ติดตามเส้นทางข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมืองตองยี เมียนมา CP มุ่งสู่ความยั่งยืน

คอนโทรล ยูเนี่ยน (Control Union) ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความยั่งยืนด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมจากประเทศเนเธอร์แลนด์เข้าตรวจประเมินความยั่งยืนฟาร์มข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (FSA-Farm Sustainability Assessment ) พร้อมกับการทวนสอบระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ห่วงโซ่อุปทานในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของซีพีในเมียนมา

คอนโทรล ยูเนี่ยนตั้งคำถามและตรวจเส้นทางเอกสารหลักฐานให้ตรงกับบิลสินค้า (chain of custody)ของผู้รวบรวมข้าวโพดจากเกษตรกร เพื่อนำข้อมูลไปประเมินความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
เอเย่น ผฺู้รวบรวมเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตอบคำถามทีมคอนโทรล ยูเนี่ยน

ตั้งแต่ปี 2563 ซีพี โดยเจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส หรือ CPP และกรุงเทพโปรดิ๊วส หรือ BKP ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์และผู้จัดหาวัตถุดิบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของซีพีในเมียนมา ได้คิกออฟนำทางวิถีเกษตรกรข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมียนมาสู่เส้นทางความยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจระบบตรวจสอบย้อนกลับและกระบวนการเพาะปลูกที่ยั่งยืนจะช่วยเพิ่มผลผลิตและหยุดวงจรเผาพื้นที่การเกษตร ในทุกพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในห่วงโซ่อุปทาน เป็นไปตามนโยบายของนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือซีพี ที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับ 100% ทั้งนี้ ซีพีได้พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่ปี 2560 และยังส่งเสริมการสร้างห่วงโซ่การผลิตอาหารที่ยั่งยืนเพื่อลดปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดน

เกษตรกร

เมื่อ 6 – 9 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา CP ได้พาสื่อมวลชนและนักวิชาการร่วมสังเกตการณ์กระบวนทวนสอบทั้งระบบตรวจสอบย้อนกลับและการเพาะปลูกยั่งยืนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในห่วงโซ่อุปทานของซีพีที่เมืองตองยี รัฐฉาน เพื่อตรวจสอบและยืนยันถึงความสอดคล้องในการปฏิบัติของผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เมียนมาว่า มาจากพื้นที่ที่ไม่ก่อให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าและไม่มีการเผาทำลาย ซึ่งดำเนินการทวนสอบโดย คอนโทรล ยูเนี่ยน ( Control Union) ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความยั่งยืนด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมจากประเทศเนเธอร์แลนด์เข้าตรวจประเมินความยั่งยืนฟาร์มข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (FSA-Farm Sustainability Assessment ) พร้อมกับการทวนสอบระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ห่วงโซ่อุปทานในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของซีพีในเมียนมา

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของ CPP

กระบวนการดังกล่าวได้เริ่มมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2567 โดยมี ดร. สดุดี สุพรรณไพ รองกรรมการผู้จัดการ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ (SGC) กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วยนายจักรภัทร์ หอเลิศสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านการจัดซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ เขตประเทศเมียนมา ร่วมให้ข้อมูลแก่คอนโทรลยูเนี่ยนในการตรวจประเมินและการทวนสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา

ตรวจสอบแปลงข้าวโพดของเกษตรกรที่นำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาขายให้นางคำหมุ่น เอเย่นผู้รวบรวมข้าวโพดให้ซีพี

นายจารุวัฒน์ บุญรอด ผู้จัดการด้านการรับรอง (Certification Manager) บริษัท คอนโทรล ยูเนี่ยน (Control Union) เปิดเผยว่า Control Union ซึ่งเป็นองค์กรอิสระหรือบุคคลภายนอกที่ได้เข้าตรวจประเมินความยั่งยืนของฟาร์ม (FSA) และทวนสอบระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในห่วงโซ่คุณค่าของ CP ที่ประเทศเมียนมา แบ่งกระบวนการเป็น 2 เฟส คือ การตรวจสอบในพื้นที่ (Onsite Visit) และการตรวจสอบเอกสาร (Document Review) เพื่อตรวจมาตรฐานการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มของเกษตรกรที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าของซีพี รวมถึงทวนสอบระบบตรวจสอบย้อนกลับ ทั้งนี้เพื่อพิสูจน์ถึงความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและการจัดซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งต้องสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่การปลูกจนถึงการขาย

