“การบินไทย” ขาดทุนรอบปี’63 พุ่ง 1.4 แสนล้าน เหตุค่าใช้จ่ายสูง

การบินไทย

“การบินไทย” เปิดผลขาดทุนรอบปี 2563 พุ่งขึ้น 1.4 แสนล้านบาท เหตุค่าใช้จ่ายคงที่สูง-ขาดรายได้

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นำส่งงบการเงินของบริษัท และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2563

โดยในปี 2563 การบินไทย และบริษัทย่อยมีปริมาณการผผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ลดลง 73.7% ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 78.5% อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 64.7% ต่ำกว่าปีก่อนซึ่ง เฉลี่ยที่ 79.1% และมีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 5.87 ล้านคน ลดลงจากปีก่อน 76.1%

สำหรับด้านการขนส่งสินค้ามีปริมาณการผลิตด้านพัสดุภัณฑ์ (ADTK) ต่ำกว่าปีก่อน 74.3% ปริมาณการขนส่งพัสดุภัณฑ์ (RFTK) ต่ำกว่าปีก่อน 72.0% อัตราส่วนการขนส่งพัสดุกัณฑ์ (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 58.6% สูงกว่าปีก่อนที่เฉลี่ยเท่ากับ 53.8%

บริษัทฯ ได้ดำเนินมาตรการเพื่อลดค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างเข้มงวด โดยในปี 2563 การบินไทยและบริษัทย่อย มีรายได้รวมทั้งสิ้น 48,311 ล้นบาท ต่ำกว่าปีก่อน 135,735 ล้านบาท หรือ 73.8% สาเหตุสำคัญเนื่องจากทั้งรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง 125,772 ล้านบาท (75.4%) รายได้จากการบริการอื่นๆ ลดลง 7,554 ล้านบาท (53.1%) เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ ทั้งของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ

สำหรับค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 96,430 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 100,040 ล้านบาท (50.9%) สาเหตุหลักเกิดจากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่แปรผันตามปริมาณการผลิตและ/หรือ ปริมาณ การขนส่ง และหรือจำนวนผู้โดยสารลดลง อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายคงที่ที่อยู่ในระดับสูง ทำให้การลดลงของค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอที่จะชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป ส่งผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงาน 48,119 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 35,695 ล้านบาท (287.3%)

นอกจากนั้น ในปี 2563 การบินไทย และบริษัทย่อย มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม 91,978 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • สำรองเงินชดเชยพนักงานในโครงการร่วมใจจากองค์กร จำนวน 3,098 ล้านบาท
  • ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินและสินทรัพย์สิทธิการใช้และอุปกรณ์การบินหมุนเวียน จำนวน 82,703 ล้านบาท
  • ผลขาดทุนจกการด้อยค่าซึ่งป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 จำนวน 261 ล้านบาท
  • กำไรจกการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนงินลงทุนในบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 206 ล้านบาท
  • ขาดทุนจากอัตราแลกปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจำนวน 895 ล้านบาท
  • ผลขาดทุนสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มรายการของฐานะสุทธิจำนวน 5,227 ถ้นบาท

ทั้งนี้ การบินไทย และบริษัทย่อย มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิในปี 2563 จำนวน 141,180 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 129,163 ล้านบาท โดยเป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 141,171 ล้านบาท คิดเป็นขาดทุนต่อหุ้น 64.68 บาท

ในขณะที่ปีก่อนขาดทุนต่อหุ้น 5.51 บาท โดยมีกำไรก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องบินและสินทรัพย์สิทธิการใช้และอุปกรณ์การบินหมุนเวียน ผลขาดทุนจากการด้อยค่าซึ่งเป็นไปตาม TFRS9

ผลขาดทุนสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มรายการของฐานะสุทธิ และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (EBITDA) ติดลบ จำนวน 11,319 ล้นบาท ในขณะที่ปีก่อนมีกำไรเท่ากับ 9,345 ล้านบาท โดยมี EBITDA Margin เท่ากับ -23.4% เปรียบเทียบกับปีก่อนที่เท่ากับ 5.1%

โดย ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2563 การบินไทยและบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 208,791 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธ.ค. 2562 จำนวน 46,017 ล้านบาท (18.1%) มีหนี้สินรวมจำนวน 337,456 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2562 จำนวน 94,414 ล้านบาท (38.8%) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีจำนวน -128,665 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธ.ค. 2562 จำนวน 140,431 ส้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2563 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้บริษัทฟื้นฟูกิจการและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะผู้ทำแผนตามที่บริษัทเสนอ ต่อมาพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ลงประกาศคำสั่งศาลให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งคณะผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2563


ขณะนี้คณะผู้ทำแผนอยู่ระหว่างจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการโดยศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้ผู้ทำแผนยื่นส่งแผนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในวันที่ 2 มี.ค. 2564 และเมื่อได้ยื่นส่งแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท และศาลล้มละลายกลางจะพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป