ไวรัสโคโรน่า กดดันดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนเดือนก.พ. ร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

“FETCO” เผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนประจำเดือน ก.พ.63 ร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 72.75 จุด เหตุไวรัสโคโรน่ากระทบท่องเที่ยวไทยทรุดหนัก “ไพบูลย์” ชี้สมาคมนักวิเคราะห์ฯ เล็งปรับเป้า SET Index ปี’63 ลงจากเดิมให้ไว้ที่ 1,700 จุด

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ในเกณฑ์ซบเซา (Bearish) เป็นเดือนแรกในรอบ 4 ปี โดยผลสำรวจพบว่านักลงทุนกังวลสถานการณ์การท่องเที่ยวและสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุน ขณะที่นักลงทุนผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะการประกาศปันผลของบริษัทจดทะเบียน นโยบายภาครัฐ และภาวะเศรษฐกิจในประเทศจากการลงนามทางการค้าของสหรัฐและจีน เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด

โดยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้

– ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (เมษายน 2563) อยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา” (Bearish) (ช่วงค่าดัชนี 40 – 79) โดยลดลง 9.91% มาอยู่ที่ระดับ 72.75

– ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

– ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

– ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศลดลงมาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

– ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนรายบุคคลเพิ่มขึ้นอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)

– หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดการแพทย์ (HELTH)

– หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM)

– ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน

– ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ สถานการณ์การท่องเที่ยว

“ผลสำรวจ ณ เดือนมกราคม ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนปรับตัวลดลงมาอยู่เกณฑ์ซบเซาเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี หรือตั้งแต่เราเริ่มทำการสำรวจ โดยความเชื่อมั่นนักลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ซบเซา หากพิจารณารายกลุ่ม กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศลดลงมาอยู่ที่เกณฑ์ซบเซาจากเกณฑ์ทรงตัวในเดือนก่อน ขณะที่กลุ่มบัญชีนักลงทุนรายบุคคลเพิ่มขึ้นจากเกณฑ์ซบเซามาอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว และกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่เกณฑ์ซบเซาเช่นเดิม” นายไพบูลย์ กล่าว
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ในเดือน ม.ค.63 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ มีเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยช่วงต้นเดือน ดัชนีทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับใกล้เคียง 1,600 จุด จากนั้นปรับตัวลดลงมากในระยะสั้นมาอยู่ที่ระดับ 1,550 จุด จากปัจจัยความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและอิหร่าน และฟื้นตัวขึ้นโดยได้รับผลดีจากการลงนามข้อตกลงการค้าขั้นที่ 1 ระหว่างสหรัฐและจีน โดยดัชนีทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1,600 จุด ในช่วงกลางเดือน จากนั้นดัชนีเคลื่อนไหวลดลงค่อนข้างมากจากร่างพรบ.งบประมาณล่าช้าและปัญหาการแพร่ขยายของเชื้อไวรัสโคโรน่าในจีนและการห้ามนักท่องเที่ยวจีนกรุ๊ปทัวร์เดินทางไปยังต่างประเทศ โดยดัชนีฯ ลดลงมาอยู่ที่ 1,510-1,520 จุดในช่วงปลายเดือน

ทั้งนี้ สำหรับเป้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ SET (SET Index) ปี’63 สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) ยังคงเป้าหมายดัชนีที่ 1,700 จุด อย่างไรก็ตาม ชี้ว่าในระยะข้างหน้ามีความเสี่ยงที่จะปรับเป้าดัชนีในปีนี้ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบที่เข้ามากระทบตลาดทุน

ขณะที่ทิศทางการลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุดคือผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน รองลงมาคือนโยบายภาครัฐและภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่นักลงทุนกังวล การท่องเที่ยวจากปัญหาเชื้อไวรัสโคโรน่าที่ส่งผลต่อนักท่องเที่ยวจีนในไทยเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือความขัดแย้งระหว่างประเทศจากปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง

สำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจโลกที่ต้องติดตามได้แก่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกจากเชื้อไวรัสโคโรน่า ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังการลงนามข้อตกลงทางการค้าขั้นที่ 1 ทิศ ทางนโยบายทางการเงินและนโยบายทางเศรษฐกิจของธนาคารกลางทั่วโลก สำหรับปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตามคือการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาล นโยบายเศรษฐกิจภาครัฐเพื่อกระตุ้นการลงทุน การส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว แนวโน้มค่าเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าลง ผลของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย และการไหลเข้าออกของเงินทุน

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยดัชนีคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 5 ปีและ 10 ปี ในรอบการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีนาคม 2563 (ประมาณ 7 สัปดาห์ข้างหน้า) อยู่ที่ระดับ 50 และ 66 ตามลำดับ ลดลงจากครั้งที่แล้วเล็กน้อยเนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลได้ปรับลดลงแล้วในช่วงต้นปีก่อนทำการสารวจความเห็น ซึ่งได้มีการรับรู้เหตุการณ์แพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส การปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย และความล่าช้าของการอนุมัติงบประมาณ ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในจุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์แล้วจึงมีโอกาสลดลงอีกไม่มาก


โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่มีมุมมองว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงมีจานวนมากขึ้น ดัชนีคาดการณ์จึงยังคงอยู่ในเกณฑ์ “ไม่เปลี่ยนแปลง (Unchanged)” จาก 1.11% ในรุ่นอายุ 5 ปี และ 1.28% ในรุ่นอายุ 10 ปี ณ วันที่ทาการสารวจ (3 ก.พ. 63) โดยปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ อุปสงค์อุปทานในตลาดตราสารหนี้ที่ทรงตัว การขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว แนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกที่ทรงตัว และเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (Fund flow) ที่ลดลง