ทั้งยังทำให้มั่นใจได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตออกมาได้ผ่านกระบวนการที่มีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด ช่วยให้การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีความยั่งยืนมากขึ้น โดยสนับสนุนแนวทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

Advertisment
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโกดังของเอเย่น

จากที่ได้ร่วมสังเกตการณ์ในครั้งนี้ สามารถสรุปพอสังเขปเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของ CP ในเมียนมา เริ่มจาก CPP ขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ใช้ปลูก (seed) ให้เกษตรกร  ซึ่งปีนี้นับเป็นปีแรกที่มีการตรวจประเมินความยั่งยืนของฟาร์ม หรือ FSA เป็นมาตรฐานเกษตรยั่งยืนใหม่ระดับโลก และในเมียนมาถือเป็นเรื่องใหม่ที่กำลังเริ่มทำ CP จึงมาช่วยสร้างนวัตกรรมและวางระบบการบริหารจัดการ ส่วน BKP เป็นผู้รับซื้อเมล็ดข้าวโพด (Grain) ป้อนโรงงานอาหารสัตว์ของ CP ในเมียนมา

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

“CPP ขายเมล็ดให้เกษตรกรปลูก เมื่อเกษตรกรปลูกได้ข้าวโพดที่เป็นอาหารสัตว์ จะส่งให้ BKP เพื่อป้อนโรงงานอาหารสัตว์ ฉะนั้นระบบตรวจสอบย้อนกลับ จะย้อนกลับมาได้ชัดเจน จากโรงงานอาหารสัตว์ กลับมา BKP กลับไป CPP ต่อด้วยเกษตรกรตามลำดับ ส่วนทาง BKP นอกจากรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จาก CPP แล้ว ยังมีการรับซื้อจากผู้รวบรวมในเมียนมาด้วย  ซึ่งในส่วนนี้ผู้ตรวจประเมินจะใช้วิธี Mass balance คือการทวนสอบการตรวจสอบย้อนกลับที่ควบคุมโดยปริมาณ ซึ่งจะย้อนกลับไปเป็นห่วงโซ่ จากโรงงานอาหารสัตว์ กลับมาที่ BKP กลับไปผู้รวบรวมต่อด้วยเกษตรตามลำดับเช่นเดียวกัน ” ดร.สดุดี สุพรรณไพ รองกรรมการผู้จัดการ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (SGC) กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าว

Advertisment

ตรวจสอบย้อนกลับของซีพี

ดร.สดุดี สุพรรณไพ รองกรรมการผู้จัดการ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า CPP มุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานสากลในฟาร์มของเกษตรกรที่ CPP ส่งเสริมในเมียนมา ด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร พร้อมทั้งจัดตั้งทีม Internal Audit เพื่อทวนสอบระบบตรวจสอบย้อนกลับและมาตรฐานการเกษตรยั่งยืน ก่อนที่จะมีบริษัท Third Party อย่าง คอนโทรลยูเนี่ยนที่เป็นกลางเข้ามาทวนสอบเพื่อให้การรับรองตามมาตรฐาน CPP บริษัทได้เริ่มดำเนินการพัฒนามาตรฐานการเกษตรในเมียนมาตั้งแต่ปี 2563 เชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรมาเข้ารับการอบรมและลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรตั้งแต่การเริ่มต้นเพาะปลูกข้าวโพดจนถึงการเก็บเกี่ยว

ทีมคอนโทรล ยูเนี่ยน ทีม CPP สอบถามเกษตรกรเพื่อนำข้อมูลไปประเมินประกอบการรับรองมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

ขณะที่ นายจักรภัทร์ หอเลิศสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านการจัดซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ เขตประเทศเมียนมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา BKP ได้นำระบบตรวจสอบย้อนกลับที่มีหลักการทำงานเช่นเดียวกันกับระบบตรวจสอบย้อนกลับในประเทศไทยมาใช้ แต่ถูกปรับให้เหมาะกับความพร้อมของเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเมียนมา ซึ่งพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมากระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ ทำให้พ่อค้าและผู้รวบรวมสินค้าเกษตรเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอย่างยิ่งในห่วงโซ่อุปทาน เพราะมีบทบาทตั้งแต่ การรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกร การปรับปรุงคุณภาพ ไปจนถึงการส่งมอบเข้าสู่โรงงานผลิตอาหารสัตว์

ไซโลเก็บเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เอเย่นนำมาส่งให้ BKP จากนั้น BKP นำไปส่งโรงงานอาหารสัตว์ 3 แห่งในเมียนมา

ทั้งนี้ พ่อค้าและเกษตรกรในเครือข่ายของซีพีต้องลงทะเบียนแสดงตัวตน  พร้อมระบุขนาดของพื้นที่และตำแหน่งที่ตั้งแปลง(พิกัดแปลง) ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระบบฯ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกร จากนั้นบริษัทฯ จะใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมในการติดตามการเพาะปลูก รวมถึงติดตามการเผาแปลงเทียบเคียงกับตำแหน่งของพื้นที่เพาะปลูกที่เกษตรกรได้ลงทะเบียนไว้ในระบบตรวจสอบย้อนกลับ ระบบตรวจสอบย้อนกลับช่วยให้บริษัททราบถึงข้อมูลสำคัญของเกษตรกร สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งปลูก รวมถึง วิธีการปลูก ตลอดจนติดตามการเผาแปลง ปัจจุบันมีเกษตรกรในประเทศเมียนมา กว่า 40,000 ราย ลงทะเบียนภายใต้ระบบฯ ดังกล่าว ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูก กว่า 750,000 ไร่

จักรภัทร์ หอเลิศสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฯ BKP

นอกจากนี้ ในการทวนสอบระบบตรวจสอบย้อนกลับของกรุงเทพโปรดิ๊วส ล่าสุดในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2567  Auditor ของ Control Union ได้เข้าทำการทวนสอบระบบถึงห้องปฏิบัติการตรวจสอบย้อนกลับในไทย ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่มีการใช้เทคโนโลยีและดาวเทียมเพื่อติดตามแปลงเกษตรของเกษตรกรทั้งหมดในระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าและการเผา โดยทำการสุ่มตัวอย่างใส่พิกัดแปลงปลูกของเกษตรในเมียนมา เพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บจากเกษตรกรในพื้นที่และข้อมูลจากการตรวจสอบของดาวเทียมมีความถูกต้อง ตรงกัน

เมียนมา มีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งประเทศในปีการเพาะปลูก 2023-2024 ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี รัฐฉานเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมา คิดเป็นผลผลิต ร้อยละ 80 ของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา รองลงมาคือเขตอิระวดี ขณะที่ในปี 2023-2024 CP รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพม่าที่ประมาณ 15% ของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา เพื่อป้อนโรงงานผลิตอาหารสัตว์ 3 โรง ในเมืองมัณฑะเลย์ ตองยี และ ย่างกุ้ง รวมถึงส่งออกมาไทย ทั้งนี้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในห่วงโซ่อุปทานของ CP อยู่ในพื้นที่เมืองตองยี มัณฑะเลย์ และ เนปิดอว์

นางคำหมุ่น เอเย่น ผู้รวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร

นางคำหมุ่น เอเย่นต์ผู้รวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หมู่บ้านปาลิลิน เมืองตองยี ประเทศเมียนมา ซึ่งมีเกษตรผู้ปลูกข้าวโพดในเครือข่ายประมาณ 400 – 500 ราย ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน มีเกษตรกรในระบบตรวจสอบย้อนกลับของ BKP จำนวนประมาณ 200 ราย ซึ่งจะต้องลงทะเบียนประวัติและระบุตำแหน่งแปลงเกษตร

เอเย่นอีกรายพาชมโกดังเก็บข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่รวบรวมจากเกษตรกร

