ส่องผลประกอบการ อีสท์ วอเตอร์ หลังปมท่อส่งน้ำอีอีซี กำไร Q1 หด 32.2%

อีสต์วอเตอร์

หลังจากบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จํากัด (มหาชน) หรืออีสท์ วอเตอร์ EASTW ในฐานะผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่มีโครงข่าายท่อส่งน้ําดิบครอบคลุมพื้นที่ในเขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก มีปมประเด็นข้อพิพาทการเช่าท่อส่งน้ำกรมธนารักษ์ขึ้นกับคณะกรรมการที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ มูลค่ากว่า 25,000 ล้านบาท ที่บริษัทชนะประมูลไปแล้วแต่ถูกยกเลิก และประมูลใหม่ ซึ่งทางกรมเตรียมจะทำสัญญากับบริษัทผู้ชนะการประมูลรายใหม่ (วงษ์สยาม ก่อสร้าง) แทน EASTW จนนำมาสู่การยื่นฟ้องศาลปกครอง

ส่วนโครงการดังกล่าวถูกชะลอการลงนามสัญญาเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นการชั่วคราว

ล่าสุดรายงานภาพรวมการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2565 มีรายได้จากการขาย 1,137.46 ล้านบาท ลดลง 93.46 ล้านบาท หรือ -7.59% เป็นผลมาจากรายได้น้ำประปา รายได้ของการให้เช่าและรายได้ค่าก่อสร้างภายใต้สัมปทานลดลง เพียงรายได้น้ำภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น 200% จากภาคอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัวของโควิดเริ่มคลี่คลาย (ตามตาราง)

ขณะที่ต้นทุนการขายและบริการเพิ่มขึ้น 2.01% มูลค่า 644.7 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานลดลง 26.31% มูลค่า 369.44 ล้านบาท กำไรสุทธิมูลค่า 253.46 ล้านบาท ลดลง 32.2%

ทั้งนี้ มีบริษัทคาดการณ์ว่า สถานการณ์น้ำในครึ่งปีหลังจะปรับสูงขึ้น จากปริมาณฝนตกที่เพิ่มขึ้น โดยปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลักเพิ่มขึ้น 8% และจากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าจะมีปริมาณฝนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น สูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 5%

ส่วนในกรณีคืบหน้าของการฟ้องศาลปกครองกรณีการเช่าท่อส่งน้ำกรมธนารักษ์นั้นวันที่ 23 กันยายน 2564 บริษัทได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ และกรมธนารักษ์ในส่วนของคดีหลักเพื่อขอให้ศาลมีคําพิพากษาเพิกถอนมติ หรือคําสั่งยกเลิกการคัดเลือกเอกชนฯ ของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ และเพิกถอนประกาศพร้อมหนังสือเชิญชวนฉบับใหม่

รวมทั้งคําร้องขอ เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา ต่อศาลปกครองกลาง ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางได้มีคําสั่งยกคําร้องขอเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการ พิพากษาซึ่งบริษัทได้ยื่นคําร้องไว้โดยในตอนหนึ่งของคําสั่งศาลดงักล่าวได้ระบุไว้ด้วยว่าแม้ต่อมาจะมีการลงนามเพื่อเข้าทําสัญญาในโครงการที่พิพาทแล้ว

แต่หากปรากฏว่าการดําเนินการเพื่อคัดเลือกคู่สัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลย่อมมีอํานาจเพิกถอนการดําเนินการดังกล่าวได้และ หากบริษัทเห็นว่าได้รับความเดือดร้อยเสียหายก็ชอบที่จะได้รับสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อไปได้

ทั้งนี้ คําสั่งยกคําร้องดังกล่าว ไม่ใช่คําสั่งศาลในส่วนของคดีหลักที่บริษัทฟ้องขอให้เพิกถอนมติหรือคําสั่งยกเลิกการคัดเลือกเอกชนฯ ของ คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯและเพิกถอนการดําเนินการตามประกาศและหนังสือเชิญชวนฉบับใหม่แต่อย่างใด โดยในส่วนของคดีหลักดังกล่าว ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองกลาง และเมื่อศาลปกครองกลางมีคําสั่งหรือคําพิพากษาในส่วนของคดีหลักแล้วคดียังสามารถ อุทธรณ์และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาโดยศาลปกครองสูงสุดต่อไปได้

นอกจากนี้ระบบโครงข่ายน้ำ Water Grid ที่บริษัทใช้บริหารการส่งน้ําใน พื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา มีความยาวทั้งสิ้น 512 กิโลเมตร โดยเป็นท่อที่เช่าบริหารจากกรมธนารักษ์ 135.90 กิโลเมตร ส่วนท่อที่ บริษัทลงทุนเอง 376.10 กิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสถานีสูบน้ําอีกหลายแห่ง เช่ือมโยงแหล่งน้ําต้นทุนหลักในภาคตะวันออกน้ัน ไม่ได้เป็นส่วนหน่ึงของข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นบริษัทยังคงประกอบธุรกิจได้ตามปกติ

ประกอบกับบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบโครงข่ายท่อส่งน้ําพร้อม ก่อสร้างสถานีสูบน้ําเพิ่ม เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันและอนาคต

อย่างไรก็ตาม ในรายงานระบุว่า ประเด็นดังกล่าว เชื่อมโยงถึงแนวโน้มอันดับเครดิตบริษัทที่ลดลงจาก “Stable Outlook” เป็น “Negative Outlook” แนวโน้มอันดับเครดิต “Negative” หรือ “ลบ” สะท้อนถึงความเสี่ยงที่บริษัทอาจจะไม่สามารถต่อสัญญาเช่าระบบท่อส่งน้ําจาก กรมธนารักษ์ได้หลังจากที่สัญญาเช่าหมดอายุลงในเดือนธันวาคม 2566

ทั้งนี้ แนวโน้มอันดับเครดิตอาจกลับมาเป็น “Stable” หรือ “คงที่” หาก บริษัทสามารถรักษาสัญญาเช่าดังกล่าวเอาไว้ได้หรือ บริษัทแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีความสามารถในการรักษาผลการดําเนินงานและดํารงฐานะทาง การเงินที่แข็งแรงได้อย่างต่อเนื่อง

กระทั่งวันที่ 8 เมษายน 2565 TRIS RATING ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของบริษัทที่ระดบั “A+” ด้วยแนวโน้มมอันดับเครดิต “Negative”

ล่าสุดที่ประชุมสามัญ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติออกเสนอขายหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 8,000 ล้านบาท ซึ่งเบื้องต้นกำหนดเปิดขาย 2 ชุด รวมมูลค่า 1,600 ล้านบาท ชุดแรก อัตราดอกเบี้ย 3.53 % ครบกำหนด 31 พฤษภาคม 2570 และชุดที่ 2 อายุหุ้นกู้ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.52 % ครบกำหนด 31 พฤษภาคม 2575 โดยมีเป้าหมายเพื่อนำเงินกู้ไปชำระคืนสถาบันการเงิน ซึ่งหลังจากนี้ต้องติดตามต่อไปว่า ‘บทสรุป’ ข้อพิพาทนี้จะเป็นอย่างไร