
กรมอุตุฯเตือน 24 ชั่วโมงข้างหน้า อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย กับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ไทยยังมีฝนตกหนักทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสาน ช่วง 4-7 ส.ค.นี้ เสี่ยงเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ส่วน กทม.มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง ขณะที่พายุไต้ฝุ่น “ขนุน” (KHANUN) คาดเปลี่ยนทิศไปทางญี่ปุ่น แนะผู้ที่เดินทางไปญี่ปุ่นตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทาง
วันที่ 4 สิงหาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (4 ส.ค. 66) ว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- วิธีเช็กเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท chongkho.inbaac.com
- ตลาดเบียร์อาเซียนร้อนฉ่า “ซัปโปโร” ผนึก “คาร์ลสเบิร์ก” บุก
- เพจดัง อธิบาย 23 ข้อ ทำไมผลสอบ PISA ไทยคะแนนต่ำสุดในรอบ 20 ปี
ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณมีฝนฟ้าคะนอง
อนึ่ง สำหรับพายุไต้ฝุ่น “ขนุน” (KHANUN) อัพเดตเส้นทางเช้าวันนี้ (5/8/66) : พายุไต้ฝุ่นขนุนมีศูนย์กลางบริเวณทะเลจีนตะวันออก กำลังเปลี่ยนทิศทาง คาดว่าจะเคลื่อนตัวโค้งกลับไปทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ (ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศจีน) และมีโอกาสเคลื่อนตัวไปทางประเทศญี่ปุ่น ทิศทางไม่ได้มุ่งเข้าสู่ประเทศไทย จึงไม่มีผลกระทบกับบ้านเรา แต่ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางในระยะนี้ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนเพิ่มขึ้น
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง
ส่วนพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุก ๆ 24 ชม.) (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 4-13 ส.ค. 66 อัพเดตจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : วันนี้ (4 ส.ค. 66) ยังมีฝนต่อเนื่อง บริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบนและด้านตะวันออก ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกด้านรับมรสุม (จันทบุรี ตราด) และภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา)
สำหรับ กทม.และปริมณฑล ส่วนใหญ่ยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง ช่วงบ่าย-ค่ำ และมีตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนบน และภาคอีสานตอนบน ใกล้หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนาม
ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุม ยังต้องระวังฝนตกหนักและฝนตกสะสมบริเวณภาคเหนือตอนบน และด้านตะวันตก ภาคอีสานตอนบนและด้านตะวันออก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ (พื้นที่ที่ยังมีฝนน้อยได้แก่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานด้านตะวันตก ภาคกลาง กทม. และปริมณฑล)
คลื่นลมในทะเลทั้ง 2 ฝั่ง มีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ชาวเรือ ชาวประมงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะนี้
ช่วง 5-13 ส.ค. 66 เป็นช่วงที่ประเทศไทยจะมีฝนน้อยลง แต่ยังมีเกิดขึ้นได้บริเวณภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน และด้านรับมรสุม เนื่องจากมรสุมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง