เปิดรายชื่อ ส.ว. ประกาศจุดยืน พร้อมโหวตพิธา นั่งนายกฯคนที่ 30 (อัพเดต)

โดย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

เปิดรายชื่อ ส.ว. ประกาศจุดยืน พร้อมโหวตพิธา พรรคก้าวไกล คว้าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ?

วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 หลังการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค. 2566 ชัยชนะเป็นของพรรคก้าวไกล คว้าใจเสียงประชาชนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยได้กวาดจำนวน ส.ส.จำนวน 152 ที่นั่ง ในชนิดที่ว่าไม่มีใครคาดคิด กลายเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลนำโดย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ยัดเยียดความปราชัยในการเลือกตั้งให้กับฝ่าย “ทักษิณ” เป็นครั้งแรกในรอบ 22 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย

แต่ตัวแปรสำคัญที่จะผลักดันให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกฯ จะไปถึงฝั่งฝันหรือไม่ในครั้งนี้จำเป็นจะต้องมีเสียงสนับสนุนถึง 376 เสียง ซึ่งตอนนี้ได้ 310 เสียง ยังขาดอีก 66 เสียง

โดย ส.ว.ก็ให้ความเห็นที่หลากหลาย แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย กลุ่มที่งดออกเสียง กลุ่มที่ไม่โหวตให้พิธาแน่นอน และกลุ่มที่ประกาศว่าจะโหวตให้พิธา ?

โหวตให้พิธา ตามเสียงข้างมาก ส.ส.

  1. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน
  2. นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์
  3. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
  4. นพ.อำพล จินดาวัฒนะ
  5. นายชากีย์ พิทักษ์คุมพล
  6. ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม
  7. ประภาศรี สุฉันทบุตร
  8. นายทรงเดช เสมอคำ
  9. นางสาวภัทรา วรามิตร
  10. นายวันชัย สอนศิริ
  11. นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์
  12. นายประมาณ สว่างญาติ
  13. นายรณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล
  14. นางประภาศรี สุฉันทุบุตร
  15. นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
  16. นพ.พลเดช ปิ่นประทีป
  17. พีระศักดิ์ พอจิต

ไม่โหวตให้พิธา

  1. นายเสรี สุวรรณภานนท์
  2. นายจเด็จ ชินสว่าง
  3. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ

ไม่ชัดเจน

  1. พญ.พรทิพย์ โรจนสุนันท์
  2. พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช

แนวโน้มงดออกเสียง

  1. พล.อ.สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม
  2. พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  3. พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก
  4. พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
  5. พล.อ.อ.อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
  6. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  7. พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา

เสียงไม่ถึง 376 อย่าหวังพึ่ง ส.ว.

นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน สมาชิกวุฒิสภา ชี้ว่า ส.ส.ไม่ถึง 376 เสียง อย่าหวังพึ่ง ส.ว. ร่วมโหวตนายกฯ รวบรวมเสียงให้ถึงจะง่ายกว่า

พรรคที่จะเป็นรัฐบาลต้องไปหาเสียงให้ได้ 376 เสียงเองก่อน อย่ามาหวังพึ่งเสียง ส.ว. โดยจะไปเอาพรรคภูมิใจไทยมาร่วมก็ได้แล้ว เพื่อ ส.ว.จะได้ปิดสวิตช์ ส.ว.ไปเลย เพราะถ้า ส.ว.มีการงดออกเสียงก็จะทำให้เสียงไม่ถึง 376 อยู่แล้ว ทั้งนี้ ยอมรับว่าปัจจัยของ ส.ว.ไม่ใช่เรื่องเสียงที่ได้รับจากประชาชนหรือเสียงข้างมากอย่างเดียว เพราะต้องดูว่าใครตั้ง ส.ว.ชุดนี้ และมีที่มาอย่างไร

นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน

“ส.ว.มีเสียงแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ มี ส.ว.อิสระไม่ถึง 20 คน เวลาลงมติจริงก็ไม่รู้จะอิสระหรือไม่ เช่น ยกตัวอย่างที่มีข้อเสนอให้ตัดอำนาจ ส.ว. มี 23 ส.ว.เห็นด้วย แต่กลุ่มนี้อาจงดออกเสียงในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี และจะเอา ส.ว. 23 คนมาบอกว่าโหวตตามเสียงข้างมากไม่ได้ ดังนั้น เขาต้องรวมเสียงให้ได้ 376 เสียง”

“ไม่เช่นนั้นก็ผ่านไม่ได้ และถ้ารัฐสภาเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรกไม่ได้ พรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องไปหาพรรคอื่นมารวมให้ได้ 376 เสียง เพื่อเลือกครั้งที่ 2 อีกครั้ง ซึ่ง ส.ว.ทุกคนมีอิสระ” นายเฉลิมชัยกล่าว

นายเฉลิมชัยกล่าวยืนยันว่า ส่วนตัวมีจุดยืนชัดเจนว่าฝ่ายใดรวบรวมเสียงข้างมากได้เกิน 250 เสียง จะโหวตให้ฝ่ายนั้นเป็นนายกรัฐมนตรี แม้จะเป็นคนของพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล ก็พร้อมโหวตให้ แต่กับ ส.ว.คนอื่น ๆ ไม่กล้าการันตีจะคิดแบบเดียวกันหรือไม่

แก้ 112 ไม่โหวตให้

นายจเด็จ อินสว่าง ส.ว. กล่าวถึงกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เรียกร้องให้ ส.ว.โหวตสนับสนุนคะแนนนายกรัฐมนตรีให้กับพรรคที่ชนะเลือกตั้งอันดับ 1 เพื่อให้ได้คะแนนเสียงถึง 376 คะแนน ว่า ส.ว.คงต้องรอดูก่อนว่าฝ่ายใดจะรวบรวมเสียงข้างมากได้เกิน 250 เสียง และจะเสนอชื่อใครเป็นนายกรัฐมนตรี จึงค่อยพิจารณาจะโหวตให้หรือไม่

นายจเด็จ อินสว่าง

แต่ถ้าเสียงข้างมากเสนอชื่อนายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนตัวจะไม่โหวตให้แน่นอน เพราะนายพิธามีจุดด้อยในเรื่องปัญหาทัศนคติการเมือง ที่จะยกเลิกมาตรา 112 ตนรับไม่ได้ เพราะปฏิญาณตนจะจงรักภักดี ถ้าเลือกนายพิธาไปก็ไม่รู้จะเสียของหรือไม่

“เป็นจุดยืนของผมเพียงคนเดียวไม่รู้ ส.ว.คนอื่น ๆ จะเห็นเหมือนผมหรือไม่” นายจเด็จกล่าว

นายจเด็จกล่าวต่อว่า หากมีการเสนอชื่อคนอื่น ๆ เป็นนายกรัฐมนตรี เช่น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย หรือคนอื่น ๆ เป็นนายกรัฐมนตรี จะรับได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณากันอีกทีว่า มีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไรบ้าง

ผบ.เหล่าทัพ งดโหวตเลือกนายกฯ วางตัวเป็นกลาง

การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ส.ว.โดยตำแหน่ง ของผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยมี พล.อ.สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) พล.อ.อ.อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) และ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)

ผบ.เหล่าทัพ

แม้ปัจจุบันยังอยู่ในช่วงการรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมือง ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการโหวตเลือกนายกฯ เพราะต้องผ่านกระบวนการอีกหลายขั้นตอน ทั้งเปิดสภา เลือกประธานสภา แต่ ผบ.เหล่าทัพ มีจุดยืนในเรื่องการทำหน้าที่ ส.ว. มาตั้งแต่ประกาศไม่รับเงินเดือนมาก่อนหน้านี้แล้ว

โดยจะงดออกเสียงในประเด็นทางการเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อครหาการวางตัวไม่เป็นกลางทางการเมือง ในฐานะที่กองทัพเป็นหน่วยงานรัฐ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์เดียวกันของ ผบ.เหล่าทัพ และยึดปฏิบัติถือเป็นแนวทางเดียวกัน

ก่อนหน้านี้ ผบ.เหล่าทัพ ก็งดออกเสียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2565 รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง สำหรับการโหวตเลือก นายกฯ ครั้งนี้ ไม่ว่าจะชื่อแคนดิแดตนายกฯ จะเป็นของพรรคการเมืองใดก็ตาม ผบ.เหล่าทัพ ก็งดออกเสียง

พรรคที่ได้เสียงอันดับ 1 อาจจะไม่ได้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง

วันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา เคยโพสต์เฟซบุ๊กเมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา มีเนื้อหาว่า “การโหวตให้กับใครหรือพรรคใดที่ได้เสียงข้างน้อยเป็นนายกฯจะก่อให้เกิดวิกฤตกับประเทศ ไม่เป็นผลดีกับฝ่ายใดเลย นี่คือความชัดเจน และแนวทางของการสร้างความปรองดอง ก้าวข้ามความขัดแย้งได้จริง” นายวันชัยระบุ

วันชัย สอนศิริ

จนกระทั่งหลังเลือกตั้ง 2566 นายวันชัย ได้แสดงความเห็นว่า “ผมก็ไม่แน่ใจว่าคนได้เสียงอันดับ 1 จะต้องเป็นรัฐบาลเสมอ ครั้งที่แล้วพรรคเพื่อไทยมีเสียงมาอันดับ 1 แต่ก็ต้องเป็นฝ่ายค้าน”

ล่าสุดก็ย้ำจุดยืนอีกครั้งว่า พรรคก้าวไกลต้องการให้ นายพิธา เป็นนายกฯ ก็ควรรวมเสียงให้ได้เกิน 376 เสียง ก็จะได้ไม่ต้องใช้เสียง ส.ว.

