
เมืองไทยประกันชีวิต เร่งเครื่องแผนขยายธุรกิจภูมิภาคอาเซียน เดินหน้าศึกษาตลาด “อินโดนีเซีย-มาเลเซีย” หลัง 4 บริษัทใน “กัมพูชา-ลาว-เวียดนาม” ทำกำไรหมดแล้ว ลุยหาพาร์ตเนอร์ศักยภาพสูง “สาระ ล่ำซำ” เผยอาจไปในรูปแบบร่วมทุน-ลงทุนเอง-ซื้อบริษัทประกันทำดิ
ด้าน “ซีเอฟโอ” แย้มสนใจปล่อยกู้ syndicated loan ร่วมกับแบงก์ โปรเจ็กต์โครงสร้
- อนุทินอัพเดตทรัพย์สินภรรยาคนที่ 3 “วธนนนท์” ค้างค่าหย่าภรรยาคนที่ 2
- เปิดภาพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ติดถนนวิภาวดีรังสิต
- ชาวทรู ร่วมแสดงจุดยืน สนับสนุนความเท่าเทียมของคนทุกกลุ่ม ในงาน “Bangkok Pride 2023”
วันที่ 31 มกราคม 2566 นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL เปิดเผยว่า บริษัทมีนโยบายมุ่งเติบโตสู่ระดับภูมิภาค (go regional)
ซึ่งปัจจุบันมีการขยายการลงทุนไปแล้ว 4 ประเทศ ได้แก่ การจัดตั้งสํานักงานผู้แทนในประเทศเมียนมา การเข้าถือหุ้นใน 2 บริษัทประกันภัยของกัมพูชา คือ บริษัท Sovannaphum Life Assurance ถือหุ้น 49% และบริษัท Dara Insurance ถือหุ้น 25% ครอบคลุมธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
นอกจากนี้ ยังมีการร่วมทุนในบริษัท ST-Muang Thai Insurance ใน สปป.ลาว ประกอบธุรกิจ ได้ทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ปัจจุบันถือหุ้น 22.5% ส่วนในเวียดนามได้ร่วมทุนในบริษัท MB Ageas Life โดยเมืองไทยฯถือหุ้น 10%
“เรากำลังมองหาการลงทุนในประเทศอื่นเพิ่มเติม เพื่อขยายการเติบโต โดยเน้นไปประเทศทางใต้ลงไปจากไทย อาจไปในรูปแบบร่วมทุน (joint venture) หรือเข้าไปลงทุนเองทั้งหมด หรืออาจจะไปในลักษณะบริษัทประกันดิจิทัล (pure digital) ก็ได้ ทั้งธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านกฎเกณฑ์และกฎหมายของแต่ละประเทศ รวมไปถึงกฎหมายของไทยอนุญาตให้เราทำธุรกิจได้ขนาดไหนด้วย”
รุกอาเซียน สถานีต่อไป “อินโดฯ-มาเลเซีย”
นางสาวเมธิรา สังขพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานต่างประเทศ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทได้ขยายการลงทุนไปอาเซียนประมาณ 7 ปีแล้ว ตอนนี้ทั้ง 4 บริษัทมีกำไรทั้งหมด ถือว่าเร็วมาก ๆ โดยมีเบี้ยประกันรวมกันมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งบริษัทในเวียดนามส่งกำไรมากสุดเป็นอันดับ 1
“บริษัทกำลังศึกษาและสำรวจตลาดอินโดนีเซียและมาเลเซีย เพื่อขยายพอร์ตงานต่างประเทศเพิ่ม โดยกำลังมองหาพาร์ตเนอร์ที่มีศักยภาพสูงอยู่ เช่นเดียวกับการขยายธุรกิจประกันวินาศภัยเพิ่มเติมในเวียดนามด้วย โดยตามแผนจะขยายพอร์ตประกันสุขภาพมากขึ้น แต่ในระยะแรกจะยังคงเน้นหนักขายสินค้าที่เข้าใจง่าย เช่น ประกันสะสมทรัพย์ เป็นต้น”

สำหรับปี 2565 ที่ผ่านมา ผลประกอบการของบริษัท Sovannaphum Life Assurance ในกัมพูชา มีเบี้ยประกันรับรวมเติบโต 24% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน มีเบี้ยรับปีแรกเป็นอันดับ 1 ของอุตสาหกรรม ครองมาร์เก็ตแชร์ 34% (ข้อมูลอุตสาหกรรมสิ้นไตรมาส 3/65) “เราค่อนข้างภูมิใจมากสำหรับธุ
