ชำแหละไส้ในงบปี’67 รัฐบาลใหม่รื้อ-ไม่รื้อ

ชำแหละไส้ในงบปี'67 รัฐบาลใหม่รื้อ-ไม่รื้อ

งบประมาณใหม่ปี’67 อาจจะแท้งตั้งแต่ยังไม่คลอด หากรัฐบาลใหม่เปลี่ยนขั้ว-สลับข้าง โดยเฉพาะงบประมาณของกองทัพ-สวัสดิการ หากพรรคเพื่อไทย-ก้าวไกลเข้ามาเป็นรัฐบาล เพื่อสนองนโยบายที่สัญญา-หาเสียงไว้ให้ถ้วนหน้า

ไส้ในกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ที่อยู่ระหว่างรอรัฐบาลใหม่ วงเงินรวมทั้งสิ้น 3.35 ล้านล้านบาท ที่ถูกปลดออกจาก “ชั้นความลับ” จ่อถูกรื้อ-ไม่รื้อ

งบกลางฉุกเฉิน 93,000 ล้าน

งบกลาง กรอบวงเงิน 601,745 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,275 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 1.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขประเทศ จำนวน 8 แสนบาท

2.ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 4,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 66 จำนวน 2,000 ล้านบาท

3.ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 2,300 ล้านบาท 4.ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐ จำนวน 7,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,000 ล้านบาท

5.เงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง จำนวน 500 ล้านบาท 6.เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐ จำนวน 4,470 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 270 ล้านบาท

7.เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ จำนวน 329,430 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,640 ล้านบาท 8.เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ จำนวน 11,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,000 ล้านบาท

9.เงินสมทบของลูกจ้างประจำ จำนวน 470 ล้านบาท ลดลง 30 ล้านบาท 10.เงินสำรอง เงินสมทบและเงินชดเชยของข้าราชการ จำนวน 78,775 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,795 ล้านบาท

11.เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 93,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 600 ล้านบาท 12.ค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ไม่มี ลดลง 3,000 ล้านบาท

กองทัพอู้ฟู่ 1.98 แสนล้าน

กระทรวงความมั่นคง กระทรวงกลาโหม กรอบวงเงิน 198,562,911,100 บาท เพิ่มขึ้น 4,064,182,900 บาท แบ่งออกเป็น 1.สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 9,343,940,900 บาท เพิ่มขึ้น 113,651,700 บาท
2.กองทัพบก จำนวน 96,084,228,500 บาท เพิ่มขึ้น 1,582,893,800 บาท 3.กองทัพเรือ จำนวน 41,196,742,300 บาท เพิ่มขึ้น 1,129,779,300 บาท 4.กองทัพอากาศ จำนวน 36,366,936,000 บาท เพิ่มขึ้น 653,142,400 บาท

5.กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 14,773,696,900 บาท เพิ่มขึ้น 288,950,700 บาท 6.สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ จำนวน 797,366,500 บาท เพิ่มขึ้น 295,765,000 บาท

กระทรวงมหาดไทย กรอบวงเงิน 351,985,253,000 บาท เพิ่มขึ้น 26,739,393,900 บาท แบ่งออกเป็น 1.สำนักงานปลัดฯ จำนวน 6,190,146,900 บาท เพิ่มขึ้น 9,816,500 บาท

2.กรมการปกครอง จำนวน 49,739,981,300 บาท เพิ่มขึ้น 6,378,731,900 บาท 3.กรมพัฒนาชุมชน จำนวน 5,361,449,600 บาท เพิ่มขึ้น 369,737,100 บาท

4.กรมที่ดิน จำนวน 7,210,632,400 บาท เพิ่มขึ้น 612,815,900 บาท 5.กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 5,631,073,700 บาท เพิ่มขึ้น 976,238,900 บาท

6.กรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 38,367,479,100 บาท เพิ่มขึ้น 3,530,870,000 บาท 7.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 239,484,490,000 บาท เพิ่มขึ้น 14,861,1883,600 บาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรอบวงเงิน 93,647,561,100 บาท เพิ่มขึ้น 7,190,483,700 บาท

สภากาชาดไทย กรอบวงเงิน 8,867,485,700 บาท เพิ่มขึ้น 13,464,100 บาท ส่วนราชการในพระองค์ กรอบวงเงิน 8,478,383,000 บาท ลดลง 133,286,600 บาท

คมนาคม เพิ่ม 3,637 ล้านบาท

ขณะที่กระทรวงเศรษฐกิจ อาทิ กระทรวงคมนาคม กรอบวงเงิน 183,950,035,100 บาท เพิ่มขึ้น 3,637,114,700 บาท แบ่งออกเป็น 1.สำนักงานปลัดฯ จำนวน 677,729,400 บาท เพิ่มขึ้น 163,225,700 บาท

2.กรมการขนส่งทางบก จำนวน 3,587,233,600 บาท เพิ่มขึ้น 41,422,100 บาท 3.กรมการขนส่งทางราง จำนวน 167,296,000 บาท เพิ่มขึ้น 50,957,500 บาท 4.กรมเจ้าท่า จำนวน 4,773,058,000 บาท เพิ่มขึ้น 65,658,000 บาท

5.กรมทางหลวง จำนวน 120,961,716,500 บาท เพิ่มขึ้น 2,145,090,100 บาท 6.กรมทางหลวงชนบท จำนวน 47,928,219,300 บาท เพิ่ม 819,304,700 บาท 7.กรมท่าอากาศยาน จำนวน 5,162,851,300 บาท ลด 58,350,200 บาท

8.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จำนวน 282,003,200 บาท ลดลง 121,000 บาท

9.สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) จำนวน 409,927,800 บาท ปี 66 ไม่มีการจัดสรร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรอบวงเงิน 117,142,945,200 บาท ลดลง 10,990,612,900 บาท แบ่งออกเป็น 1.สำนักงานปลัดฯ จำนวน 1,191,207,100 บาท เพิ่มขึ้น 106,003,700 บาท

2.กรมการข้าว จำนวน 4,508,372,100 บาท ลดลง 15,101,602,900 บาท 3.กรมชลประทาน จำนวน 80,410,530,800 บาท เพิ่มขึ้น 2,916,047,900 บาท 4.กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จำนวน 1,251,999,000 บาท เพิ่มขึ้น 29,432,900 บาท

5.กรมประมง จำนวน 3,603,696,100 บาท เพิ่มขึ้น 115,800,700 บาท 6.กรมปศุสัตว์ จำนวน 5,317,521,400 บาท เพิ่มขึ้น 99,503,600 บาท 7.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จำนวน 2,160,917,500 บาท เพิ่มขึ้น 89,397,700 บาท

8.กรมพัฒนาที่ดิน จำนวน 4,345,418,000 บาท เพิ่มขึ้น 404,551,900 บาท 9.กรมวิชาการเกษตร จำนวน 3,092,056,700 บาท เพิ่มขึ้น 31,909,100 บาท 10.กรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 5,015,162,400 บาท เพิ่มขึ้น 49,267,600 บาท

11.กรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 2,581,808,900 บาท ลดลง 3,080,500 บาท 12.กรมหม่อนไหม จำนวน 572,252,100 บาท เพิ่มขึ้น 46,469,400 บาท 13.สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 1,484,343,600 บาท เพิ่มขึ้น 90,673,100 บาท

14.สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ จำนวน 251,108,600 บาท เพิ่มขึ้น 25,152,100 บาท 15.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จำนวน 636,737,000 บาท เพิ่มขึ้น 38,148,300 บาท

16.สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จำนวน 505,365,300 บาท เพิ่มขึ้น 51,712,900 บาท

17.สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) 213,448,600 บาท เพิ่ม 19,999,600 บาท

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรอบวงเงิน 8,639,910,900 บาท เพิ่มขึ้น 1,853,697 บาท แบ่งออกเป็น 1.สำนักงานปลัดฯ จำนวน 1,081,523,800 บาท เพิ่มขึ้น 500,079,300 บาท

2.กรมอุตุนิยมวิทยา จำนวน 2,069,655,900 ลดลง 33,507,500 บาท 3.สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน 2,010,523,500 บาท เพิ่มขึ้น 667,634,700 บาท

4.สำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวน 1,115,197,000 บาท ลดลง 108,992,600 บาท 5.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 280,867,100 บาท งบปี 66 ไม่มีการจัดสรร

6.สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 602,065,200 บาท เพิ่มขึ้น 35,215,600 บาท

7.สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จำนวน 1,480,078,400 บาท เพิ่มขึ้น 512,400,800 บาท
กระทรวงพลังงาน กรอบวงเงิน 3,026,668,400 บาท เพิ่มขึ้น 326,670,200 บาท แบ่งออกเป็น 1.สำนักงานปลัดฯ จำนวน 561,731,800 บาท เพิ่มขึ้น 61,868,800 บาท 2.กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จำนวน 261,351,400 บาท เท่าปี 66

3.กรมธุรกิจพลังงาน จำนวน 243,340,700 บาท เพิ่ม 6,300,000 บาท 4.กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 1,780,957,8800 บาท เพิ่ม 218,296,600 บาท 5.สำนักงานโยบายและแผนพลังงาน จำนวน 179,286,700 บาท เพิ่ม 40,204,800 บาท

กระทรวงสวัสดิการมนุษย์เพิ่มยกแผง

ส่วนกระทรวงสวัสดิการ อาทิ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรอบวงเงิน 25,261,378,500 บาท เพิ่มขึ้น 644,470,500 บาท แบ่งออกเป็น 1.สำนักงานปลัดฯ จำนวน 1,682,412,100 บาท เพิ่มขึ้น 113,163,500 บาท 2.กรมกิจการเด็กและเยาชน จำนวน 17,908,338,700 บาท เพิ่มขึ้น 62,885,400 บาท
3.กรมกิจการผู้สูงอายุ จำนวน 1,144,975,000 บาท เพิ่มขึ้น 293,552,600 บาท 4.กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จำนวน 532,018,500 บาท เพิ่มขึ้น 10,495,800 บาท

5.กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จำนวน 1,796,828,900 บาท เพิ่มขึ้น 49,784,400 บาท 6.กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน 812,819,600 บาท เพิ่ม 3,579,600 บาท 7.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จำนวน 1,383,958,700 บาท เพิ่มขึ้น 111,012,200 บาท

กระทรวงแรงงาน กรอบวงเงิน 61,841,060,800 บาท เพิ่มขึ้น 7,515,201,200 บาท แบ่งออกเป็น 1.สำนักงานปลัดฯ จำนวน 1,272,638,800 บาท เพิ่มขึ้น 257,245,100 บาท 2.กรมจัดหางาน จำนวน 1,145,747,000 บาท เพิ่ม 23,256,100 บาท

3.กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 1,704,365,000 บาท เพิ่มขึ้น 19,800,000 บาท 4.กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำนวน 1,054,429,200 บาท เพิ่มขึ้น 25,574,400 บาท

5.สำนักงานประกันสังคม จำนวน 56,618,757,600 บาท เพิ่มขึ้น 7,186,605,600 บาท 6.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) จำนวน 45,123,200 บาท เพิ่มขึ้น 2,720,000 บาท

กระทรวงศึกษา-สุขภาพ

กระทรวงศึกษาธิการ กรอบวงเงิน 330,512,297,300 บาท เพิ่มขึ้น 3,137,574,800 บาท แบ่งออกเป็น สำนักงานปลัดฯ จำนวน 48,431,995,500 บาท ลดลง 219,143,200 บาท

2.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 254,297,363,000 บาท เพิ่มขึ้น 2,193,571,400 บาท 3.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 24,851,479,800 บาท เพิ่มขึ้น 1,127,271,300 บาท

4.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จำนวน 167,950,300 บาท ลดลง 100,900 บาท 5.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1,663,483,300 บาท ลดลง 30,018,800 บาท

6.สำนักงงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 126,618,400 บาท เพิ่มขึ้น 2,764,900 บาท 7.สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จำนวน 166,264,200 บาท เพิ่มขึ้น 13,543,100 บาท

8.โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน 262,953,300 บาท เพิ่มขึ้น 50,000,000 บาท 9.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) จำนวน 438,300,300 บาท ลดลง 281,300 บาท 10.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) จำนวน 105,889,200 บาท ลดลง 31,700 บาท

กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงิน 170,369,152,600 บาท เพิ่มขึ้น 18,105,262,200 บาท แบ่งออกเป็น 1.สำนักงานปลัดฯ จำนวน 119,726,353,400 บาท เพิ่มขึ้น 3,434,013,900 บาท

2.กรมการแพทย์ จำนวน 7,911,375,600 บาท ลดลง 138,176,300 บาท 3.กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 378,416,900 บาท เพิ่มขึ้น 77,726,900 บาท

4.กรมควบคุมโรค จำนวน 3,974,215,000 บาท เพิ่มขึ้น 337,284,900 บาท 5.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 1,314,271,600 เพิ่มขึ้น 32,198,900 บาท

6.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จำนวน 26,973,942,200 บาท เพิ่มขึ้น 13,833,005,300 บาท 7.กรมสุขภาพจิต จำนวน 3,044,036,5500 บาท เพิ่มขึ้น 169,024,700 บาท 8.กรมอนามัย จำนวน 1,890,451,200 บาท เพิ่ม 111,952,300 บาท

9.สถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 2,317,251,200 บาท เพิ่มขึ้น 27,817,300 บาท 10.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จำนวน 967,201,700 บาท เพิ่มขึ้น 69,165,000 บาท

11.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จำนวน 179,855,100 บาท เพิ่มขึ้น 12,056,700 บาท 12.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จำนวน 49,299,300 บาท เพิ่มขึ้น 11,995,000 บาท

13.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 1,492,110,500 บาท เพิ่มขึ้น 101,857,200 บาท 14.สถาบันฉีดวัคซีนแห่งชาติ จำนวน 63,646,000 บาท เพิ่มขึ้น 20,108,900 บาท

15.โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จำนวน 13,337,500 บาท 16.สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) จำนวน 73,388,900 บาท เพิ่มขึ้น 5,6881,500 บาท

หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

ขณะที่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ กรอบวงเงิน 149,382,726,500 บาท ลดลง 13,536,531,300 บาท แบ่งออกเป็น 1.การกีฬาแห่งประเทศไทย จำนวน 2,227,646,700 บาท เพิ่มขึ้น 627,175,200 บาท

2.การเคหะแห่งชาติ จำนวน 1,001,029,500 บาท เพิ่มขึ้น 49,059,300 บาท 3.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จำนวน 5,000,685,400 บาท เพิ่มขึ้น 1,741,823,400 บาท

4.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 2,866,793,000 บาท เพิ่มขึ้น 2,776,525,000 บาท 5.การประปานครหลวง จำนวน 29,072,200 บาท ลดลง 12,792,800 บาท

6.การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 3,019,639,400 บาท เพิ่มขึ้น 1,083,700 บาท 7.การยางแห่งประเทศไทย จำนวน 208,789,200 บาท เพิ่มขึ้น 181,005,800 บาท

8.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 23,457,741,700 บาท เพิ่มขึ้น 1,932,953,400 บาท

9.การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 23,135,614,200 บาท

10.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จำนวน 340,409,800 บาท เพิ่มขึ้น 62,476,800 บาท 11.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 64,727,230,500 บาท ลดลง 19,780,973,800 บาท

12.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศ จำนวน 108,949,200 บาท เพิ่มขึ้น 18,628,200 บาท

13.ธนาคารออมสิน จำนวน 6,065,780,700 บาท ลดลง 2,190,334,600 บาท

14.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 621,543,200 บาท ลดลง 97,149,800 บาท 15.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม จำนวน 6,890,358,300 บาท ลดลง 220,749,900 บาท

16.สถาบันการบินพลเรือน จำนวน 175,085,200 บาท ลดลง 25,709,000 บาท 17.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จำนวน 700,476,400 บาท เพิ่มขึ้น 84,551,000 บาท

18.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 4,416,784,8800 บาท เพิ่มขึ้น 342,654,500 บาท 19.องค์การจัดการน้ำเสีย จำนวน 1,407,732,200 บาท เพิ่มขึ้น 660,338,100 บาท

20.องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร จำนวน 37,621,400 บาท ลดลง 10,000,000 บาท 21.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จำนวน 1,039,922,300 บาท เพิ่มขึ้น 73,788,300 บาท

22.องค์การสวนพฤกษศาสตร์ จำนวน 140,8818,500 บาท เพิ่มขึ้น 4,298,800 บาท 23.องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย จำนวน 1,614,547,600 บาท ลดลง 166,909,100 บาท 24.องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จำนวน 148,455,100 บาท เพิ่ม 3,494,700 บาท

กองทุนประชารัฐ-บัตรทอง 30 บาท

กองทุนการออมแห่งชาติ จำนวน 807,319,500 บาท เพิ่มขึ้น 473,064,700 บาท กองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ จำนวน 80 ล้านบาท เพิ่ม 20 ล้านบาท กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จำนวน 6,071,207,600 บาท ลด 2,551,400 บาท

กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 601,266,500 บาท เพิ่มขึ้น 101,266,500 บาท กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จำนวน 179,252,900 บาท เพิ่มขึ้น 25,095,900 บาท กองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 20 ล้านบาท

กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม จำนวน 50,015,373,900 บาท เพิ่มขึ้น 14,500,649,000 บาท กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 146,223,025,000 บาท เพิ่มขึ้น 3,925,088,300 บาท