
เปิด 6 เรื่องที่นักลงทุนควรรู้ก่อนลงทุนในกองทุนรวม
สำหรับมือใหม่ หรือ มนุษย์เงินเดือน เมื่อเลือกที่จะเริ่มต้นลงทุนอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะสินทรัพย์ลงทุนบนโลกใบนี้มีหลากหลายประเภท ดังนั้นแล้ว กองทุนรวม จึงเป็นตัวหนึ่งทำให้ชีวิตการลงทุนง่ายขึ้น
รู้จัก “กองทุนรวม (Mutual Fund)” คือ การระดมเงินลงทุนจากคนจำนวนมาก แล้วให้ “ผู้จัดการกองทุน” ที่เป็นมืออาชีพ และมีความเชี่ยวชาญในการลงทุน นำเงินของเราไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน และแบ่ง ผลตอบแทน กลับมาให้เรา เมื่อสามารถทำกำไรได้ ทำให้การลงทุนนั้นง่ายขึ้นมากในช่วงเริ่มต้น ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม 6 เรื่องที่นักลงทุนควรรู้ ได้แก่
สำรวจตนเอง
ก่อนจะลงทุนสิ่งสำคัญอันดับแรกก็คือ การสำรวจตนเอง คือดูว่ารับความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากหรือน้อยเพียงใด โดยการสำรวจความเสี่ยงนั้นสามารถทำได้โดยตอบแบบสอบถามประเมินความเสี่ยงจากธนาคาร บลจ. หรือตัวแทนจำหน่ายที่ท่านเปิดบัญชีซื้อ-ขายกองทุนรวม อย่างไรก็ตาม บางท่านอาจรับความเสี่ยงได้ไม่ตรงกับแบบประเมินที่ทำก็เป็นได้ หากยังไม่เคยลงทุนจริง
โดยในช่วงตอบแบบสอบถามสามารถรับความเสี่ยงได้สูง แต่เมื่อลงทุนกลับไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ เนื่องจากจริตการลงทุนของแต่ลงคนแตกต่างกันไป ดังนั้นสำหรับมือใหม่แล้ว การลงทุนในครั้งแรกอาจใช้เงินลงทุนจำนวนไม่มากเพื่อทดสอบความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ก่อนเพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น และสามารถเลือกลงทุนให้ตรงกับความเสี่ยงที่รับได้ในครั้งถัด ๆ ไป
ดูนโยบายการลงทุน
นโยบาย การลงทุน ในกองทุนรวมหลัก ๆ จะแบ่งเป็น 5 ประเภท
- กองทุนรวมตลาดเงิน : ลงทุนในเงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งภาครัฐและเอกชน ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจะต่ำที่สุดถ้าเทียบกับกองทุนในประเภทอื่น ๆ
- กองทุนรวมตราสารหนี้ : ลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้บริษัทเอกชน มีความผันผวนมากขึ้น และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน ความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง
- กองทุนรวมตราสารทุน : ลงทุนในตราสารทุน หรือหุ้นที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งในและนอกประเทศ ความเสี่ยงปานกลางถึงสูง มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่ก็มีโอกาสขาดทุนสูงขึ้นเช่นเดียวกับพอร์ตการลงทุน
- กองทุนรวมทางเลือก แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
- กองทุนที่ลงทุนกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ ให้เช่า: ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า โดยนำเงินค่าเช่ามาจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ลงทุน ความเสี่ยงปานกลาง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอ
- ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น น้ำมัน ทองคำ ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนผันผวนตามราคาโภคภัณฑ์
5. กองทุนรวมผสม : ลงทุนในสินทรัพย์ตั้งแต่ข้อ 1-ข้อ 4 ผสมกัน สัดส่วนการลงทุนระหว่างสินทรัพย์ต่าง ๆ จะเป็นเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทุน และการบริหารของผู้จัดการกองทุนนั้น ๆ ผลตอบแทนและความเสี่ยงขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุนของกองทุน
ผลการดำเนินงานในอดีต
ผลตอบแทนย้อนหลังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่นักลงทุนทั้งหน้าใหม่หน้าเก่านิยมดูก่อนการตัดสินใจลงทุนในกองทุนนั้น ๆ ผู้ลงทุนสามารถเปรียบเทียบกองทุนกับดัชนีมาตรฐานได้ดังนี้ เช่น
- กองทุนหุ้นไทย เปรียบเทียบกับดัชนี SET Index TRI
- กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในหุ้นทั่วโลก เปรียบเทียบกับดัชนี MSCI World Index
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมกองทุนก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญมาก ซึ่งอาจเป็นตัวที่ทำให้ผลตอบแทนน้อยลงไปกว่าที่ควรจะเป็น เพราะต้องแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาจ่ายค่าธรรมเนียม โดยค่าธรรมเนียมกองทุนนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
- ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุุน : เป็นค่าธรรมเนียมที่ถูกเรียกเก็บทันทีเมื่อเกิดธุรกรรมซื้อ หรือขายกองทุนรวม โดยมีค่าธรรมเนียมที่เราควรรู้จักดังนี้
- ค่าธรรมเนียมขาย : จะถูกเรียกเก็บเมื่อซื้อหน่วยลงทุน
- ค่าธรรมเนียมซื้อ : จะถูกเรียกเก็บเมื่อขายคืนหน่วยลงทุน
- ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ : จะถูกเก็บเมื่อทำรายการซื้อและขายหน่วยลงทุน
- ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม : ค่าธรรมเนียมนี้จะคิดเป็น % ของ NAV ต่อปี โดยจะคิดรวมในหน่วยลงทุน ดังนั้นแล้ว อัตราผลตอบแทนที่เห็นนั้นจะเป็นผลตอบแทนที่รวมค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนไว้แล้ว ไม่ต้องนำมาคำนวณแยกอีกครั้งหนึ่ง
เงื่อนไขการซื้อ-ขาย
กองทุนรวมแต่ละกองมีเงื่อนไขการลงทุนไม่เหมือนกัน จึงต้องศึกษาในรายละเอียด
- เงื่อนไขการซื้อ
- จำนวนเงินซื้อขั้นต่ำในครั้งแรก และครั้งถัดไป
- ระยะเวลาในการรับคำสั่งซื้อ : เช่น 08.30-15.00 น. หรือบางกองทุนอาจไม่สามารถทำรายการซื้อได้ทุกวันทำการ จะมีตารางการขายที่เป็นการเฉพาะเจาะจงวันที่
- วิธีการซื้อ : เช่น ตัด บัตรเครดิต ตัดบัญชี สับเปลี่ยนกองทุน จ่ายเช็ค เป็นต้น
- ช่องทางการซื้อ : เช่น ออนไลน์ สาขาของธนาคาร บลจ. ตัวแทนจำหน่าย
- เงื่อนไขการขาย
- จำนวนเงินขั้นต่ำในการขายคืน
- ระยะเวลาในการรับคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุน : เช่น 08.30-15.00 น. หรือบางกองทุนอาจไม่สามารถทำรายการขายคืนได้ทุกวันทำการ จะมีตารางการขายที่เป็นการเฉพาะเจาะจงวันที่
- ระยะเวลารับเงินค่าขายคืนกองทุนรวม เช่น การชำระเงินค่าขายคืน T+4 จะได้รับเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนใน 4 วันทำการนับจากวันที่ขายคืน อย่างขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคือ วันศุกร์ หากไม่ติดวันหยุดใด ๆ
- ช่องทางการซื้อ : เช่น ออนไลน์ สาขาของธนาคาร บลจ. ตัวแทนจำหน่าย
ตรวจสอบและติดตามอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูล : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)