ขณะที่ นาย อู คุน ซอ ลู และ นาย อู ทุน ยี เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในเมืองตองยี รัฐฉาน เมียนมา ที่ต่างก็ยึดอาชีพปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา มามากกว่า 10 ปี  ได้สะท้อนถึงการทำเกษตรแบบดั้งเดิมในเมียนมาและการเปลี่ยนแปลงในการทำการเกษตรวิถียั่งยืน หลังจาก CP เข้ามาอบรมให้ความรู้  โดย นาย อู ทุน ยี กล่าวว่า ยึดอาชีพปลูกข้าวโพด และทำนาเป็นหลัก โดยข้าวปลูกไว้เพื่อบริโภค ส่วนข้าวโพดนับเป็นพืชสร้างรายได้ไว้สำหรับเลี้ยงดูครอบครัว เพราะมีรายได้ดี แต่ไม่เคยใช้วิธีการเผาเพื่อเตรียมแปลงปลูก เพราะในพื้นที่มีฝูงวัวหลายฝูง จึงปล่อยให้เดินกินซากข้าวโพด

อู คุน ซอ ลู เกษตรกรปลูกข้าวโพดของ CPP

นาย อู คุน ซอ ลู กล่าวว่า ในอดีตหลังการเก็บเกี่ยวจะใช้วิธีตัดต้นข้าวโพดเเล้วเผา แต่หลังจากที่ซีพีเข้ามาอบรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และชี้ให้เห็นข้อเสียจากการเผาจึงหันมาใช้วิธีไถกลบแทน และมีการปลูกพืชผักชนิดอื่นสลับ เช่น กระเทียม ส่วนซังข้าวโพดจะนำไปเป็นเชื้อเพลิงใช้ในครัวเรือน

ศักยภาพเมียนมา

ดร.สดุดี เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจ CPP สำหรับธุรกิจในอาเซียน ส่งเสริมเกษตรกรต้นน้ำปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่ว ซึ่งคือพืชโปรตีน โดยหลักลงทุนในไทย อินเดีย เวียดนาม แต่สำหรับเมียนมาทำมา 10 ปีด้วยศักยภาพพื้นที่เพาะปลูก ไม่น้อยกว่าไทย กินข้าวสูสี เคยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่

ดร.สดุดี สุพรรณไพ หัวหน้าด้านเกษตรยั่งยืน CPP ของเครือซีพี ในเมียนมา

พื้นที่โซนเขตเหนือทั้งหมดเป็นพื้นที่ศักยภาพข้าวโพดของโลก ในเชิงพื้นที่มีขนาดใหญ่ สำหรับผลิตพืชผลทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ เมียนมาเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถรวมแปลงใหญ่ได้ ๆ 1,000 ไร่ขึ้นไป เมื่อเล็งเห็นเมียนมามีศักยภาพที่จะทำการเกษตรต้นน้ำได้ ด้วยปัจจัยทั้งหมดทำให้ CPP ลงทุนในเมียนมา ซึ่งทำให้เชิงการส่งเสริมมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยทำควบคู่กับ CPF ธุรกิจอาหารสัตว์หรือธุรกิจข้าวของ CPI

เมืองตองยีจากมุมสูง ตัวเมืองตั้งอยู่ยนเนินเขาสูง

ความสำคัญของธุรกิจต้นน้ำเป็นธุรกิจที่สนับสนุนปัจจัยวัตถุดิบที่จะส่งให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ ผนวกกับศักยภาพการเพาะพันธุ์ข้าวโพดอยู่ในลำดับต้น ๆ ทำให้มีแนวคิดที่จะมาพัฒนาธุรกิจในเมียนมา โดยเริ่มแรกที่มาที่นี่ เปิดด้วยการทำธุรกิจจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ขยายเป็นธุรกิจครบวงจร ส่งเสริมเกษตรครบวงจร

ดร.สดุดี เล่าว่า ตนดูแลเป้าเรื่องความยั่งยืน นอกจากเป้าของธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องมีการเติบโต สร้างกำไร มีรายได้ มีส่วนสนับสนุน เมื่อไปทำธุรกิจที่ประเทศไหนก็ตาม ก็ต้องทำเรื่องความยั่งยืน ซึ่งมี 15 เป้าหมายครอบคลุมทั้งประเด็นเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมจะต้องดูแลปกป้องสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการทำธุรกิจ ถือเป็น KPI ระดับท็อปเมเนจเมนต์ของ CPP ดังนั้น เวลาทำธุรกิจ ต้องมีการตรวจประเมินทั้งตรวจประเมินภายในและภายนอกเข้ามาทวนสอบกระบวนการของซีพี

