ฝุ่น PM 2.5 กทม. (14 มี.ค.) เช้านี้ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 55 พื้นที่

ฝุ่น PM 2.5 เช้านี้ (14 มี.ค.)
ศูนย์ภาพเครือมติชน

ฝุ่น PM 2.5 เช้านี้ (14 มี.ค.) กทม. เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 55 พื้นที่

วันที่ 14 มีนาคม 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครสรุปผลการตรวจวัด PM 2.5 วันที่ 14 มี.ค. 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 39-75 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 55.0 มคก./ลบ.ม. ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพบางพื้นที่

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ 41-75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 55 พื้นที่ คือ

1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 75 มคก./ลบ.ม.

2.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม.

3.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 71 มคก./ลบ.ม.

4.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.

5.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 69 มคก./ลบ.ม.

6.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.

7.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 67 มคก./ลบ.ม.

8.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.

9.สวนหนองจอก เขตหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.

10.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.

11.เขตบางบอน ใกล้ตลาดสุขสวัสดี : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

12.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

13.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.

14.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.

15.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.

16.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.

17.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.

18.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.

19.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.

20.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.

21.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

22.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

23.สวนพระนคร เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

24.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.

25.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

26.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

27.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

28.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.

29.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.

30.เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.

31.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.

32.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

33.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

34.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.

35.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.

36.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.

37.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

38.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

39.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

40.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

41.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

42.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

43.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

44.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

45.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

46.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

47.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

48.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

49.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

50.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

51.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

52.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

53.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม: มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

54.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

55.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

1.ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ในช่วงวันที่ 14-22 มี.ค. 2566 อากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ช่วงวันที่ 14-15 มี.ค. 2566 เป็นช่วงที่ควรเฝ้าระวังการสะสะสมตัวของฝุ่นละอองเนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่ได้ ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 14-23 มี.ค. 2566

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ลมใต้ และตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมแทนที่ อากาศจะเริ่มร้อนขึ้น (ยังไม่ถึงร้อนจัด) และมีหย่อมความกดอากาศต่ำเข้ามาปกคลุมแทน ควรระมัดระวังรักษาสุขภาพจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้งที่ควรระวังโรคลมแดดและวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆบางส่วน

วันที่ 16 มี.ค. 2566 เป็นต้นไปสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตามช่วงระหว่างวันที่ 14-15 มี.ค. 2566 เป็นช่วงที่ควรเฝ้าระวังของพื้นที่เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่ได้

2.จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 14 มีนาคม 2566 จำนวน 2 จุด เวลา 01.56 น. แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก

ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศผ่านทาง

  • แอปพลิเคชั่น AirBKK
  • www.airbkk.com
  • www.pr-bangkok.com
  • FB : สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
  • FB : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
  • FB : กรุงเทพมหานคร
  • LINE ALERT
  • LINE OA @airbangkok

พบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fon

ฝุ่น PM 2.5 เช้านี้
ภาพจากเพจ กรุงเทพมหานคร