สงกรานต์ 2566 สถานที่จัดงานทั่วประเทศ มีที่ไหนบ้าง เช็กที่นี่

ปีนี้จัดสงกรานต์ได้ อิทธิพลเผย
แฟ้มภาพ

เช็กสถานที่จัดงานต้อนรับปีใหม่ไทย หรือเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2566 ทั่วประเทศไทย

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 ใกล้เข้าสู่วันขึ้นปีใหม่ไทย หรือวันสงกรานต์ เทศกาลที่ใครหลายคนตั้งตารอ เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาวที่คนส่วนใหญ่จะได้เดินทางกลับต่างจังหวัดไปหาครอบครัว หรือท่องเที่ยวสาดน้ำให้ชุ่มฉ่ำในช่วงเมษาหน้าร้อน

นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2566 มีกิจกรรมมากมายมาให้ทุกคนได้ร่วมสนุกหลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ทั้งนี้ “ประชาชาติธุรกิจ” ได้รวบรวมสถานที่ที่มีการจัดงานสงกรานต์จากทุกภูมิภาคในประเทศไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

1.เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์

ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมสงกรานต์ 5 ภูมิภาค นำเสนอในรูปแบบของการสาธิตและ DIY ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาคเหนือ นำเสนอการทำตุง น้ำศักดิ์สิทธิ์/น้ำส้มป่อย สำหรับพิธีรดน้ำดำหัววิถีล้านนา
  • ภาคกลาง นำเสนออาหารคาวหวานในช่วงงานเทศกาลสงกรานต์ (ข้าวแช่) และเมนูอื่น ๆ เป็นต้น
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำเสนอประเพณีผูกเสี่ยว/ประเพณีเสียเคราะห์ (สะเดาะเคราะห์) หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์
  • ภาคตะวันออก นำเสนอพิธีก่อเจดีย์ทรายข้าวเปลือกของชาวไผ่ดำ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือพิธีก่อเจดีย์ทราย จังหวัดชลบุรี เป็นต้น
  • ภาคใต้ นำเสนอประเพณีแห่นางดาน จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

รวมถึงกิจกรรมการสรงน้ำพระและก่อเจดีย์ทราย การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การออกร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรมเพื่อรับของที่ระลึกตลอดการจัดงาน

ADVERTISMENT

ทั้งนี้ งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2566 ณ บริเวณจุฬาลงกรณ์ ซอย 5 (ถนนอุทยาน 100 ปี) เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

2.โครงการยกระดับงานประเพณีพื้นเมืองไทยสู่สากล

ADVERTISMENT

โครงการยกระดับงานประเพณีพื้นเมืองไทยสู่สากล (Local to Global) พบกับกิจกรรม INTERNATIONAL CARAVAN ขบวนแห่สงกรานต์นานาชาติสุดอลังการ, AMAZING SPLASH OF THE WORLD จำลองเทศกาลประเพณีวัฒนธรรมนานาชาติ จาก 4 ประเทศ ได้แก่ เกาหลี อินเดีย จีน และญี่ปุ่น

MAIN STAGE กิจกรรม SPLASH ความสนุกบนเวที โดยศิลปินนักร้อง ดีเจ. ชาวไทย และชาวต่างชาติ และ AMAZING FOOD ZONE พบบูทอาหาร และ food truck สีสันความอร่อยแบบนานาชาติ

โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2566 ณ บริเวณจุฬาลงกรณ์ ซอย 5 (ถนนอุทยาน 100 ปี) และ Stadium One เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

3.ไอคอนสยาม มหัศจรรย์เจ้าพระยา มหาสงกรานต์ 2566

พบกับขบวนแห่นางสงกรานต์ การสรงน้ำพระเพื่อเป็นสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ไทย การแสดงจากศิลปินชั้นนำ การแสดงทางวัฒนธรรม อีกทั้งมีการสาธิต Workshop แบบไทย ๆ เช่น พัดบุหงา แป้งร่ำ แป้งพวง น้ำอบ น้ำปรุง สูตรชาววัง จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ

งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2566 ณ ริเวอร์พาร์ค ชั้น G, เจริญนคร ฮอลล์ ชั้น M, รัษฎา ฮอลล์ ชั้น 1 ณ ไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร

4.Water Festival 2023 เทศกาลวิถีน้ำ…วิถีไทย

ภายในงานมีการสักการะพระพุทธรูปสำคัญประจำพระอาราม ร่วมทำบุญ ทำทาน เถลิงศกปีใหม่ไทยที่จัดขึ้นพร้อมกันทั้ง 4 ภาค ของประเทศไทย

งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 เมษายน 2566 ณ Land mark หลัก ริมโค้งน้ำเจ้าพระยา (5 วัด 6 ท่าน้ำ) กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดภูเก็ต

5.ประเพณีสงกรานต์พระประแดง

พบกับการประกวดนางกรานต์ และหนุ่มลอยชาย พิธีสรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การกวนกาละแม การเล่นสะบ้า (สะบ้าบ่อน สะบ้าทอย) การแสดงทะแยมอญ ของชาวไทยรามัญ ขบวนแห่รถนางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผชาติ การแสดงแสงสี ณ หน้าที่ว่าการอำเภอพระประแดง อุทยานประวัติศาสตร์ป้อมแผลงไฟฟ้า จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2566

6.ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดนครปฐม

มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระร่วงโรจนฤทธิ์ฯ จำลอง หรือพระร่วงน้อย มาประดิษฐานบนบุษบก ให้ประชาชนได้สรงน้ำและสักการะ พร้อมกิจกรรมการรดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่ ขบวนแห่นางสงกรานต์ การเล่นน้ำ พิธีแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ และกิจกรรมอื่น ๆ วันที่ 13-15 เมษายน 2566 บริเวณโดยรอบองค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

สงกรานต์ปี 64
ภาพจาก มติชน

ภาคกลาง

1.มหาสงกรานต์ถนนข้าวสุก ประจำปี 2566

ชมขบวนแห่นางสงกรานต์ พิธีสรงน้ำพระสงฆ์ พิธีรดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุ การประกวดนางสงกรานต์ และการละเล่นวัฒนธรรมพื้นบ้าน ณ เวทีกลางน้ำ และการเล่นน้ำสงกรานต์ ขบวนแห่พระพุทธพรุณสาตร์ และสรงน้ำพระพุทธพรุณสาตร์

โดยงานจัดขึ้น ณ หน้าเทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ และถนนคลองชลประทานทั้งสองฝั่ง ตั้งแต่สี่แยกไฟแดงตลอดเส้นทางถึงปากทางเข้าวัดสนาม ระยะทาง 2 กิโลเมตร จังหวัดอ่างทอง ในวันที่ 13-15 เมษายน 2566

2.ประเพณีสงกรานต์ อุทยาน ร.2

พบกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การสรงน้ำพระ กิจกรรมวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาทิ การบรรเลงดนตรีไทย จากเยาวชนเมืองแม่กลองการบรรเลงปี่พาทย์ การบรรเลงแตรวงไทย การแสดงละครชาตรีโบราณ การแห่กลองยาว ณ อุทยาน ร.2 อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วันที่ 13-15 เมษายน 2566

3.ประเพณีสงกรานต์มอญสังขละบุรี

ร่วมขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทราย การขนน้ำไปอาบผู้สูงอายุที่วัด การแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวมอญ พิธีสรงน้ำพระผ่านกระบอกไม้ไผ่ พระเดินบนหลังคน พิธีแห่กองผ้าป่า ณ วัดวังก์วิเวการาม และเจดีย์พุทธคยาจำลองตำบลวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 13-17 เมษายน 2566

4.เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์สุพรรณบุรี

พบขบวนแห่หลวงพ่อโตทองคำ ขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์จาก 10 อำเภอ ของจังหวัดสุพรรณบุรี การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และกิจกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์ ณ เมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 13-15 เมษายน 2566