มาตรฐานดูเรื่องการบริหารความยั่งยืนของภาคเกษตร และ มาตรฐานการทวนสอบย้อนกลับเรื่องการเกษตร (Traceability) ยกระดับการทำตามมาตรฐานเกษตรกรยั่งยืนตั้งแต่ผู้ที่ทำคือเกษตรกร เอเย่นต์ คนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่รวมถึงแรงงาน หรือ ผลิตผลทางการเกษตรที่ออกมา จะต้องไม่มีการทำลายสิ่งแวดล้อม และต้องทวนสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่ เป็นกระบวนการที่นอกจากเราทำได้ดี ก็ต้องมีคนอื่นมาช่วยกันตรวจสอบ ซึ่งก็อาศัย third party หรือบุคคลภายนอกที่เป็นกลางให้มาช่วยทวนสอบกระบวนการของซีพีว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้ปรับปรุงแก้ไขได้ถูกต้อง

ขณะนี้ผลตรวจประเมินเบื้องต้นมีแล้ว และจะมีรายงานทางการที่ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือ ออดิเทอร์ ( Auditor) ตรวจใช้เวลาสองอาทิตย์นับจากวันที่ 5-9 สิงหาคมที่ผ่านมา รายงานนำเสนอภาพรวมและมีกระบวนการที่จะปรับปรุงแก้ไข ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ FSA เกณฑ์ประเมินผลแบบเกรดดิ้ง ผลลัพธ์คือใบรับรอง เปรียบเหมือนเหรียญทองโอลิมปิก ได้แก่ ทอง เงิน ทองแดง ซึ่งแสดงว่า CP ได้ระดับของ FSA ที่เป็นเกษตรยั่งยืนในระดับไหน ส่วนการตรวจสอบย้อนกลับ ได้ผลลัพธ์ออกมาในรูปของแถลงการณ์ เรียกว่า Modify statement อธิบายว่า ซีพีทวนสอบได้ถึงระดับไหน และควรจะปรับปรุงในกระบวนการทวนสอบอย่างไรบ้าง

ภายในตัวเมืองตองยี
ภาพมุมสูงแสดงตัวเมืองตองยี

ข้อจำกัดเมียนมา อย่างแรกคือการสื่อสาร เมียนมามีประชาชนที่มีเชื้อสายต่างกันจำนวนมาก และในภาคเกษตรเองมีความหลากหลาย เกณฑ์เกษตรยั่งยืนมีรายละเอียดมากที่ CPP ต้องสื่อสารให้เกษตรกรเข้าใจ เรามีการทำเป็นภาษาเมียนมาก็จริง แต่ยังมีชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่เขามีภาษาท้องถิ่นที่เขาสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่า อย่างที่สอง คือ เครื่องมือที่จะอบรมและทำความเข้าใจเกษตรกร ซึ่งจากประสบการณ์จากครั้งที่แล้ว พบว่าเราอบรม สร้างความเข้าใจ แต่บางทีเกษตรกรยังทำผิดอยู่ บางเรื่องเกษตรกรยังไม่เข้าใจ คิดว่าครั้งหน้าที่จะเน้นทำในปีหน้า คือเน้นเรื่องการปฏิบัติมากขึ้น อาทิ เช่น การทวนสอบ การใส่ปุ๋ยต่าง ๆ บางทีสื่อสารทางเดียว เราไม่รู้เขาเข้าใจมากน้อยขนาดไหน จึงต้องมีการปฏิบัติร่วมด้วย

สาม การเข้าถึงพื้นที่ เนื่องจากมีประเด็นปัญหาทางการเมืองอยู่ ดังนั้นบางพื้นที่เข้าไปสื่อสารกับเกษตรกรทางตรงไม่ได้ ทำให้ต้องผ่านเอเย่นต์ เป็นอีกประเด็นที่ต้องเชื่อมโยงจากเอเย่นต์เข้าไปให้เกษตรกรให้ได้ ซึ่งวันนี้ ของเรายืนยันได้ว่า ทวนสอบได้ถึงเอเย่นต์แน่ ๆ และขอบเขตของเอเย่นต์ถึงเกษตรกรก็ยังเป็นช่องว่างอยู่ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่ม เพราะเอเย่นต์ CPP มีหลากหลายและเอเย่นต์บางส่วนก็ยังไม่มีฐานข้อมูลเกษตรกรในบางพื้นที่

