
วันที่ 17 เมษายน 2563 สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ทำเนียบประธานาธิบดีเมียนมาประกาศอภัยโทษให้แก่นักโทษ เกือบ 25,000 คน หรือกว่า 1 ใน 4 ของนักโทษ ที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำทั่วประเทศ ท่ามกลางความกังวลว่านักโทษที่แออัดกันอยู่ในเรือนจำ จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19
แถลงการณ์ ระบุว่า เนื่องในวันปีใหม่ของเมียนมา ด้วยความเคารพในหลักมนุษยธรรมและจิตใจของประชาชน ประธานาธิบดีจะอภัยโทษให้แก่นักโทษ จำนวน 24,896 คน ในเรือนจำต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่นักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิต
- พระราชินี เสด็จฯ ส่วนพระองค์ ทรงร่วมวิ่ง CIB RUN 2023 ระยะทาง 10 กิโลเมตร
- พระราชินี ทรงนำทีมแข่งขันเรือใบนานาชาติ เข้าเส้นชัยอันดับ 1
- เปิดตัว “คอร์ทยาร์ด บาย แมริออท กรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ” ห่างสนามบิน 10 นาที
ทั้งนี้ การอภัยโทษให้แก่นักโทษ เป็นธรรมเนียมที่รัฐบาลเมียนมาปฏิบัติเป็นประจำทุกปี ในวาระวันปีใหม่ของชาวเมียนมา ที่ตรงกับเดือนเมษายน แต่ครั้งนี้นับเป็นการอภัยโทษครั้งใหญ่ที่สุดของเมียนมา ในรอบหลายปีที่ผ่านมา
มีรายงานว่า ในบรรดานักโทษที่ได้รับการอภัยโทษ มีนักโทษต่างชาติ รวมถึงคนไทย จำนวน 87 คน ซึ่งหลังจากปล่อยตัวแล้วจะถูกส่งกลับประเทศ
ที่เรือนจำอินเส่ง เมืองย่างกุ้ง มีบรรดาญาติพี่น้องและครอบครัวของนักโทษที่ได้รับการอภัยโทษ พากันไปรอรับนักโทษที่หน้าเรือนจำอย่างเนืองแน่น
ชาวเมียนมาบางส่วนมองว่า การปล่อยนักโทษจำนวนมากเช่นนี้ จะทำให้บ้านเมืองเต็มไปด้วยคดีอาชญากรรม
ข้อมูลของกลุ่มฮิวแมนไรท์วอทช์ ระบุว่า ก่อนการอภัยโทษ มีนักโทษถูกจองจำอยู่ในเรือนจำทั่วประเทศเมียนมาเกือบ 1 แสนคน ขณะที่พื้นที่ในเรือนจำสามารถรองรับนักโทษได้เพียง 62,000 คน
ข้อมูล มติชน