เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน จับตาดูเงินเฟ้อสหรัฐ

เงินบาท
FREUTERS/Athit Perawongmetha/File Photo

เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน จับตาดูเงินเฟ้อสหรัฐ หลัง กนง.มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 0.75% เป็น 1.00% ต่อปี เป็นเหมาะสม ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่วนเงินเฟ้อคาดปี 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 2.6% ก่อนที่เงินบาทยังคงอ่อนค่า และปิดตลาดที่ระดับ 38.22824 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2565 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (28/9) ที่ระดับ 37.88/37.90 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (28/9) ที่ระดับ 37.98/38.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หลังผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2565 ในวันที่ 28 กันยายน 2565 มีมติเอกฉันท์ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% จากระดับ 0.75% สู่ระดับ 1.00% ต่อปี

โดยมีความเห็นว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน โดยคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวปี 2565 จะเพิ่มเป็น 10 ล้านคน ขณะที่ปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.3% และ 3.8% ตามลำดับ

ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 และ 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 6.3% และ 2.6% มีแนวโน้มปรับตัวลงตามการลดลงของราคาพลังงาน โดยคาดการณ์ทั้งหมดยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 37.79-38.28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 38.22824 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (29/9) ที่ระดับ 0.9690/0.9694 ดอลลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (28/9) ที่ระดับ 0.9580/0.9584 ดอลลลาร์สหรัฐ/ยูโร หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.75% ในการประชุมรอบถัดไปในเดือนตุลาคมและธันวาคม

อย่างไรก็ตาม ตลาดมีความกังวลว่าการปรับดอกเบี้ยดังกล่าวเพื่อคลายปัญหาเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งวิกฤตพลังงานในยุโรป อาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในอนาคตได้ ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 0.9636-0.9738 ดอลลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 0.9650/52 ดอลลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับค่าเงินปอนด์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเหนือระดับ 1.0800 ดอลลลาร์สหรัฐ/ปอนด์ หลังจากที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลโดยไม่จำกัดจำนวนถึงวันที่ 14 ตุลาคมนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพและเพิ่มสภาพคล่องในตลาดการเงิน โดยก่อนหน้านี้เงินปอนด์อ่อนค่าอย่างรุนแรงแตะระดับ 1.0540 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษมีการเปิดเผยมาตรการปรับลดภาษีและการตรึงราคาพลังงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลต่อสถานะทางการคลังของอังกฤษ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน เปิดตลาดเช้าวันนี้ (29/9) ที่ระดับ 144.31/144.34 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าเล็กน้อย จากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (28/9) ที่ระดับ 144.57/144.62 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ภาพรวมยังมีทิศทางที่อ่อนค่า แม้จะมีการเข้าแทรกแซงจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยการอ่อนค่าดังกล่าวยังคงมีสาเหตุสำคัญมาจากการดำเนินนโยบายที่แตกต่างกันระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐ ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 144.06-144.79 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 144.64/66 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหรัฐ (GDP) (29/09), ดัชนีราคาจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (Core PCE) (30/09), ตัวเลขประมาณการณ์เงินเฟ้อของสหภาพยุโรป (30/09)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -4.75/-4.258 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -2.00/+1.00 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