
คอลัมน์ : ชั้น 5 ประชาชาติ ผู้เขียน : อมร พวงงาม
การแข่งขันรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นทางเรียบหรือทางฝุ่น
มีความจำเป็นต้อง “โมดิฟาย” เครื่องยนต์เพื่อให้เกิดพลังมหาศาลในการขับเคลื่อน
- จับตาธุรกิจเลิกจ้าง ปิดกิจการ ส่งออกสะดุด-บริษัทยักษ์ย้ายฐาน
- เปิดลงทะเบียนแก้หนี้ 1 ธ.ค.นี้ เครดิตบูโรห่วงกู้ซื้อ “รถ-บ้าน” ค้างจ่ายพุ่ง
- เช็กเงื่อนไขกู้ “ออมสิน” ปลดหนี้นอกระบบ คุณสมบัติผู้กู้ต้องมีอะไรบ้าง ?
แต่สิ่งที่ตามมา คือ ความสิ้นเปลืองทั้งอุปกรณ์ ชุดแต่ง น้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงมลพิษที่ฟุ้งกระจาย สร้างภาระให้กับสิ่งแวดล้อม
เคยเข้าไปนั่งชมการแข่งขันในสนามแข่งมั้ยครับ ยิ่งถ้าเป็นประเภทเอ็นดูแรนซ์ วิ่งกันทั้งวันทั้งคืน กลิ่นน้ำมันคละคลุ้ง คนไม่เคยชิน เล่นเอามึนหัวไปทั้งวันเหมือนกัน
ดังนั้น การพัฒนารถแข่งโดยเฉพาะทางเรียบจึงอยากจะเข้าให้ถึง
การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
จึงเป็นที่มาของการแข่งแบบ “อีสปอร์ต” รวมถึงการนำเชื้อเพลิงแบบ “ไฮโดรเจน” หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) มาใช้
อธิบายง่าย ๆ อีสปอร์ตก็ใช้พลังงานจากไฟฟ้า ไม่มีไอเสียแน่นอน
ส่วนฟิวเซลล์ ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ผ่านกระบวนการแยกอิเล็กตรอนออกจากโมเลกุลของไฮโดรเจน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไฟฟ้าก็ไปขับเคลื่อนเครื่องยนต์ หลังจากนั้นก็ถูกนำกลับไปรวมตัวกับออกซิเจนอีกครั้ง
ไอเสียที่ปล่อยออกมาก็เป็น “นํ้า” ไม่มีพิษภัยต่ออากาศและสิ่งแวดล้อม
พลังของมอเตอร์ไฟฟ้า เชื่อว่าทุกคนรู้ว่า ให้กำลังสุดยอดและต่อเนื่องขนาดไหน
จะกังวลก็แค่พลังจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเท่านั้น ที่หลายคนยังมีข้อสงสัย
วันก่อน “อากิโอะ โตโยดะ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น
ส่งรถยนต์โตโยต้าเข้าร่วมรายการแข่งรถ Super Taikyu Series เป็นรายการแข่งรถแบบ 24 ชั่วโมง
ที่สนามแข่งรถฟูจิสปีดเวย์ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 3-5 มิถุนายนนี้
โดยใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนเมษายนปีก่อน โตโยต้าประกาศความมุ่งมั่นผ่านพันธกิจเพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งการขับเคลื่อนที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน
ผ่านการพัฒนารถขับเคลื่อนพลังงานไฮโดรเจนที่ติดตั้งในรถโตโยต้า โคโรลล่า สปอร์ต เข้าร่วมการแข่งขันในรายการนี้เมื่อปีที่แล้วเป็นครั้งแรก
โดยผู้สนับสนุนหลายรายได้ร่วมมือกันภายใต้วัตถุประสงค์และความมุ่งมั่นเดียวกัน ในการบรรลุสังคมที่มีคาร์บอนเป็นกลาง เพื่อ “ผลิต” “ขนส่ง” และ “ใช้” พลังงานไฮโดรเจนและพลังงานเชื้อเพลิงที่เป็นกลางทางคาร์บอน จากเริ่มแรก มีผู้สนับสนุนเพียง 8 รายเท่านั้น แต่วันนี้มีผู้สนับสนุนถึง 24 ราย
โตโยต้าได้ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อผลิตรถพลังงานไฮโดรเจนในเชิงพาณิชย์
ตลอดจนต่อสู้กับความท้าทายในการติดตั้งพลังงานไฮโดรเจนแบบเหลวในรถในช่วงปีที่ผ่านมา จากการแข่งขันรายการ Super Taikyu Series
นอกจากนี้ยังได้มีรถยนต์โตโยต้า GR86 รุ่นเครื่องยนต์เชื้อเพลิงที่ค่าเป็นกลางทางคาร์บอน เข้าร่วมการแข่งขันด้วย
ส่วนผลการแข่งขันจะออกมาแบบไหน ต้องติดตาม
แต่ที่แน่ ๆ น่าจะลบภาพที่หลาย ๆ คนเชื่อว่า รถแข่งที่จะแรงต้องโมดิฟายจากเครื่องยนต์สันดาปภายในเท่านั้น