พบฟอสซิล สัตว์ขาปล้อง สุดโบราณ อาศัยใต้ท้องทะเลจีน 500 ล้านปีก่อน

สัตว์ขาปล้อง

เปิดงานวิจัย ทีมจีนจับมือสหรัฐ พบฟอสซิลสัตว์โบราณใต้ท้องทะเล เคยมีชีวิตย้อนกลับไป 500 ปีก่อน สภาพสมบูรณ์มาก ทั้งแขนขา ดวงตา

วันที่ 29 เมษายน 2565 สำนักข่าว ซินหัว รายงานว่า  คณะนักบรรพชีวินวิทยาของจีนและสหรัฐอเมริกา เผยแพร่การขุดพบกลุ่มฟอสซิลสัตว์ทะเลโบราณที่มีความเก่าแก่ราว 504 ล้านปี ในเมืองหลินอี๋ มณฑลซานตงทางตะวันออกของจีน จึงตั้งชื่อกลุ่มฟอสซิลนี้ว่า “หลินอี๋ ลาเกอร์สแตท” (Linyi Lagerstatte) 

จ้าวฟางเฉิน นักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน กล่าวว่ากลุ่มฟอสซิล หลินอี๋ ลาเกอร์สแตท ประกอบด้วยสัตว์สูญพันธุ์มากกว่า 35 ชนิด ที่อาศัยอยู่บนพื้นมหาสมุทร โดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขาปล้อง

ADVERTISMENT
สัตว์ขาปล้อง
Representative fossils from the Linyi Lagerstätte. (Image by NIGPAS)

จ้าว ผู้นำการวิจัย ระบุว่ายังพบสิ่งมีชีวิตคล้ายฟองน้ำและที่มีรูปร่างคล้ายหนอนอีกหลายชนิดในกลุ่มฟอสซิลดังกล่าว

หลินอี๋ ลาเกอร์สแตท มีความโดดเด่นจากสภาพสมบูรณ์ของแขนขา ดวงตา และอวัยวะภายในของสัตว์ขาปล้อง ซึ่งช่วยให้ข้อมูลทางกายวิภาคใหม่ๆ เกี่ยวกับวิวัฒนาการช่วงต้น

ภาพจำลองสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลสมัยโบราณ แถบเหมียวหลิงเจียน ทะเลจีนเหนือ อาศัยข้อมูลจากกลุ่มฟอสซิล Linyi Lagerstätte. (Image by YANG Dinghua)

กลุ่มสัตว์ที่พบในฟอสซิลนี้เชื่อว่าถือกำเนิดขึ้นบนโลก ทันทีหลังเกิดปรากฏการณ์แคมเบรียน เอ็กซ์โพลชัน (Cambrian explosion) ซึ่งเป็นยุควิวัฒนาการสำคัญที่นำไปสู่การกำเนิดของบรรพบุรุษสิ่งมีชีวิตสมัยใหม่มากมาย ปรากฏการณ์นี้พบเป็นส่วนใหญ่ที่จีนทางใต้ และพื้นที่ลอเรนเทีย หรืออเมริกาเหนือในปัจจุบัน

ADVERTISMENT
สัตว์ขาปล้อง
ตัวอย่างฟอสซิลจาก Linyi Lagerstätte. (Image by NIGPAS)

จ้าวกล่าวว่าสายพันธุ์สัตว์ทางทะเลหลายประเภทที่พบในหลินอี๋ ลาเกอร์สแตท ไม่เพียงให้ข้อมูลสิ่งมีชีวิตในยุคดังกล่าว แต่ยังเป็นหลักฐานสำคัญที่นำไปสู่ความแตกต่างเชิงสัณฐานวิทยา โครงสร้างการอยู่ร่วมกัน และการกระจายพันธุ์ทางบรรพชีวินวิทยาของสัตว์ทะเลหลังปรากฏการณ์แคมเบรียน เอ็กซ์โพลชัน

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ทางออนไลน์ในวารสารเนชันแนล ไซเอนซ์ รีวิว (National Science Review) เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2022

ADVERTISMENT