การปวดหัวไมเกรน คืออะไร By BTX Migraine Center

อาหารปวดหัวไมเกรน BTX Migraine Center

การปวดศีรษะไมเกรนนั้น เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะการปวดหัวข้างเดียวหรือปวดหัวทั้งสองข้างเป็นระยะเวลานาน ซึ่งในบางรายนั้นใช้ยาไมเกรนก็ไม่หาย ซึ่งส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยการปวดไมเกรนนั้น จะมีหลากหลายรูปแบบ วันนี้ทางศูนย์ BTX Migraine Center จะอธิบายให้รู้จักโรคไมเกรนมากขึ้น และอธิบายทำยังไงให้หายปวดไมเกรน

การปวดหัวไมเกรน คืออะไร By BTX Migraine Center

อาการปวดหัวไมเกรน คืออาการปวดหัวที่มักจะเกิดในวัยเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ มักจะแบ่งเป็น 4 อาการ ได้แก่

-ระยะอาการบอกเหตุ โดยระยะอาการบอกเหตุผู้ป่วยมักจะมีอาการดังนี้ มีภาวะซึมเศร้า มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ มีอาการตึง คอ บ่า และไหล่

-ระยะอาการเตือน เป็นระยะที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลางมักจะมาพร้อมกับการมองเห็นแสงกะพริบ การสูญเสียการมองชั่วขณะ หรือเรียกว่าไมเกรนขึ้นตา หรืออาจจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดในไม่กี่นาที

-ระยะปวดศีรษะ ระยะนี้จะเป็นระยะที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยไมเกรนจะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ปวดศีรษะแบบตุ๊บ ๆ มักแพ้แสง แพ้เสียง มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน

-ระยะหลังจากปวดศีรษะ ระยะที่หายจากปวดศีรษะเป็นระยะสุดท้ายของอาการไมเกรน ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนล้าและมีอารมณ์หงุดหงิดเวียนศีรษะ

อาการของไมเกรนจะแบ่งเป็น 5 อาการ

1 ปวดหัวตุ๊บ ๆ หรือปวดหัวข้างเดียว ในบางรายปวดหัวทั้งสองข้างร้าวที่กระบอกตาจนถึงท้ายทอย

2 คลื่นไส้อาเจียน

3 แพ้แสงแพ้เสียงบางครั้ง

4 ปวดไมเกรนมักสัมพันธ์กับรอบเดือน

5 เห็นแสงไฟสีขาว ๆ มีขอบยึกยัก

ซึ่งอาการปวดหัวไมเกรนไม่จำเป็นต้อง มีอาการปวดหัวอย่างเดียวเสมอไป

โดยอาการปวดหัวไมเกรนมักมีอาการปวดหัวเกิน 5 ครั้งตามองค์ประกอบ 3 ข้อดังนี้ ได้แก่

1 มีอาการปวดหัวต่อเนื่อง 4 ชั่วโมงถึง 3 วัน

2 มีอาการอย่างน้อย 2 ใน 4 ข้อดังกล่าว ปวดหัวข้างเดียวปวดหัวตุ๊บ ๆ ปวดหัวค่อนข้างมาก หรือปวดหัวจนทนไม่ไหว จะมีอาการปวดหัวร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการกลัวแสง หรืออาการกลัวเสียง

โดยผู้ป่วยไมแกรนจะมีการกระตุ้นจากภาวะปัจจัยต่าง ๆ เช่น

1 แสงไฟสว่าง

2 อาการร้อนเกินไป

3 ออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเกิดจากการนั่งท่าเดิม ๆ จึงกระตุ้นทำให้เกิดไมเกรนปวดร้าวกระบอกตา

4 อาหารที่กระตุ้นไมเกรนเช่นแอลกอฮอล์ ผงชูรส ชีส คาเฟอีน

5 ความเครียด เช่นการอดนอนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

6 ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งจะเป็นการกระตุ้นในฮอร์โมนเพศหญิง

โดยทั่วไปเกณฑ์มาจากมีสิ่งกระตุ้นที่แตกต่างกัน

หากอาการไมเกรนมีความรุนแรงมากขึ้นอาจจะต้องตรวจไมเกรนโดยแพทย์ระบบประสาทและสมอง หากอาการรุนแรงไม่มากก็สามารถที่จะทานยาไมเกรนได้ ซึ่งยาไมเกรนมีตั้งแต่ยาบรรเทาอาการปวด เช่น แอสไพรินไอบูโพรเฟน รวมถึงพาราเซตามอล

สำหรับยาที่ป้องกันการป่วยแบบเฉียบพลัน จะเป็นกลุ่มยาทริปแทนเป็นยารักษาไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งยากลุ่มนี้จะมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยไมเกรนที่มีโรคเลือดสมองและโรคหัวใจ เพราะว่าของไมเกรนแทรกซ้อนสามารถทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น ไมเกรนเรื้อรัง ไมเกรนที่ทำให้ภาวะสมองขาดเลือด

วิธีป้องกันไมแกรน

วิธีป้องกันไมเกรนที่ดีที่สุดก็คือ ควบคุมปัจจัยการกระตุ้นของการเกิดภาวะไมเกรน เช่น ลดอาหารที่กระตุ้นไมเกรน พักผ่อนให้เพียงพอ หรือลดยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนทดแทน

การวินิจฉัยว่าเป็นไมเกรนนั้น สามารถดูได้จากการตรวจไมเกรนโดยแพทย์เฉพาะทาง หรือการตรวจโดยเทคโนโลยีทางการแพทย์ อาทิ MRI หรือ CT Scan ปัจจุบันการรักษาไมเกรนจะมีตั้งแต่การรักษาด้วยตนเอง โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นออกกำลังกาย หรือทานวิตามินบางชนิด

วิธีที่ 2 เป็นวิธีการทานยาไมเกรน ซึ่งเมื่อทานยาเป็นระยะเวลานานอาจจะส่งผลต่อด้านกระเพาะอาหาร หรือภาวะมือดำเท้าดำ หรืออาจจะเกิดภาวะดื้อยา

วิธีที่ 3 เป็นกลุ่มรักษาโดยทางเลือกเช่น การนวดกดจุด การฝังเข็ม และวิธีโบท็อกรักษาไมเกรน ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายทั่วโลก และได้รับการยอมรับจาก USFDA องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งการฉีดโบท็อกไมเกรนได้รับการตรวจไมเกรนโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น

ผู้ที่เหมาะสมกับการฉีดโบท็อกไมเกรนจะเป็นกลุ่มที่ปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง ทานยาไมเกรนไม่หาย

วิธีการฉีดโบท็อกไมเกรนจะช่วยลดอาการปวดไมเกรน ลดความถี่ของไมเกรน และช่วยลดการทานยาซึ่งเป็นสาเหตุของการดื้อยา

หากผู้ป่วยคนไหนที่ยังไม่แน่ใจกับอาการปวดไมเกรน สามารถติดต่อที่ศูนย์ไมเกรน BTX Migraine Center หรือโทร. 09-0970-0447 ทางศูนย์ไมเกรนจะมีแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทและสมองตรวจไมเกรน ทุกวันพุธ พฤหัสบดี และเสาร์ เวลา 11.00-20.00 น.