5.งานแห่ดอกไม้ท้ายสงกรานต์ และของดีตำบลเจ็ดเสมียน

พบกิจกรรมการประกวดรถบุปผชาติประดับประดาด้วยดอกไม้นานาชนิด การประกวดธิดาดอกไม้ และการประกวดนางงอมหัวไชโป๊ว การแข่งขันเรือยาว การประกวดก่อพระเจดีย์ทราย การแข่งขันเซปักตะกร้อ และการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ณ วัดเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี วันที่ 13-15 เมษายน 2566

6.สงกรานต์ เฟสติวัล 2023 @กาญจนบุรี

ชุ่มฉ่ำกับอุโมงค์น้ำ ยาว 40 เมตร ชมการแสดงคอนเสิร์ตศิลปินชื่อดัง กิจกรรมสืบสานประเพณีไทย ชิมอาหารอร่อยในมหกรรมอาหารร้านเด็ดกว่า 600 ร้านค้า ณ ถนนสองแควริมน้ำหน้าเมืองกาญจนบุรี (สกายวอล์กสองแควกาญจนบุรี) ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 13-14 เมษายน 2566

สงกรานต์ สรงน้ำพระ
REUTERS/Chalinee Thirasupa

ภาคอีสาน

1.งานสุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูน เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว

ชมการประกวดเกวียนบุปผชาติ, ร่วมพิธีรดน้ำผู้สูงอายุ, กิจกรรมสงกรานต์ถนนข้าวเหนียว (บริเวณถนนศรีจันทร์) และชมการสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ณ บึงแก่นนคร และถนนศรีจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วันที่ 8-15 เมษายน 2566

2.งาน Elephant Songkran Festival

สาดน้ำกับบรรดาช้างแสนรู้กว่า 50 เชือก มีสวนสนุกและการละเล่นมากมาย อร่อยกับร้านดังของฝากจุใจ ทั้งยังมีการแสดงรำวงไทบ้านรถแห่และสาวรำวงตลอด 7 วัน มีจุดกางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ คชอาณาจักร (สวนสัตว์จังหวัดสุรินทร์) อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 10-17 เมษายน 2566

ทั้งนี้ งานดังกล่าวเป็นงานการกุศลที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือช้างเจ็บป่วยในโรงพยาบาลช้าง

3.งานมหาสงกรานต์อีสาน-หนองคาย

ภายในงานประกอบไปด้วย พิธีทำบุญตักบาตร พิธีอัญเชิญองค์หลวงพ่อพระใสประดิษฐานบนราชรถแห่รอบอุโบสถ และรอบเมืองหนองคาย ให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมสรงน้ำ การจัดแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อ เปตอง การประกวดญาแม่สงกรานต์ การประกวดเทพีสงกรานต์ การประกวดเทพีสงกรานต์จำแลง การฟ้อนรำถวายหลวงพระใส และขบวนแห่รถบุปผชาติ ณ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย วันที่ 12-18 เมษายน 2566

4.ประเพณีสงกรานต์เมืองร้อยเอ็ด

กิจกรรมประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา พิธีอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาให้ประชาชนได้สักการบูชาและสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล พิธีรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้สูงอายุ ณ บึงพลาญชัยและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 13-15 เมษายน 2566

5.ประเพณีสงกรานต์นครพนม Nakhon Phanom Beach 2023

ภายในงานมีบริการห่วงยางแบบสมัยก่อน เครื่องเล่นทางน้ำ เจ็ตสกี บานาน่าโบ๊ต โชว์ฝูงบินพารามอเตอร์ เหนือชายหาด แข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ประกวดก่อเจดีย์ทราย การออกร้านอาหารอีสาน อาหารทะเล โชว์ขบวนแห่คาร์นิวัลสงกรานต์นครพนมตามแนวริมโขง เวทีกิจกรรมสงกรานต์ถนนสวรรค์ชายโขง

ณ ถนนสวรรค์ชายโขง หาดทรายทองศรีโคตรบูร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม วันที่ 13-15 เมษายน 2566

