“2 กูรูเศรษฐกิจ” ชี้ไวรัสอู่ฮั่นกระทบท่องเที่ยวไทยระยะสั้น จ่อบูม “ไทยเทียวไทย” หนุน

ปณิธาน วัฒนายากร-กลินท์ สารสิน

2 กูรูเศรษฐกิจ “กลินท์ สารสิน-ปณิธาน วัฒนายากร” ประสานเสียงไวรัสอู่ฮั่นกระทบท่องเที่ยวไทยระยะสั้น เตรียมบูม “ไทยเที่ยวไทย” กวาดรายได้ทดแทนนักท่องเทียวต่าชาติหาย มั่นใจครึ่งปีหลังกระแสพลิกฟื้น ด้าน ผอ.ทีดีอาร์ไอ คาดไวรัสอู่อั่น-งบประมาณล่าสุดทุบ GDP ต่ำ 2.8%

จากเวทีสัมนาหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 9 สถาบันอิศราฯ ได้จัดการสัมมนาสาธารณะหัวข้อ “How toรอด…รอดอย่างไรในสถานการณ์เศรษฐกิจร้อน การเมืองแรง” เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 6 อาคารปฏิบัติการวิทยุโทรทัศน์ บจม. อสมท เพื่อนำเสนอมุมมองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเมือง ภายใต้ปัจจัยความเสี่ยงรอบด้านทั้งในและต่างประเทศ

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทย กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ในวันที่ 5 กุมภาพนธ์นี้ จะมีการทบทวนประมาณการณ์ตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจไทย (GDP) สำหรับปี 2563 ใหม่อีกครั้ง โดยคาดว่าน่าจะเติบโตต่ำกว่า 3%  แต่เชื่อว่าจะไม่ต่ำกว่า 2.5% จากที่ก่อนหน้านี้ กกร. ได้ประมาณการอัตราการขยายตัวที่ระดับ 2.5-3.0% เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องงบประมาณรายจ่ายปี 2563 ล่าช้า และการระบาดของไวรัสโคโรนา (ไวรัสอู่ฮั่น) จากประเทศจีนเข้ามาเป็นปัจจัยลบและเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจปรับลดลง

โดยเฉพาะประเด็นการระบาดของไวรัสโคโรนาที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของภาคธุรกิจท่องเที่ยวในระยะเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของเชื้อโรค เนื่องจากกระแสดังกล่าวทำให้นักท่องเที่ยวมีความรู้สึกว่าการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงนี้ไม่มีความปลอดภัย แต่เชื่อว่าหากทุกภาคส่วนสามารถบริหารจัดการได้จะทำให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติได้ และเชื่อว่าจำนวนท่องเที่ยวจีนในปีนี้จะยังมีจำนวนไม่ต่ำกว่าปี 2562 ที่ผ่านมา

ขณะที่รัฐบาลไทยก็มีแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือไทยเที่ยวไทยให้เข้มข้นขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางที่ได้วางไว้แต่ช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมาว่าให้ทุกกระทรวงให้การสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โดยให้มีการจัดประชุมสัมนาให้มากขึ้น ทำให้เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นรายได้รวมของการท่องเที่ยวภายในประเทศให้มีรายได้ขึ้นมาทดแทนตลาดจีนที่คาดว่าจะหายไปได้

นายกลินท์กล่าวด้วยว่า ขณะนี้รัฐได้พยายามเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการของชุมชุมให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้ชุดมชนยังคงมีรายได้ โดยได้ดำเนินงานภายใต้แคมเปญ “ไทยช่วยไทยคือไทยเท่” ซึ่งจะเริ่มเห็นภาพชัดเจนขึ้นเรื่อยๆนับจากนี้เป็นต้นไป ขณะเดียวกันยังได้พยายามแก้ไขปัญหาเรื่อง PM 2.5 ควบคู่กันไปด้วย

สอดคล้องกับ รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวว่ารัฐบาลมีกระบวนการและขั้นตอนรับมือกระแสการแพร่ระบาดของเชื้วัสโคโรนาอย่างเป็นระบบอยู่แล้ว และมั่นว่าจะสามารถควบคุมได้ ซึ่งแน่นนอนว่ากระแสดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมได้ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศไทยเชื่อมโยงจีนค่อนข้างมาก ซึ่งขณะนี้หน่วยงานภาครัฐอยู่ระหว่างการประเมิน

“คาดว่าใสนสัปดาห์หน้ารัฐบาลน่าจะตั้งรับสถานการณ์ได้ดีขึ้น และจะเห็นแนวทางในการทำงานและลดความตระหนกได้มากขึ้น” รศ.ดร.ปณิธานกล่าว และว่า หากสถานการณ์ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนก็น่าจะไม่กระทบมากนัก แต่หากลากยาวไปถึง 6 เดือนธุรกิจในภาพรวมในช่วงครึ่งปีแรกกระทบหนักแน่นอน เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจไทยมูลค่าค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทุกอย่างจะกลับมาดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

ด้าน ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะเติบโตต่ำกว่า 2%  จากคาดการณ์เดิมมองว่าปีนี้จะเติบโตได้ในระดับ 2.8% โดยัจจัยหลักมาจากผลกระทบจากไวรัสโคโรนาที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง และงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่ล่าช้า กว่าจะเบิกจ่ายได้น่าจะเดือนมิถุนายนร 2563 รวมถึงปัญหาภัยแล้ง

ทั้งนี้ คาดว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา  อาจจะส่งผลกระทบให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลง 2 ล้านคน  และส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ ปรับลดลง 8 แสนคน เฉพาะผลกระทบจากการท่องเที่ยวจะทำให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ลดลงเหลือ 2%  เมื่อรวมผลกระทบจากภัยแล้ง งบประมาณล่าช้า จึงมีโอกาสที่จะต่ำกว่า 2%

“ผลกระทบไวรัสโคโรนา เป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่น เพราะไม่ได้กระทบเฉพาะการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับห่วงโซ่การผลิต เพราะชิ้นส่วนบางอย่างที่นำเข้าจากจีนต้องหยุดชะงัก” ดร.กิริฎากล่าว