ประวัติ บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา

ชื่อ : นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา

ตำแหน่งปัจจุบัน : ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

วันเดือนปีเกิด : 25 กรกฎาคม 2480

ถิ่นกำเนิด : กรุงเทพฯ

บิดา : นายเทียม โชควัฒนา

คู่สมรส : นางพัชรินทร์ โชควัฒนา มีบุตรธิดา 4 คน ได้แก่

  1. ธรรมรัตน์ โชควัฒนา
  2. ธีรดา โชควัฒนา
  3. ธนินธร โชควัฒนา
  4. ฐิติภูมิ โชควัฒนา

ประวัติการศึกษา :

  • ปี 2545 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปี 2544 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปี 2537 ได้รับพระราชทาน ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปี 2498-2504 บิดาส่งไปศึกษาและปฏิบัติงานที่บริษัทเคียวโกะ ณ ประเทศญี่ปุ่น
  • ปี 2496 มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ
  • ประวัติการทำงาน : ปัจจุบัน ประธานเครือสหพัฒน์
  • ประธานกรรมการ บมจ. สหพัฒนพิบูล จำกัด
  • รองประธานกรรมการ บมจ. ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง
  • ประธานกรรมการ บมจ. ธนูลักษณ์
  • ประธานกรรมการ บมจ. อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์
  • ประธานกรรมการ บมจ. ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์
  • กรรมการที่ปรึกษา บมจ. เท็กซ์ไทล์ เพรสทีจ
  • กรรมการที่ปรึกษา บมจ.ไทยวาโก้
  • กรรมการที่ปรึกษาบริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด
  • ปี2517 ตั้งโครงการสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา ตามด้วยโครงการสวนอุตสาหกรรม เครือสหพัฒน์กบินทร์บุรี และโครงการสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ลำพูน
  • ปี2497 เริ่มงานครั้งแรกที่บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด จากนั้นไปประจำที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 6 ปี ในฐานะผู้แทน บริษัท โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาร่วมลงทุนกับญี่ปุ่น และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทในเครือสหพัฒน์

ผลงานที่โดดเด่น :

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ วันที่ 5 ธันวาคม 2522
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตราภรณ์ วันที่ 5 ธันวาคม 2526
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (..) วันที่ 29 เมษายน 2541
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ออฟฟิซิเอร์ เดอ ลอร์ด นาซิออนัล ดู เมริทจากประเทศฝรั่งเศส วันที่ 29 มกราคม 2534
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “The Order of tha Sacred Treasure, Gold Ray with Neck Ribbon” จากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น วันที่ 10 มิถุนายน 2545 เพื่อความสัมพันธ์การค้าอันดีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
  • รางวัล พระสิทธิธาดาทองคำสำหรับนักธุรกิจดีเด่น สาขาการค้าและการบริการ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วันที่ 29 พฤษภาคม
  • รางวัล “แจแปนิส เทรด อะวอร์ด” ประจำปี 2541 (18 ..2542) โดยเป็นคนไทยคนที่ 3 ที่ได้รับรางวัลนี้ จากผลงานด้านการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจร่วมกันด้านการค้าระหว่างประเทศ
  • ประกาศเกียรติคุณนักการตลาดดีเด่นแห่งปี 2541 จากนายรัฐมนตรีฯ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย วันที่ 2 สิงหาคม 2542
  • รางวัลนักการตลาดดีเด่นแห่งปี 2541 จากการคัดเลือกของนิตยสารรายเดือนคู่แข่ง
  • รางวัล “PRIME MINISTER\’S TRADE AWARD” จากนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น MR. KEIZO OBUCHI ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 18 มกราคม 2542 ด้วยผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกันทางการค้าระหว่างประเทศ และด้านการปรับปรุงโครงสร้างการค้าของประเทศญี่ปุ่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง