บทสวดมนต์ข้ามปี 2566 เสริมดวงชะตา เสริมบุญบารมี ต้อนรับปีใหม่

บทสวดมนต์ข้ามปี 2566
ภาพจาก pixabay

รวม 9 บทสวดมนต์ข้ามปี สำหรับสวดในคืนสุดท้ายของปี 2565 ต้อนรับวันแรกของปี 2566 เสริมดวงชะตา เสริมบุญบารมี สวดเองได้ง่าย ๆ ทั้งที่บ้านและที่วัด

การสวดมนต์ข้ามปี เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติในคืนข้ามปี ระหว่าง 31 ธันวาคม ถึง 1 มกราคม โดยกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศาสนา จัดกิจกรรมนี้ขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2548 ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพราะถือเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ แทนการฉลองด้วยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นสาเหตุของความรุนแรง การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร

สำหรับปีนี้ ใครที่ต้องการสวดมนต์ข้ามปีเพื่อเสริมบุญบารมี เสริมดวงชะตา ต้อนรับปีใหม่ 2566 “ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมบทสวดมนต์ข้ามปีที่เป็นสิริมงคล สั้น กระชับ ไว้ให้แล้ว

แต่ก่อนที่จะเริ่มต้นสวดมนต์ข้ามปี จะต้องมีการเตรียมพร้อมดังนี้

  • การแต่งกาย ควรแต่งกายด้วยชุดที่สุภาพเหมาะสม หากชุดขาวได้จะดี
  • กินแต่พอดี ไม่ควรรับประทานอาหารหรือน้ำมากเกินไป เพราะหากนั่งสวดมนต์นานจะทำให้เกิดการกดทับกระเพราะอาหารส่งผลให้ท้องอืดอาหารไม่ย่อย หรือปวดปัสสาวะบ่อยครั้งจนต้องลุกเข้าห้องน้ำ
  • บริหารกำลังกาย ก่อนสวดมนต์ควรบริหารร่างกายเพื่อให้นั่งสวดมนต์ได้เป็นเวลานาน ไม่ติดขัด
  • รักษาศีล 5 ทำจิตใจให้บริสุทธิ์และควรนั่งสมาธิกำหนดสติ

เมื่อพร้อมแล้ว เตรียมเปล่งเสียงสวดมนต์เพื่อสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ด้วยน้ำเสียงชัดถ้อยชัดคำ ถูกอักขรวิธี พร้อมระลึกถึงคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคำสอน และคุณความดีของพระสงฆ์สาวก ดังนี้

บทที่ 1 คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ

บทที่ 2 บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

บทที่ 3 นมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)

บทที่ 4 สมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

บทที่ 5 บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย

บทพระพุทธคุณ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู

อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา

เทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

บทพระธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม

สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก

โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

บทพระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

บทที่ 6 บทมงคลสูตร (ป้องกันอันตราย เพิ่มสิริมงคลรับปีใหม่)

เอวัมเม สุตังฯ

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน

อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา

อะภิกกันตายะ รัตติยา อภิกกันตะวัณณา

เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตะวา

เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ

อุปะสังกะมิตะวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตะวา

เอกะมันตัง อัฏฐาสิ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา

ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ

พะหู เทวา มะนุสสา จะ มัคะลานิ อะจินตะยุง

อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง

อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา

ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา

อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต

สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห

อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห

อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง

กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง

นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ

อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมังฯ

เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา

สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติฯ

บทที่ 7 บทโพชฌังคปริตร (หายจากโรคภัย ไข้เจ็บ)

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา

วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร

สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเต เต สัพพะทัสสินา

มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตกา พะหุลีกะตา

สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต สัพพะทาฯ

เอกัสะมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง

คิลาเน ทุกขิเต ทิสะวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ

เต จะ ตัง อะภินันทิตะวา โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

เอะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญนะ ภะนาเปตะวานะ สาทะรัง

สัมโมทิตะวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทาฯ

ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง

มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

บทที่ 8 บทพุทธชัยมงคลคาถา (ชนะอุปสรรคทั้งปวง)

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง

ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง

ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง

เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง

อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ

สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง

ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต

อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมังวิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง

ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที

หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ

บทที่ 9 บทแผ่เมตตา แผ่เมตตาให้แก่ตัวเราเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข)

อะหัง นิททุกโข โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์)

อะหัง อะเวโร โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร)

อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ (ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง)

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ (ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด)

บทแผ่เมตตาทั่วไป

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวราโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพยาปัชฌาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆาโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ

บทสวดกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อานิสงส์ของการสวดมนต์

มนต์ หมายถึง พุทธมนต์ เป็นโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้ การที่ชาวพุทธสวดมนต์เป็นการทบทวนพุทธโอวาท เมื่อทบทวนข้อธรรมมะของพระองค์ก็ได้ชื่อว่า

  1. เคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นต้นมนต์
  2. เคารพในพระธรรม เพราะข้อความที่สวดเป็นธรรม
  3. เคารพในพระสงฆ์ เพราะบทสวดมนต์ได้ถ่ายทอดมาโดยพระสงฆ์

การเคารพพระรัตนตรัย ทำให้เรามีโอกาสสร้างบุญได้ต่อไป แม้ขณะที่กำลังสวด ผลบุญที่เกิดเป็นลำดับ ๆ แล้วตั้งแต่ขณะสวด ร่างกายของเราอยู่ในอาการอันสงบ ศีลไม่ขาด จิตใจสงบ เป็นสมาธิเมื่อทบทวนธรรมะ ปัญญาก็งอกงามไปตามลำดับ ๆ


ผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำเป็นผู้ที่มีโอกาสพิจารณาตนเองได้มาก ไม่วู่วาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำ จะมีผลเนื่องมาจากใจที่สงบของเขา ใจที่เกาะอยู่ในธรรม ใจเขาจะสะอาดและใสมาก เมื่อมีเหตุอะไรเกิดขึ้นกับตัว แม้เราจะตอบเหตุผลไม่ได้ แต่จะเกิดการสังหรณ์ เพราะใจสัมผัสได้เร็ว จะเตรียมตัวรับได้ง่าย