
วิจัยกรุงศรีคาด กนง.คงดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.50% ตลอดในปีหน้า หลังมีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50% และปรับเศรษฐกิจไทยในปีนี้เติบโต 2.8% และขยายตัวสูงขึ้น 4.4% ในปี’67 จากบริโภคที่ขยายตัวแข็งแกร่ง-เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในกรอบเป้าหมายอยู่ที่ 1.6% ย้ำต้องติดตามความเสี่ยงนโยบายภาครัฐ-ต้นทุนราคาอาหารที่ปรับสูงขึ้นจากผลกระทบเอลนีโญ
วันที่ 3 ตุลาคม 2566 วิจัยกรุงศรีประเมินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ 2.50% สะท้อนว่า กนง.ได้ให้ความสำคัญแก่แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามากกว่าข้อมูลที่ผ่านมา และได้คำนึงถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำลังจะนำมาดำเนินการในปีหน้า
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เข้าบัญชีวันนี้ 5 จังหวัด
- วิธีเช็กเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท chongkho.inbaac.com
- เช็กเงื่อนไขกู้ “ออมสิน” ปลดหนี้นอกระบบ คุณสมบัติผู้กู้ต้องมีอะไรบ้าง ?
ด้านผู้ว่าการ ธปท.กล่าวภายหลังการประชุมว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันเป็น neutral rate ซึ่งเป็นระดับที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับศักยภาพ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย
สอดคล้องกับถ้อยแถลงในรายงานการประชุมที่ระบุว่า “การทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่ผ่ามมาจนถึงการประชุมครั้งนี้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว” ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าอาจจบวงจรดอกเบี้ยขาขึ้นในรอบนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ธปท.จะมีมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจค่อนข้างดี แต่วิจัยกรุงศรีคาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่ทั่วถึงในแต่ละภาคส่วน และยังมีความไม่แน่นอน ทั้งจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการดำเนินนโยบายทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อจากการดำเนินนโยบายของภาครัฐและการส่งผ่านต้นทุนอาจมีผลจำกัด เนื่องจากปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ยังใช้งานไม่เต็มศักยภาพ
วิจัยกรุงศรีคาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ในปีหน้า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดโรคระบาดที่ 1.50% และใกล้เคียงกับตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของ ธปท.ที่ 2.6% เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินและช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยเดือนสิงหาคมยังได้แรงหนุนจากภาคท่องเที่ยว ขณะที่อุปสงค์ในประเทศแผ่วลง ธปท.รายงานเศรษฐกิจโดยรวมเดือนสิงหาคมอยู่ในทิศทางฟื้นตัวตามรายรับในภาคการท่องเที่ยว ขณะที่อุปสงค์ในประเทศชะลอลงบ้างหลังจากเร่งตัวไปในเดือนก่อน
โดยการบริโภคภาคเอกชนชะลอลง (+6.9% YOY VS +7.3% เดือนกรกฎาคม) จากหมวดการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนและสินค้าคงทนเป็นสำคัญ แต่การใช้จ่ายในหมวดบริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ
ด้านการลงทุนภาคเอกชนกลับมาหดตัว (-3.5% VS +1.3%) จากการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่หมวดก่อสร้างยังขยายตัว ส่วนมูลค่าการส่งออกหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 (-1.8%) การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวมากสุดในรอบ 4 เดือน (-7.5%)
แม้เศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว แต่ยังไม่กระจายถ้วนทั่วในแต่ละภาคส่วน และยังต้องมีมาตรการสนับสนุนเพื่อให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากการลงทุนภาคเอกชนที่ยังมีทิศทางฟื้นตัวไม่ชัดเจน โดยกลับมาติดลบอีกครั้งในเดือนสิงหาคม
เช่นเดียวกับภาคส่งออกที่ยังอ่อนแอ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนแม้เติบโตแข็งแกร่งในช่วงก่อนหน้า แต่เริ่มมีสัญญาณแผ่วลงบ้าง
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการบริโภคจะยังเติบโตได้ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีอานิสงส์จากมาตรการภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพจากการปรับลดค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันดีเซล รวมถึงมาตรการพักหนี้เกษตรกรที่เริ่มในเดือนตุลาคม
นอกจากนี้ ในส่วนของภาคท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวยังได้แรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากมาตรการวีซ่าฟรีชั่วคราวแก่นักท่องเที่ยวจีนและคาซัคสถาน วิจัยกรุงศรีคาดจะเป็นปัจจัยบวกช่วยหนุนให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมทั้งปีอยู่ที่ 28.5 ล้านคน