6.ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลถนนข้าวปุ้น

พบกิจกรรมถนนข้าวปุ้น การแสดงโชว์ข้าวปุ้นบีบสด การแข่งขันกินข้าวปุ้น การแข่งขันส้มตำลีลา เชื่อมต่อกับกิจกรรมขบวนแห่พระคู่บ้านคู่เมือง และขบวนแห่วัฒนธรรม 8 ชนเผ่า จากลานพญาศรีสัตตนาคราช ไปยังหมู่บ้าน 8 ชนเผ่า ถนนสวรรค์ชายโขง

สรงน้ำพระคู่บ้านคู่เมือง ประจำกลุ่มจังหวัดสนุก ได้แก่ หลวงพ่อพระองค์แสน จังหวัดสกลนคร พระติ้ว พระเทียม จังหวัดนครพนม และพระพุทธสิงห์สอง จังหวัดมุกดาหาร

ณ ลานพญาศรีสัตตนาคราช และหมู่บ้านวัฒนธรรม 8 ชนเผ่า ถนนสวรรค์ชายโขง ริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดนครพนม วันที่ 13-15 เมษายน 2566

7.ซิดกันสนั่นเมือง ม่วนซื่นสงกรานต์อุดร

งานสงกรานต์ย้อนยุคแบบไทย พบกิจกรรมหลากหลาย อาทิ รำวงย้อนยุค มวยทะเล การละเล่นเดินกะลา ขาโถกเถก เหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา การประกวดเทพีสงกรานต์ ประกวดเทพีนางฟ้าจำแลงสงกรานต์ปลอดเหล้า ประกวดส้มตำยกครก ณ ถนนเทศา สวนสาธารณหนองประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

รวมถึงเปิดพื้นที่บริเวณถนน (เข้า) เปียก อดุลยเดช ให้ประชาชนเล่นน้ำสงกรานต์ วันที่ 13-15 เมษายน 2566

8.ประเพณีสงกรานต์และแห่ต้นดอกไม้บ้านแสงภา

ชมการทำต้นดอกไม้ของแต่ละคุ้มบ้าน (ช่วงกลางวัน) ชมขบวนแห่ต้นดอกไม้ของคุ้มหมู่บ้าน ที่มีความสูงกว่า 15 เมตร รอบอุโบสถ (ช่วงกลางคืน) และจะมีการแห่ทุกวันพระ จนสิ้นสุดเดือนเมษายนของทุกปี ณ หมู่บ้านแสงภา และวัดศรีโพธิ์ชัย บ้านแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย

แฟ้มภาพ

ภาคเหนือ

1.ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่

พิธีทำบุญตักบาตร เมืองเจียงใหม่ งานประเพณีสมโภชพระพุทธสิหิงค์ ขบวนแห่การประกวดแม่หญิงขี่รถถีบกางจ้อง พิธีหุงน้ำศักดิ์สิทธิ์ สวดพุทธมนต์ กิจกรรมตานตุงไชย 726 ปีเมืองเชียงใหม่ การแสดงศิลปะพื้นบ้านล้านนา กิจกรรมสืบสานฮีตฮอย ย้อนรอยปี๋ใหม่เมือง ณ ข่วงประตูท่าแพ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 8-16 เมษายน 2566

2.งานสลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมือง นครลำปาง

พิธีบวงสรวงการจัดงานสลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมือง นครลำปาง การประกวดเทพบุตร เทพธิดา สลุงหลวง พิธีอัญเชิญพระเจ้าแก้วดอนเต้า เข้าสู่เมืองนครลำปาง ขบวนแห่สลุงหลวง ณ ข่วงนคร ห้าแยกหอนาฬิกา และวัดปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง วันที่ 9-13 เมษายน 2566

