รัฐวิสาหกิจ ส่งรายได้เข้ารัฐ 7 เดือน ต่ำเป้า 3.1 หมื่นล้านบาท

เศรษฐกิจไทย

รัฐวิสาหกิจ ส่งรายได้เข้ารัฐ 7 เดือน ต่ำเป้า 3.1 หมื่นล้านบาท หลังโดนโควิดกระทบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้รายงานการนำเงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ช่วง 7 เดือนของปีงบประมาณ 2564 (.. 2563-เม.. 2564)  ต่ำกว่าประมาณไว้ถึง 31,926 ล้านบาท โดยเป้าหมายตามประมาณการไว้ที่ 108,920 ล้านบาท  แต่นำส่งจริง 76,994 ล้านบาท

ส่วนสาเหตุที่การนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าเป้าหมายนั้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19  มีผลกระทบต่อรายได้และกำไรของรัฐวิสาหกิจลดลง   อาทิ  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน. )  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ขณะที่ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์  บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)   มีเงินนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินรวม 15,605 ล้านบาท ขณะที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. มีกำไรลดลง นำส่งเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่ำกว่าประมาณการ 7,343 ล้านบาท 

สำหรับรัฐวิสาหกิจ 5 อันดับแรกที่นำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินมากสุด ได้แก่ ปตท. นำส่งจริง 11,971 ล้านบาท  ต่ำกว่าประมาณ 224 ล้านบาท โดยประมาณการอยู่ที่ 12,195 ล้านบาท  ซึ่งการนำส่งนั้นเป็นการนำส่งตามสัดส่วนการถือหุ้นที่กระทรวงการคลังถือหุ้น14.59 ล้านหุ้น หุ้นละ 0.82 บาท   กฟผ.นำส่งจริง 9,260 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,260 ล้านบาท โดยประมาณการจริงอยู่ที่ 10,521 ล้านบาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล นำส่งจริง 3,312 ล้านบาท สูงกว่าประมาณ 368 ล้านบาท โดยประมาณอยู่ที่ 3,312 ล้านบาท  การยาสูบแห่งประเทศไทย นำส่ง 2,190 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากกำไรปี 2563 และส่วนที่ค้างจากการนำส่งเมื่อปี 2560-2561  และการประปานครหลวง นำส่งจริง 701 ล้านบาท 

ขณะที่การจัดเก็บรายได้ของกรมภาษี อาทิ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ก็ไม่เป็นไปตามเป้าหมายทั้งสิ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐพลาดเป้า ทำให้กระทรวงการคลัง ได้เร่งรัดให้ทุกส่วนงาน เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ เพื่อให้ใกล้เป้าหมายการประมาณการณ์ให้มากที่สุด โดยปีงบประมาณ 2564 รัฐบาล ได้กำหนดเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ไว้ที่ อยู่ที่ 2.67 ล้านล้านบาท