ส่องรายได้ “TFM” บริษัทในเครือไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ก่อนเทรดวันแรก 29 ต.ค.

ส่องรายได้ “TFM” บริษัทในเครือไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ก่อนเทรดวันแรก 29 ต.ค.

บมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด หรือ TFM บริษัทในเครือไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เตรียมเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 29 ต.ค.64  

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFM  บริษัทในเครือไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป หรือ TU  ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เตรียมซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 29 ต.ค.64 โดยบริษัทมีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ อาหารกุ้ง อาหารปลาและอาหารสัตว์บก  ซึ่งบริษัทมีรายได้หลักเกือบทั้งหมดมาจากรายได้จากการขาย โดยมีโครงสร้างรายได้สำหรับปี 2561 – 2563 และสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และ 2564 แสดงได้ดังตารางต่อไปนี้

รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่

โครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 และภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน (IPO) รวมถึงรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 รายแรก สรุปได้ดังนี้

ขายหุ้นไอพีโอ  109,300,000 หุ้น 

(1)  หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 90,000,000 หุ้น

(2)  หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดยบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จำนวนไม่เกิน 19,300,000 หุ้น

รวมทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน ร้อยละ 21.9 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน (รวมถึงกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของ TU) เป็นครั้งแรกนี้  โดยมีสัดส่วนการเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ลงทุนดังนี้

IPO ที่ 13.50  บาท/หุ้น เปิดจองซื้อ 19 – 21 ต.ค. 2564

แผนการระดมทุน

โดยสัดส่วนการประมาณการใช้เงินข้างต้น เป็นไปตามแผนธุรกิจในปัจจุบัน และเป็นประมาณการที่ดีที่สุดในการจัดสรรเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนงานของบริษัท และประมาณการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของบริษัทในปัจจุบัน ส่วนแผนงานของบริษัท ในอนาคต และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง อาจแตกต่างกันไป

จ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 50%

TFM มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง รวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 50.0 ของกำไรสุทธิตามงบการเงินรวม หลังหักทุนสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามข้อบังคับของบริษัทย่อย และตามกฎหมายแล้ว

โดยจำนวนเงินปันผลที่จ่ายจะต้องไม่เกินกว่ากำไรสะสมของงบการเงินเฉพาะกิจการ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทย่อยจะพิจารณาการจ่ายเงินปันผลโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นเป็นหลัก เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทย่อย กระแสเงินสดของบริษัทย่อย แผนการลงทุนของบริษัทย่อย ในแต่ละปี และความจำเป็นในการใช้เงินทุนเพื่อขยายธุรกิจในอนาคต