อย่างไรก็ตามเกษตรกรมีความเข้าใจเรื่องเผาและไม่เผาพอสมควร และเข้าใจด้วยว่าการเผาทำลายหน้าดินทำให้หน้าดินเสียหาย ซึ่งคนที่ทำเกษตร และอยู่กับพื้นที่ตลอดไปและเขารักที่ดินเขา อยากให้ผลผลิตมากขึ้น เขาไม่คิดทำลายที่ดินตัวเอง แล้วยิ่งเราให้ความรู้ว่า การใส่ปุ๋ยที่ดี การไถให้น้อยลงจะทำให้ที่ดินมีอินทรีย์วัตถุมากขึ้น เขาก็ปฏิบัติตาม

เกษตรกรชาวเมียนมาเป็นคนที่เปิดรับมาก เขาสนใจเรามาก เขาปฏิบัติตาม เขาทดสอบ บางทีเขาอาจยังไม่เชื่อในบางครั้ง เขาก็จะแบ่งแปลงทดสอบแข่งกันเลยว่าเป็นยังไง เราเองมีแปลงวิจัยเป็นเมกะฟาร์ม เราทดสอบให้เกษตรกรเห็นแล้ว เพื่อเปรียบเทียบ เผาแล้วเป็นยังไง ไม่เผาเป็นยังไง สอง ผลผลิตดีขึ้นหรือไม่ เมื่อเห็นภาพ เขาจะลดการเผา

ดังนั้น เกษตรกรที่อยู่กับเรา 100 เปอร์เซ็นต์ไม่มีการเผาแน่ ๆ ถามว่า ตรวจสอบยังไง เรามีระบบทวนสอบที่แปลง แล้วใช้ดาวเทียม คุมฮอตสปอตหรือจุดความร้อน ปีที่แล้วมีสามแปลงที่มีประเด็นพบจุดความร้อน ปีนี้เหมือนกันจะติดตามข้อมูลลักษณะนี้และใช้จีไอเอส (GIS) ซึ่งคือแผนที่แสดงเครือข่ายข้อมูลฐานสารสนเทศภูมิศาสตร์ ฐานข้อมูลเกษตรกร เพื่อควบคุมกระบวนการ ส่วนเอเย่นจะกันเป็นพื้นที่ขอบเขตการขายของเอเย่นต์ แล้วเอามาซ้อนทับกับตัวฐานข้อมูลฮอตสปอต หลังจากซ้อนทับแล้ว หากพื้นที่ใดที่เอเย่นต์มีพื้นที่ฮอตสปอตสูง หรือเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เราจะงดการขายเมล็ดพันธุ์ทันทีในเขตนั้น และให้ทีมขายควบคุมอยู่

เมื่อถามว่า เมื่อพบจุดความร้อนแล้ว เราจะให้หยุดการเผาเลยทันทีได้หรือไม่ ดร.สดุดีกล่าวตอบว่า ไม่ได้ เพราะการเข้าพื้นที่ลำบาก และไม่ได้มีคนเข้าไปยืนยันหรือหยุดเขาได้ในขณะนั้น เพราะข้อมูลฮอตสปอตเองล่าช้าราว 7 วัน ไม่ได้เรียลไทม์ทันที มีรายงานทุกวัน แต่เป็นการสรุปข้อมูลเจ็ดวันที่ผ่านมา

