ส่องภาวะเศรษฐกิจแต่ละภาค ไปดูกันภาคไหนฟื้น-ภาคไหนฟุบ

ทุกสิ่งที่ต้องรู้ หากเดินทางมาประเทศไทย
FILE PHOTO : The Washington Post

สศค. ชี้เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือน พ.ย.2564 ปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก-ภาคกลาง จากการบริโภคภาคเอกชน-การลงทุนภาคเอกชนที่ทยอยฟื้นตัว ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค-ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

โดยนายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยมีรายละเอียดแต่ละภาค ดังนี้

ภาคตะวันออก

“ปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น”

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 42.5 และ 37.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 33.0 สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 123.0 ด้วยจำนวนเงินทุน 3.7 พันล้านบาท จากโรงงานสร้าง ประกอบ ดัดแปลง เปลี่ยนแปลงสภาพ การทำชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สำหรับรถยนต์ รถโดยสาร รถพ่วง รถบรรทุก ทุกประเภท ทั้งที่ใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติหรือไฟฟ้า ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสำคัญ

เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.4 นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.8 และ 106.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.8 และ 103.4 ตามลำดับ

ภาคกลาง

“ปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น”

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 19.6 และ 20.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -11.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 41.5 สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.7 ด้วยจำนวนเงินทุน 1.4 พันล้านบาท จากโรงงานแบ่งบรรจุสินค้า ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ

เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.9 นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่นพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 44.1 และ 85.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.0 และ 82.1 ตามลำดับ

ภาคตะวันตก

“ปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะจากการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น”

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.8 ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.3 แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อยร้อยละ -1.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 77.6 ด้วยจำนวนเงินทุน 0.2 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคา ในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.6 และ 27.4 ตามลำดับ

นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 44.1 และ 85.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.0 และ 82.1 ตามลำดับ

กทม. และปริมณฑล

“ปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะจากการบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น”

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 6.6 และ 19.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 28.3

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 ในขณะที่ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการและจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ชะลอลงร้อยละ -15.1 และ -27.9 ต่อปี ตามลำดับ

นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่นพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 43.5 และ 85.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 42.3 และ 82.1 ตามลำดับ

ภาคเหนือ

“ปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะจากการบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น”

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 17.0 และ 14.7 ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 9.6

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.6 ในขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการและจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ยังชะลอตัว

นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 47.7 และ 63.7 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.8 และ 60.9 ตามลำดับ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

“ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะจากการบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น”

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 6.8 และ 22.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 25.6 สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.9 ในขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการและจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ยังชะลอตัว

นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 48.9 และ 77.3 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.0 และ 74.1 ตามลำดับ

ภาคใต้

“ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะจากการบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น”

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 27.8 และ 13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -12.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 15.8

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.3 จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 20.3 ต่อปี แต่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -8.6 ในขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังชะลอตัว

นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.1 และ 82.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 40.0 และ 79.9 ตามลำดับ