยรู้จักการดูแลรักษาร่างกายตนเองให้กลับมาแข็งแรง ก็จะสามารถกลับมาเป็นปกติได้เกือบ 100% และหากพบว่ามีอาการภาวะ Long Covid กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษา”