
รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีโอกาสยุบสภา มากกว่าอยู่ครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 23 มีนาคม 2566 นับถอยหลัง อัพเดต จำนวน ส.ส.เขต ก่อนแยกย้าย-ยุบสภา ผ่านพ้นเส้นตาย 90 วัน ชี้ชะตา
เมื่อ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่ในเวลานี้ 429 คน ยังปักหลักอยู่ ณ ที่ตั้ง ไม่มีการย้ายพรรค สลับสังกัดเพิ่มเติม โดยเฉพาะ “นักการเมือง” จากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ทั้งที่เหยียบเรือสองแคมอยู่หลายราย
ตัวอข่างเช่น นักการเมืองประเภทหนึ่ง ขาข้างหนึ่งอยู่พรรคพลังประชารัฐ อีกข้างหนึ่งอยู่พรรครวมไทยสร้างชาติ
อีกประเภทหนึ่ง ขาข้างหนึ่งอยู่พรรคประชาธิปัตย์ แต่อีกข้างหนึ่งอยู่พรรครวมไทยสร้างชาติ
กับอีกประเภทหนึ่ง ขาข้างหนึ่งอยู่พรรคพลังประชารัฐ แต่ก็มีใจจะไปอยู่พรรคเพื่อไทยในชั่วโมงสุดท้าย
เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ในกรณีที่รัฐบาล “อยู่ครบวาระ” ไม่มีการยุบสภา นักการเมืองจะต้องสังกัดพรรคการเมืองเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน จนถึงวันเลือกตั้ง
7 กุมภาพันธ์ 2566 จึงถูกเป็นเส้นแบ่ง 90 วัน ในกรณีที่ยุบสภา จะต้องมีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน ซึ่งตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคม
ดังนั้น เมื่อผ่านพ้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ เพิ่มเติม อาจยืนยันคำตอบว่า พล.อ.ประยุทธ์ ผู้ถือรีโมทคอนโทรลการ “ยุบสภา” ไว้แต่เพียงผู้เดียว ในที่สุดแล้วก็ต้องประกาศยุบสภา
ตรงกับอินไซด์ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อ 31 มกราคม 2566 ที่แหล่งข่าวในห้องประชุมคณะรัฐมนตรี สนทนากันว่า แนวโน้มการยุบสภาอาจจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 มีนาคม 2566
ลองเช็คเสียงในสภาในช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนทุกฝ่ายจะเริ่มแยกย้ายลงสู้ศึกเลือกตั้ง จากข้อมูล ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566
พรรคฝ่ายรัฐบาลขณะนี้มี 231 เสียง ประกอบด้วย
- พรรคพลังประชารัฐ เหลือ ส.ส.เพียงแค่ 79 คน
- พรรคภูมิใจไทย ยังอยู่ที่ 63 คน (ไม่นับนักการเมืองที่ลาออกจาก ส.ส.ย้ายมาเข้าพรรค)
- พรรคประชาธิปัตย์ ยังเท่าเดิม 50 คน (บางคนประกาศตัวจะไปอยู่ร่วมกับพรรครวมไทยสร้างชาติ)
- พรรคชาติไทยพัฒนา 12 คน พรรคเศรษฐกิจใหม่ 6 คน
- พรรคพลังท้องถิ่นไทย 5 คน
- พรรครวมพลัง 4 คน
- พรรคชาติพัฒนากล้า 3 คน พ
- รรคโอกาสไทย 2 คน (พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย)
- พรรคประชาภิวัฒน์ 1 คน
- พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 คน
- พรรคพลเมืองไทย 1 คน
- พรรคพลังธรรมใหม่ 1 คน
- พรรคเพื่อชาติไทย 1 คน
- พรรครวมไทยสร้างชาติ 1 คน
- พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 คน
เสียงของพรรคร่วมฝ่ายค้าน187 เสียง ประกอบด้วย
- พรรคเพื่อไทย ลดลงเหลือ 117 คน
- พรรคก้าวไกล ลดลงเหลือ 45 คน
- พรรคเสรีรวมไทย มี 10 คนเท่าเดิม
- พรรคประชาชาติ มี 7 คน
- พรรคเพื่อชาติมี 6 คน
- พรรคพลังปวงชนไทย 1 คน
- พรรคไทยศรีวิไลย์ 1 คน
- ไม่มีสังกัด 11 คน (ลาออกจากพรรคเก่า ยังไม่ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคใหม่)
รวม ส.ส.ในสภาทั้ง 2 ข้าง อยู่ที่ 429 คน องค์ประชุมสภา 209 คน
นักเลือกตั้งทุกพรรคการเมือง ไม่มีจิตใจทำงานในสภา เพราะทุกฝ่ายทุ่มกำลังลงพื้นที่เลือกตั้ง ไม่แปลกหากองค์ประชุมสภาที่ต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง 209 คน จะล่มแล้วล่มอีก
เพราะทุกคนรอเพียงสัญญาณเป่านกหวีด “ยุบสภา” จาก พล.อ.ประยุทธ์ เท่านั้น
อีกแค่ไม่เกิน 45 วัน ส.ส.ขาใหญ่ ขาย่อย บ้านเล็ก บ้านใหญ่ ทุกเครือข่าย เตรียมแยกย้าย หาน่านน้ำใหม่ เพื่อปักหมูด การเป็น ส.ส.ใหม่ ชิงชัยในการเลือกตั้ง 2566 ที่มีสิทธิกลับเข้าสภาผู้แทนราษฎรเพียง 500 คนเท่านั้น จากผู้สมัครกว่า 3,000 คน