GISTDA จับมือญี่ปุ่น ตั้งศูนย์พยากรณ์อวกาศของประเทศไทย

GISTDA จับมือญี่ปุ่น ตั้งศูนย์พยากรณ์อวกาศของประเทศไทย

GISTDA จับมือญี่ปุ่น เดินหน้าจัดตั้งศูนย์พยากรณ์อวกาศของประเทศไทย เตรียมส่ง นักวิจัยของ GISTDA เดินทางไปปฏิบัติงานวิจัย ญี่ปุ่น กลางเดือนตุลาคม นี้

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และดร. Naoto Kadowaki ประธานสถาบันข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสารแห่งชาติ หรือ National Institute of Information and Communications Technology ( NICT ) ญี่ปุ่น ร่วมลงนามความตกลงเพื่อการวิจัยร่วมกันด้านวิจัยพยากรณ์ การตั้งศูนย์วิจัยพยากรณ์อวกาศของประเทศไทย หรือ Thailand Space Weather Forecast Center และหารือเกี่ยวกับแผนความร่วมมือ

GISTDA จับมือญี่ปุ่น ตั้งศูนย์พยากรณ์อวกาศของประเทศไทย

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า GISTDA และสถาบันข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสารแห่งชาติประเทศญี่ปุ่น เตรียมร่วมกันจัดตั้งศูนย์พยากรณ์อวกาศของประเทศไทย หรือ Thailand Space Weather Forecast Center ซึ่งจะรวมถึงการติดตามปัจจัยแวดล้อมและความผิดปกติของสภาพอวกาศในประเทศไทย และมีแผนจะขยายการศึกษาเรื่องดังกล่าวไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนด้วย

GISTDA จับมือญี่ปุ่น ตั้งศูนย์พยากรณ์อวกาศของประเทศไทย

นอกจากนี้แล้วยังจะศึกษาผลกระทบของสภาพอวกาศต่อโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม การจัดตั้งศูนย์สภาพอวกาศ และการแลกเปลี่ยนนักวิจัยร่วมกัน โดยนักวิจัยของ GISTDA จะเดินทางไปปฏิบัติงานวิจัย ณ NICT ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงกลางเดือนตุลาคม นี้

GISTDA จับมือญี่ปุ่น ตั้งศูนย์พยากรณ์อวกาศของประเทศไทย

GISTDA และ NICT ได้ดำเนินความร่วมมือด้านสภาพอวกาศมาตั้งแต่ปี 2563 โดยความร่วมมือดังกล่าวไม่จำกัดเฉพาะ GISTDA เท่านั้น แต่ยังเป็นการทำงานร่วมกับภาคการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาสภาพอวกาศในประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมา NICT ได้จัดส่งและช่วยติดตั้งอุปกรณ์เพื่อการสำรวจสภาพอวกาศ ณ ประเทศไทย ดังนั้น เพื่อให้เกิดกรอบการทำงานด้านการวิจัยที่ชัดเจน จึงได้จัดทำความตกลงเพื่อการวิจัยร่วมระหว่างกัน

“สภาพอวกาศสามารถสร้างผลกระทบต่อกิจกรรมประชาชนหลายด้าน เช่น การสร้างความเสียหายให้กับดาวเทียม การรบกวนระบบนำร่อง (GPS) การสื่อสารของระบบอากาศยาน และการสร้างความเสียโรงงานไฟฟ้า เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบพยากรณ์อวกาศเพื่อเตือนภัยเหล่านี้ ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยก้าวกระโดดการเพิ่มขีดความสามารถเทคโนโลยีอวกาศและศักยภาพการป้องกัน และบรรเทาภัยจากสภาพอวกาศให้กับประชาชนชาวไทย”