ยอดขายเมล็ดพันธุ์ลด ผลจากสงคราม

เมล็ดพันธุ์ CPP ลดอัตราการขายลงจากผลของสถานการณ์สู้รบภายในประเทศ ตอนนี้น่าจะขายอยู่ราว 60 เปอร์เซนต์ของส่วนแบ่งตลาดทั้งหมด คาดว่าปีนี้ส่วนแบ่ง CP จะลดลงจากยอดขายเดิม เหตุจากสงคราม เนื่องจากสถานการณ์พื้นที่สู้รบในรัฐฉานเหนือ ที่มีเมืองเอกคือล่าเสี้ยวและฉานตะวันออก ซึ่งมีราโช เป็นเมืองเอก ยอดขายเมล็ดข้าวโพดที่ลดลงมาจากการปลูก เพราะเกษตรกรกลัวภาวะสงคราม การเข้าพื้นที่อาจจะมีอันตราย  พวกขาไม่มั่นใจว่าจะสามารถเข้าไปเก็บเกี่ยวได้หรือไม่หากทำการเพาะปลูก  ปีที่แล้วสถานการณ์ค่อนข้างหนักช่วงเก็บเกี่ยวพอดีทำให้เกษตรกรเข้าไปเก็บเกี่ยวไม่ได้ ห่วงในการลงทุนพื้นที่ ทำให้ยอดขายลดลง เพราะกลัวความเสี่ยง และแทบจะเข้าพื้นที่ไม่ได้

ภาพอนาคต ต่อให้ประเทศนี้จะมีอุปสรรคมากมายก็ตาม ถือว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่ น้ำดี ดินดี คนที่มีศักยภาพ เกษตรกรมีความสามารถหลายคน เครือซีพีมีโอกาสสนับสนุนให้บริษัทนี้มีการเติบโตมากขึ้นทั้งในภาคเกษตร

“ยิ่งเขามีอุปสรรคแล้วเราไม่ทิ้งเขา จะทำให้เขาจะผูกพันกับเรา เป็นความเชื่อของผู้บริหารเรา สังเกตว่า เราพยายามช่วย เรายังทำธุรกิจอยู่ เมื่อมีอุปสรรคก็ยังช่วยอยู่ หากผ่านอุปสรรคตรงนี้ไปได้ ผมว่าธุรกิจของเครือมีความเข้มแข็งขึ้นพร้อมกับประเทศเมียนมาไปด้วยกัน” ดร.สดุดีกล่าว

ห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงยั่งยืน ห้วงการแข่งขันเชิงภูมิรัฐศาสตร์

ดร.สดุดี กล่าวตอบว่า เป็นประโยชน์ที่ได้พ่วงมาด้วย ถ้ายกระดับเกษตรยั่งยืนได้ทั้งห่วงโซ่อุปทานและการเข้ามามีส่วนร่วมได้ทั้งห่วงโซ่อุปทานและทำให้ห่วงโซ่เชื่อใจ CPP ก็มีความมั่นคงทางผลิตภัณฑ์ ( Product Security) ที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิตเราด้วย เมื่อเราทำต้นน้ำ หากทำกลางน้ำอย่างเดียวก็มีความเสี่ยง แต่ถ้าทำต้นน้ำได้เข้มแข็งและต้นน้ำนั้นยั่งยืน จะเป็นความปลอดภัยทั้งตัววัตถุดิบที่จะเข้าโรงงาน ซึ่งจะเป็นส่วนเสริมขึ้นมา หากทำกระบวนการเกษตรยั่งยืนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทำให้เกษตรมั่นใจ เชื่อใจ ว่าเราไม่โกงเขา มั่นใจว่าเราทำทุกอย่างถูกต้อง ให้เขามีผลิตภาพที่ดีขึ้น คุณภาพชีวิตรายได้ดีขึ้น จะทำให้เขาส่งผลิตภัณฑ์ให้เราด้วยความสบายใจ คือห่วงโซ่อุปทานยั่งยืน คือในท้ายที่สุดคือ เป้าหมายด้านความยั่งยืนของเรา

ทีม BKP ,CPP ถ่ายรูปร่วมกับเกษตรกรและคอนโทรล ยูเนี่ยน หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจประเมิน เมื่อ 8 สิงหาคม 2567

ซีพียังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนในเมียนมาและทั่วโลก โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและสร้างความยั่งยืนในทุกขั้นตอนการผลิต สอดคล้องกับเป้าหมายยูเอ็น จะจับคู่กับเป้าหมาย 17 ข้อของทาง UN กิจกรรมทั้งหมดเป็นรายงานผลลัพธ์ของประเทศ ทั้งที่ภาครัฐและเอกชน