วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีน mRNA สามารถป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้สูงไม่ต่างกัน

รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลฉบับใหม่ล่าสุดโดยผู้เชี่ยวชาญจากการใช้จริงทั่วโลก เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ต่างให้ประสิทธิผลในระดับสูงไม่แตกต่างกันทั้งการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด-19 หลังการให้วัคซีนสองเข็ม

รายงานดังกล่าวตีพิมพ์โดย Expert Review of Vaccines ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์รายเดือนที่มีคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผลงานก่อนตีพิมพ์ (Peer Review) โดยประเมินประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลกจากข้อมูลการใช้จริงทั่วโลกกว่า 79 การศึกษา

โดยรายงานฉบับดังกล่าวแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนว่าทั้งวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดไวรัล เวคเตอร์ (Viral Vector) และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ต่างให้ประสิทธิผลที่ดีในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (อยู่ที่ระหว่าง 91.3-92.5%) และการเสียชีวิต (อยู่ที่ระหว่าง 91.4-93.3%) ในระดับเดียวกัน และไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครอบคลุมผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ1 แม้ว่าข้อมูลในขณะที่ทำรายงานการวิเคราะห์ฉบับนี้จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ข้อมูลดังกล่าวที่มีได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลที่คล้ายกันในประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป้องกันอาการรุนแรงจากโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน

ศาสตราจารย์ กาย ทเวทส์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยทางคลินิกของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในเวียดนามและหนึ่งในทีมผู้เขียนรายงานการวิจัยดังกล่าว เปิดเผยว่า “ข้อมูลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวัคซีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลกสามารถปกป้องผู้คนจากผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุดของโควิด-19 ได้อย่างไร และจากการคาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบร้ายแรงไปทั่วโลก ผลการวิจัยใหม่นี้จึงเป็นแหล่งข้อมูลสําคัญสําหรับการกําหนดนโยบายในภูมิภาค เพื่อพิจารณาวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการปกป้องประชากรของตนอย่างต่อเนื่อง” 

นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “วัคซีนป้องกันโควิด-19 มีความสำคัญต่อการปกป้องชีวิตและช่วยให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถรอดพ้นจากสถานการณ์การระบาดในช่วงที่รุนแรงที่สุดมาสู่สภาวะการปรับตัวใช้ชีวิตร่วมกับโควิด-19 ได้ โดยในขณะที่รัฐบาลกำลังพิจารณาปรับโควิด-19 ให้เป็นโรคประจําถิ่น ข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่นี้สามารถใช้เป็นหลักฐานที่ช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันต่างให้ประสิทธิผลในการป้องกันไม่ให้ผู้คนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ในระดับสูงไม่แตกต่างกัน”  

ข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากทั่วเอเชียนั้นมาจาก VIEW-hub ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบอินเตอร์แอคทีฟที่แสดงข้อมูลระดับโลกพร้อมภาพประกอบเกี่ยวกับการใช้วัคซีนและผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยถูกพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของวิทยาลัยสาธารณสุขจอห์น ฮอปกินส์ บลูมเบิร์ก (Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health) และศูนย์การเข้าถึงวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Access Center) ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ได้รับการอัปเดตข้อมูลทุกสัปดาห์ เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลการใช้จริงจากทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของวัคซีน โดยการศึกษา 79 ฉบับที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลนี้ เป็นงานวิจัยที่รวมเอาข้อมูลด้านประสิทธิผลเชิงเปรียบเทียบระหว่างวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัคซีน mRNA  BNT162b2 และ mRNA-1273 ทั้งนี้ แพลตฟอร์ม VIEW-hub ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบันทึกผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของการศึกษาเหล่านี้ ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในลักษณะเดียวกันได้

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนชนิด ‘ไวรัลเวคเตอร์’ หรือ ‘ไวรัสพาหะ’ ซึ่งหมายถึงการนำเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัคซีน ซึ่งจะทำให้ร่างกายเรียนรู้ว่าจะต่อสู้กับเชื้ออย่างไรหากสัมผัสกับไวรัสจริงในภายหลัง โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนวิธีนี้ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ซิกา อีโบลา และเอชไอวี3 เป็นต้น 

แอสตร้าเซนเนก้าและพันธมิตรทั่วโลกได้ส่งมอบวัคซีนมากกว่า 3 พันล้านโดส ให้แก่กว่า 180 ประเทศทั่วโลก โดยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนวัคซีนดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าได้ช่วยปกป้องชีวิตผู้คนกว่า 6 ล้านชีวิตจากโรคโควิด-19 จากข้อมูลตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 – 8 ธันวาคม 2564

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant] ชื่อเดิม AZD1222 )  

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant])  คิดค้นโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนชนิด ‘ไวรัลเวคเตอร์’ หรือ ‘ไวรัสพาหะ’ ซึ่งหมายถึงการนำเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัคซีน ซึ่งจะทำให้ร่างกายเรียนรู้ว่าจะต่อสู้กับเชื้ออย่างไรหากสัมผัสกับไวรัสจริงในภายหลัง โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนวิธีนี้ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ซิกา อีโบลา และเอชไอวี5 เป็นต้น 

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า มีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ดีต่อผู้ที่ได้รับวัคซีน ตามการศึกษาทดลองทางคลินิกและการใช้งานจริงจากผู้คนหลายสิบล้านชีวิตทั่วโลก ผลอ้างอิงจากประชากรหลายล้านคนที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปวดหัว คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ กดเจ็บ ปวด ร้อน คัน หรือฟกช้ำบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบาย มีไข้ และหนาวสั่น13 ซึ่งอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวนี้มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางและหายได้เองในระยะเวลาไม่กี่วันหลังจากได้รับวัคซีน

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 120 ประเทศ และจากการขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้จะช่วยเร่งให้มีการเข้าถึงวัคซีนใน 144 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์ (COVAX)

ภายใต้ข้อสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วง (sub-license agreement) กับแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้า   เซนเนก้า ถูกผลิตและส่งมอบโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย โดยใช้ชื่อวัคซีนว่า COVISHIELD