3.ประเพณีแห่ช้างบวชนาคไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว

งานประเพณีแห่ช้างบวชนาค หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า บวชนาคแห่ช้าง ของชาวไทยพวนที่มีประวัติมายาวนานกว่า 179 ปี ชมขบวนนั่งช้าง บวชนาค ของชุมชนชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว ตระการตากับช้างและนาคที่ได้รับการตกแต่งอย่างมีเอกลักษณ์

รวมถึงชมขบวนช้างข้ามแม่น้ำยม สนุกสนานเล่นสาดน้ำกับขบวนแห่นาคของชุมชนชาวไทยพวน ณ วัดหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย วันที่ 7 เมษายน 2566

4.ประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ศรีสัชนาลัย

ประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ศรีสัชนาลัย ที่ได้จัดขึ้นตามหลักฐาน ในศิลาจารึก “คนสุโขทัย มักทรงศีล มักโอยทาน” ร่วมพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์พระยาลิไทและบูรพกษัตริย์ ณ อนุสาวรีย์พระยาลิไท พิธีบวงสรวงศาลหลักเมืองศรีสัชนาลัย ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

ตลาดโบราณและกิจกรรมการแสดงดนตรี ชมขบวนแห่วัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่กว่า 10 ชุมชน (ชมขบวนแห่วันที่ 12 เมษายน 2566) ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระยาลิไท และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย วันที่ 8-12 เมษายน 2566

5.ประเพณีสงกรานต์ “ดอกลมแล้งบาน สงกรานต์เมืองแป้ นุ่งหม้อห้อมแต้งามต๋า”

ทำบุญตักบาตรอุทิศกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วและพิธีถวายเจดีย์ทราย โดยการปักตุง 12 ราศี, ตุงช่อ, ตุงไส้หมู, ตุงตะเข็บ หรือตุงไชย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การเล่นน้ำสงกรานต์ มีขบวนแห่นางสงกรานต์ และการประกวดนางสงกรานต์ และพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ณ สวนสุขภาพ 90 ปี และบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดแพร่ วันที่ 13-17 เมษายน 2566

6.ประเพณีแห่ค้างดอกไม้และงานสงกรานต์

ประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยเชื้อสายลาวในพื้นที่อำเภอบ้านไร่ โดยการนำดอกไม้ต่าง ๆ ที่เก็บได้ในท้องถิ่นมาจัดประดับตกแต่งที่ค้างไม้ไผ่ที่เป็นรูปทรงคล้ายเจดีย์ให้มีความสวยงาม และแห่เข้าไปที่วัดเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งในขบวนแห่มีการแสดงเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน รวมถึงการละเล่นต่าง ๆ ภายในวัด

โดยงานจัดขึ้นที่วัดบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี วันที่ 13-18 เมษายน 2566

7.ประเพณีมหาสงกรานต์มิตรภาพไทย-เมียนมาและมวยคาดเชือก

พบกับกิจกรรมไฮไลต์ อาทิ มวยคาดเชือก, การแสดงตะกร้อวงของพม่า (ชินลง), การประกวดนางสงกรานต์แห่งเมียนมา/นางนพมาศลุ่มน้ำเมย, ขบวนแห่ของชนเผ่าแห่งลุ่มน้ำเมย, การแข่งขันการปั่นปอน (ไทย-พม่า)/ป้อเฒ่าตาดี และพิธีตักบาตรเชิงสะพานมิตรภาพ ณ แม่เมยซิตี้ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก วันที่ 13–15 เมษายน 2566

สงกรานต์
แฟ้มภาพ

ภาคใต้

1.HATYAI MIDNIGHT SONGKRAN

ภายในงานมีการติดตั้งซุ้มประตูงานบริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 และปิดถนนเสน่หานุสรณ์ บริเวณสี่แยกโอเดียน และถนนชีอุทิศ เพื่อตั้งเวทีการแสดง ซึ่งกิจกรรมหลักมีทั้งขบวนแห่รับเทียมดา ขบวนคาร์นิวัลมิดไนต์สงกรานต์ การประกวดนางสงกรานต์ และการเล่นน้ำสงกรานต์กลางคืน ภายในงานร่วมทำบุญตักบาตร การแสดง และกิจกรรมเล่นน้ำสงกรานต์ตอนกลางคืนอย่างชุ่มฉ่ำ

