
สำนักข่าวไต้หวัน รายงาน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ได้รับแรงกระตุ้นการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) จากการที่บรรดาบริษัทต่างๆ เลือกเป็นพื้นที่ฐานการผลิตและการลงทุน ภายหลังเกิดข้อจำกัดมาตรการทางภาษี ซึ่งเป็นผลจากเทรดวอร์ระหว่างสหรัฐและจีน
รายงานจากบลูมเบิร์ก ระบุว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายมาเป็นตัวเลือกใหม่ของบรรดาบริษัทที่ต้องการย้ายฐานการผลิต เพื่อหลีกเลี่ยงกำภาษีนำเข้าสินค้าที่ผลิตในจีนไปยังสหรัฐ ซึ่งเป็นผลมาจากเทรดวอร์ระหว่างสหรัฐกับจีนที่ยังยืดเยื้ออยู่
- พายุลูกใหม่จ่อเข้าไทย ชี้ความรุนแรงเท่า “เตี้ยนหมู่” ระวังน้ำท่วมใหญ่
- นายกฯตั้งบอร์ดใหญ่คุมแจกเงิน 10,000 บาท ห้าง-โมเดิร์นเทรดรับอานิสงส์
- กรมอุตุฯเตือน “พายุดีเปรสชั่น” เข้าไทย รับมือฝนตกหนัก-ท่วมฉับพลัน
ผลการสำรวจระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึง 5 กันยายน พบว่า 1 ใน 3 ของบริษัทสัญชาติอเมริกันกว่า 430 แห่งที่ตั้งอยู่จีนกำลังมองหาฐานการผลิตแห่งใหม่ในต่างประเทศ เนื่องจากปัจจัยเทรดวอร์ดังกล่าว
“Trinh Nguyen” นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่ง Natixis Asia กล่าวว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่กำลังเติบโตและเป็นพื้นที่ในอุดมคติของบรรดานักลงทุน เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่ำ มีการเปิดเสรีการค้าและจัดอยู่ในภูมิศาสตร์การเมืองที่มีความเสี่ยงต่ำ

การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติกำลังขยายตัวในเวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการไหลเข้าของการผลิต ข้อมูลการลงทุนจากต่างชาติในเวียดนามแสดงให้เห็นว่า มีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติเข้าในประเทศประมาณ 1.125 หมื่นล้านดอลลาร์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม ปีนี้ สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 9.2
ขณะที่เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทยขยายตัวเพิ่มร้อยละ 53 จากปีก่อน เป็น 7.6 พันล้านดอลลาร์ ส่วนฟิลิปปินส์ มีการขยายตัวจาก 144 ล้านดอลลาร์มาเป็น 861 ล้านดอลลาร์ในปีนี้
ความรุนแรงของสงครามการค้านี้ยังส่งผลกระทบต่อบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในไต้หวันให้เลือกย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน
อ่านเพิ่ม
เทรดวอร์ดันสต๊อกยางจีนพุ่ง ศรีตรังปรับแผนเพิ่มกำลังผลิตถุงมือยาง
“เทรดวอร์” ปะทุ สหรัฐ-จีน ตอบโต้รุนแรง ฉุดหุ้นไทยร่วงหนัก 40 จุด นลท.หวั่นเทขายลดความเสี่ยง