พร้อมโหวต พิธา เป็นนายก ?

น.ส.ภัทรา วรามิตร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ลำดับที่ 135 โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ประกาศจุดยืนกรณีลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมรัฐสภา ตามรายชื่อที่พรรคการเมืองซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.มากที่สุด เสนอต่อที่ประชุม โดยระบุว่า “ภัทรา วรามิตร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เคารพมติของประชาชน ขอประกาศจุดยืนสนับสนุน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี”

ส.ว. ภัทรา วรามิตร

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ลำดับที่ 174 ส่งจดหมายเปิดผนึก พร้อมหนุน พรรคก้าวไกล ได้เสียงอันดับ 1 และผู้ถูกเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคนั้น เป็นนายกรัฐมนตรี ตามฉันทามติมหาชน ที่ไปลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566

นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

สมศักดิ์ ช่วยเจรจา ส.ว. ยัน พิธา นายกฯ คนที่ 30

วานนี้ (17 พ.ค. 66) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกระแสข่าวนายสมศักดิ์จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเพื่อไทย แข่งกับพรรคก้าวไกลว่า ไม่เป็นความจริง โดยเป็นเฟกนิวส์ ซึ่งตนมองว่า ผู้ที่ปล่อยข่าว มีวัตถุประสงค์ไม่ดี ทั้งกับตนและบ้านเมือง เพราะขณะนี้ ตนได้ทำสิ่งตรงข้าม คือ จะทำอย่างไรให้มีการจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ โดยมีพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี

ซึ่งยืนยันว่า พรรคเพื่อไทยทั้งหมด มองเห็นทิศทางเดียวกัน ดังนั้น ตนไม่มีความคิดจะตั้งรัฐบาลเอง แม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว

นายสมศักดิ์กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้เห็นทิศทางของ ส.ว.เริ่มสนับสนุน พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมากแล้ว โดยมีประกาศผ่านสื่อมวลชนมาแล้ว จำนวน 5 คน คือ นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน และนายอำพน จินดาวัฒนะ ซึ่งได้มีโอกาสพูดคุยหารือกับ ส.ว.อีก 1 คน ที่เป็นคนสุโขทัย คือ นายทรงเดช เสมอคำ

โดยยืนยันว่า พร้อมที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองเสียงข้างมาก ก็คือ พรรคก้าวไกล ที่มีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นแคนดิเดตนายกฯ ทำให้มั่นใจว่า นายกฯคนที่ 30 คือ นายพิธา อย่างแน่นอน

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แ

เมื่อถามว่า ภาคสังคมมองว่า การมี ส.ว. คือ ตัวขัดขวางการตั้งรัฐบาล นายสมศักดิ์กล่าวว่า ยอมรับว่าเป็นปัญหา ที่ประชาชนเลือกพรรคการเมืองมา แต่ติด 250 ส.ว. ซึ่งก็พูดอะไรมากไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะเกิดบรรยากาศไม่ดี ดังนั้น เมื่อมีโอกาสเราก็ต้องรีบแก้รัฐธรรมนูญให้เร็วที่สุด แต่การจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ ตนคิดว่า คงไม่ได้ใช้บริการ ส.ว.ทั้งหมด โดยมองว่า 30 เสียงของ ส.ว. ก็น่าจะตั้งรัฐบาลได้แล้ว

“การรับรอง ส.ส. ผมคิดว่า กกต.น่าจะทำเร็ว เพื่อทดแทนสิ่งที่อาจจะผิดพลาดในการเลือกตั้ง ทำให้การตั้งรัฐบาล ก็สามารถทำได้เร็วตามไปด้วย โดยผมมองว่า อย่างช้าวันพรุ่งนี้ น่าจะมีแถลงการจัดตั้งรัฐบาล 2-5 พรรคการเมือง ซึ่งจะเป็นรัฐบาลที่ประชาชนต้องการ และคงต้องร่วมแรงร่วมใจกันช่วยเหลือประชาชน”

“รวมถึงทำให้ความขัดแย้งเป็นศูนย์ เพราะต้องทำเพื่อส่วนรวมจริง ๆ โดยผมรู้สึกดีใจ สิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นปรากฏการณ์ให้ประเทศเดินหน้า ตามที่สังคมต้องการ” นายสมศักดิ์กล่าว

การโหวตเลือกนายกฯคนที่ 30 ถือเป็นวาระสำคัญในการลงมติของ ส.ว. คาดว่าทั้ง 250 ส.ว.จะได้มีการพูดคุยหารือหยั่งท่าทีเบื้องต้นเป็นการภายใน ระหว่างการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ก่อนตัดสินใจลงมติครั้งสำคัญว่าจะเลือกใครเป็นนายกฯ