ส่วนบริษัท Dara Insurance มีเบี้ยรับรวมเติบโตกว่า 64% เทียบปีก่อน อยู่ในอันดับ 6 ของอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยในกัมพูชา ทั้งนี้ช่วงเกิดวิกฤตโควิด ธุรกิจใหญ่ ๆ หลายแห่งมีการชะลอตัว ทาง Dara Insurance ได้มีการเปลี่ยนกลยุทธ์การทำธุ
“เศรษฐกิจกัมพูชาปี 2566 เริ่มดีขึ้น โดยมีการประมาณการจีดีพีจะโต 4-5% เพราะฉะนั้นเราเชื่อว่าเบี้ยมีโอกาสโตล้อไปได้ โดยพอร์ตหลักมาจากประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (credit life) ขายผ่านธนาคารแคนาเดีย และคู่ค้าหัตถาแบงก์ในเครือธนาคารกรุงศรีฯ”
ขณะที่ ST-Muang Thai Insurance ใน สปป.ลาว มีเบี้ยประกันรับรวมเติบโต 25% เป็นอันดับ 1 ของอุตสาหกรรม ครองมาร์เก็ตแชร์ 51% (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2564) โดยตลาดนี้ค่อนข้างเล็กแต่ก็
ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัท MB Ageas Life ในเวียดนาม ซึ่งร่วมทุนกับ Ageas ผู้ถือหุ้นของบริษัท และมิลิทารีแบงก์ ปีที่ผ่านมามีเบี้ยรับรวมเกือบ 1 หมื่นล้านบาท เติบโต 11% เทียบจากปีก่อน โดยเบี้ยผ่านแบงก์โตกว่า 62% พอร์ตใหญ่สุดเป็นแบบประกันชีวิตควบการลงทุน (unit-linked) อยู่ในอันดับ 6 ของอุตสาหกรรม
“บริษัท MB Ageas Life นี้ค่อนข้างมีศักยภาพโตสูง เพราะเวียดนามเป็นตลาดที่เติบโตได้อีกไกลจากที่มีประชากรมาก และจีดีพีปี 2565 เติบโตกว่า 8% สูงกว่าคาด โดยเราตั้งความหวังจะโตขึ้นเป็นท็อป 5 ในระยะไม่กี่ปีข้างหน้านี้ให้ได้จากปัจจุบันอยู่อันดับ 8”
สนใจปล่อยกู้ syndicated loan
นายธนัญชัย สัจจะปรเมษฐ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานการเงิน (CFO) บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทมีความสนใจจะปล่อยกู้ร่วม (syndicated loan) กับธนาคารในโครงการใหญ่ ๆ ที่น่าสนใจ เช่น โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ หรือโรงไฟฟ้า เป็นต้น
เพียงแต่เงื่อนไขบางอย่างทำให้ลงทุนได้ยาก เช่น เรื่องอัตราส่วนการให้สินเชื่อโดยเทียบกับมูลค่าหลักประกัน (LTV) ที่ประกันลงทุนได้ไม่เกิน 10% ของมูลค่าทั้งหมดของแต่ละโครงการ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย และห้ามบริษัทประกันเป็น lead arranger
“เรื่องนี้พยายามเสนอสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อยู่ เพื่อผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจเข้าไปลงทุนได้จริงมากขึ้น
ปั้นพอร์ต 6 แสนล้าน รีเทิร์น 3-4%
โดยปี 2566 บริษัทคาดหวังจะบริหารผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) ให้อยู่ที่ระดับ 3-4% ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมาได้ ภายใต้สินทรัพย์รวมมากกว่า 6 แสนล้านบาท โดยกว่า 95% เป็นสินทรัพย์ลงทุน ซึ่งตามแผนยังคงสัดส่วนพอร์ตลงทุ
โดยปีนี้เนื่องจากบอนด์ยีลด์
ขณะเดียวกันพยายามเสริ
ส่วนพอร์ตที่เหลือมาจากปล่อยสิ
“เราคือผู้บริหารด้านความเสี่
ภาพรวมเบี้ยประกันของบริษัทปิ
โดยให้ความสำคัญต่อมูลค่
ข้อมูลล่าสุดในสมาคมประกันชีวิ
โดยเป็นผลจากเบี้ยปีต่ออายุ