โดยงานจัดขึ้นบริเวณถนนเสน่หานุสรณ์ ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 และแยกธรรมนูญวิถี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วันที่ 12-13 เมษายน 2566

2.สงกรานต์โนแอลภูเก็ต 2566 สงกรานต์ถนนดีบุก

เล่นสงกรานต์อย่างปลอดภัยแบบปลอดแอลกอฮอล์ โดยห้ามประแป้ง ห้ามใช้น้ำแข็ง ห้ามเล่นโฟม ห้ามใช้สี ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามถอดเสื้อ ห้ามใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง และห้ามทะเลาะวิวาทและห้ามพกพาอาวุธ เพื่อให้สอดคล้องกับการท่องเที่ยววิถีไทย ณ ถนนดีบุก อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต วันที่ 13-15 เมษายน 2566

3.งานเทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดานเมืองนคร

ภายในงานมีพิธีถวายเครื่องสักการะพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พิธีตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 6 แห่ง พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ เนื่องในวันปีใหม่ไทย พิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐาน ณ สนามหน้าเมือง สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์

สรงน้ำพระสงฆ์ อาบน้ำขอพรผู้สูงอายุ กิจกรรมเล่นน้ำสงกรานต์ บวงสรวงหอพระอิศวร ณ ฐานพระสยม บริเวณตลาดท่าชี

ชมการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม นางดานอลังการเมืองนคร ตามโครงการเทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดานเมืองนคร ประจำปี 2566 โดยวันที่ 13 เมษายน 2566 เป็นการซ้อมใหญ่เสมือนจริง และแสดงแสง สี เสียง สื่อผสมจริง ในวันที่ 14 เมษายน 2566

ณ สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช และตลาดริมน้ำเมืองลิกอร์ สนามหน้าเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

FILE PHOTO : Madaree TOHLALA / AFP

ภาคตะวันออก

1.งานเที่ยวพระเจดีย์กลางน้ำ วิถีถิ่นระยอง

ภายในมีการล่องเรือชมแม่น้ำ การแสดงแสง สี เสียง สะพานข้ามแม่น้ำระยองลัดเลาะตามแนวป่าชายเลน กิจกรรมลานวัฒนธรรม สรงน้ำพระพุทธอังคีรส ก่อพระเจดีย์ทราย รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

เสวนาวิถีถิ่นชุมชน การแสดงวัฒนธรรมชุมชน และการออกร้านจำหน่ายสินค้าของดีเมืองระยองและอาหารพื้นถิ่นอีกมากมาย ณ พระเจดีย์กลางน้ำ จังหวัดระยอง วันที่ 12-14 เมษายน 2565

2.ประเพณีสงกรานต์แปดริ้ว

เดินแห่ขบวนองค์หลวงพ่อโสธร ประกอบขบวนนางนพมาศ ขบวนนักษัตร พร้อมด้วยขบวนการละเล่นประจำชุมชน แห่เวียนไปโดยรอบตลาดทรัพย์สินเก่าเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

การแข่งขันตะกร้อรอดบ่วง การแสดงลิเก พร้อมเวทีการแสดงจากโรงเรียนต่าง ๆ การแสดงแสงสีเสียง “มนต์รักเมืองแปดริ้ว” และการแสดงคอนเสิร์ตบนเวที ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (สวนสมเด็จย่า) และศาลาจัตุรมุข จังหวัดฉะเชิงเทรา วันที่ 13-15 เมษายน 2566

3.ประเพณีก่อพระทรายวันไหลพัทยา

ภายในงานมีพิธีรดน้ำดำหัว ขบวนแห่วันไหล และการสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างชาติ บริเวณถนนเลียบชายหาดพัทยา จังหวัดชลบุรี วันที่ 16-17 เมษายน 2566

มติสงกรานต์ออกแล้ว
ภาพจาก มติชน