วิธีลงทะเบียนแอป ทางรัฐ ยืนยันตัวตน รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท

ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น ทางรัฐ ยืนยันตัวตน รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ลงทะเบียนอย่างไร และเกณฑ์ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ เงินดิจิทัล 10,000 บาท มีอะไรบ้าง เช็กที่นี่

ภายหลังจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเลต ได้มีมติเห็นชอบการกำหนดรายละเอียดเกณฑ์ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ และยังได้หารือเกี่ยวกับการเชื่อมข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยจะใช้แอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” ในการใช้จ่ายโครงการ กำหนดช่วงเวลาของการลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ภายในไตรมาส 3 ปี 2567 และเริ่มรับเงินเพื่อใช้จ่ายในไตรมาส 4 ในปี 2567

ทางรัฐ คืออะไร

แอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” เป็นแอปที่รวบรวมบริการสาธารณะทั้งหมดไว้ที่เดียว โดยแอปจะมีแอปหรือลิงก์ที่เป็นบริการของภาครัฐจำนวนมาก และเข้าไปเชื่อมโยงบริการได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล สาธารณูปโภค การศึกษา สิทธิประโยชน์/สวัสดิการ ที่ดินที่อยู่อาศัย งานยุติธรรม/กฎหมาย เครดิตบูโร ข้อมูลภาครัฐ ยานพาหนะ ฯลฯ

วิธีการใช้งาน ทางรัฐ

สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” ได้ผ่าน App Store และ Google Play โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมีขั้นตอนในการสมัครได้ 2 แบบ ได้แก่

แบบที่ 1 สมัครเข้าใช้งานและสามารถเลือกยืนยันตัวตนได้หลากหลายช่องทาง ทั้งเคาน์เตอร์เซอร์วิสร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศไทย, เคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทย, ตู้บุญเติม, ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ และแอป ThaID

แบบที่ 2 สมัครเข้าใช้งานและยืนยันตัวตนผ่านแอป โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนั้น

ADVERTISMENT

วิธีดาวน์โหลดแอป ทางรัฐ

  • เปิดแอป ทางรัฐ
  • เลือกสมัครสมาชิก
  • สมัครด้วยบัตรประชาชน
  • ศึกษาข้อกำหนดและความเป็นส่วนตัว จากนั้นกด ยอมรับ
  • สแกนบัตรประชาชน จากนั้นตรวจสอบข้อมูล
  • เริ่มยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้าของผู้ใช้งาน
  • กำหนดชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเริ่มใช้งาน
  • กดเริ่มใช้งานบริการ
  • เมื่อยืนยันตัวตนเรียบร้อย ก็สามารถเข้าใช้บริการภาครัฐได้ทันที

ทั้งนี้ การลงทะเบียนแบบที่ 1 สามารถเข้าใช้บริการตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรได้ทันที ส่วนการลงทะเบียนแบบที่ 2 จะต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ

อ่านวิธีลงทะเบียนแอป ทางรัฐ ผ่านช่องทางต่าง ๆ แบบละเอียด ที่นี่ 

เกณฑ์การรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • อายุ 16 ปี จะต้องมีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2567
  • เงินฝากกำหนดไม่เกิน 500,000 บาท นับยอดบัญชีเงินฝากถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยเงินฝากดังกล่าว ต้องเป็นเงินฝากสกุลเงินบาท ในธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐเท่านั้น ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์
  • รายได้ไม่เกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี วัดจากฐานข้อมูลเงินได้ของกรมสรรพากร ณ ปี 2566 ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วเมื่อ 31 ธันวาคม 2566 และนับรวมทุกรายได้ที่ยื่นในระบบภาษี (เงินเดือน, ค่าจ้าง, ค่างานฟรีแลนซ์, ค่ารับเหมา, ค่าเช่า, ดอกเบี้ย ปันผล, รายได้ลิขสิทธิ์ต่าง ๆ)
  • การลงทะเบียนจะเริ่มต้นภายในไตรมาส 3 ของปี 2567 และจะเริ่มใช้จ่ายภายในไตรมาส 4 ของปี 2567
  • เกณฑ์ซื้อสินค้า ยังเป็นสินค้ากลุ่มเดิม ยกเว้นบริการและสินค้าต้องห้าม (สินค้าที่ยกเว้น คือ สินค้าอบายมุข น้ำมัน บริการ และออนไลน์ เป็นต้น และสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม)
  • เกณฑ์ร้านค้าขนาดเล็ก ยังเป็นเหมือนเดิม เข้าร่วมได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา (ยกเว้นซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต)