ศาลยกคำร้อง “ณพ ณรงค์เดช” ขอถอน “กฤษณ์” พ้นผู้จัดการมรดก

นายณพ ณรงค์เดช
นายณพ ณรงค์เดช อดีตรองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด

ศาลเเพ่งใต้ยกคำร้อง “ณพ ณรงค์เดช” ขอให้ถอน “กฤษณ์ ณรงค์เดช” พี่ชายจากผู้จัดการมรดก

วันที่ 27 ธันวาคม 2564 มติชนรายงานว่า ศาลเเพ่งกรุงเทพใต้ อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ พ.2605/25566 เรื่องขอถอนนายกฤษณ์ ณรงค์เดช ผู้จัดการมรดกของคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช (ลูกชายคนโต) โดยมี นายณพ ณรงค์เดช อดีตรองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (ลูกชายคนกลาง) เป็นผู้คัดค้านที่ 1, นายกรณ์ ณรงค์เดช (ลูกชายคนเล็ก) CEO บริษัท เคพีเอน เเละ นายเกษม ณรงค์เดช (บิดา) ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท เคพีเอ็น เป็นผู้คัดค้านที่ 2-3

คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 ก.พ.57 ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช (ผู้ตาย) ต่อมาวันที่ 7 เม.ย.63 นายณพ ณรงค์เดช รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด(ลูกชายคนกลาง) ยื่นคำร้องขอให้ถอนนายกฤษณ์ ณรงค์เดช (ลูกชายคนโต) ผู้จัดการมรดกของคุณหญิงพรทิพย์ จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกแทน

วันที่ 3 ส.ค.63 นายกรณ์ ณรงค์เดช (ลูกชายคนเล็ก) CEO บริษัทเคพีเอ็น และ นายเกษม ณรงค์เดช (บิดา) ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท เคพีเอ็น ยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของ นายณพ และคัดค้านการที่นายณพขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน กับขอให้นายกฤษณ์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป ศาลจึงให้ดำเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาทและเพื่อความสะดวกแก่การพิจารณา ให้เรียกนายณพเป็นผู้คัดค้านที่ 1 เรียกนายกรณ์เเละนายเกษม เป็นผู้คัดค้านที่ 2-3

โดยศาลพิเคราะห์เเล้วสรุปว่า มรดกที่ผู้ร้องจักต้องจัดการทรัพย์ตามพินัยกรรมตามข้อ 16 ได้จำหน่ายให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วและไม่มีผู้ใดโต้แย้งหรือคัดค้าน ส่วนทรัพย์ตามพินัยกรรมข้อ 17.1, 17.2, 17.4 ยังมีชื่อผู้คัดค้านที่ 3 เป็นเจ้าของและทรัพย์ ตามพินัยกรรมข้อ 8, 10, 12, 13, 14 เเละ 18 ยังไม่ได้แบ่งปันกันตามพินัยกรรมทั้งนี้ทรัพย์รายการดังกล่าวนี้ผู้ร้องผู้คัดค้านที่ 2-3 กล่าวอ้างและนำสืบพยานร่วมกันว่า เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับผู้คัดค้านที่ 3

โดยผู้คัดค้านที่ 3 สั่งให้ผู้ร้องระงับการจัดการมรดกไว้ก่อนเนื่องจากผู้คัดค้านที่ 1 มีปัญหาขัดแย้งกับทายาทของกองมรดกและมีคดีความพิพาทกันหลายคดีดังนี้ในการทำพินัยกรรมหากมีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างสามีภริยากรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1481 ที่ระบุว่า สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้

เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมและเอกสารที่ปรากฏต่อศาลฟังได้ความว่า เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของผู้คัดค้านที่ 3 และในส่วนที่เป็นสินสมรสระหว่างผู้คัดค้านที่ 3 กับเจ้ามรดกให้แก่บุคคลอื่น

แม้จะฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 3 ให้ความยินยอมในการที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นส่วนของตนและที่เป็นสินสมรสให้แก่บุตรทั้ง 3 คนหรือบุคคลอื่นก็ตามข้อตกลงเช่นว่านั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเเละยังขัดต่อความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1646 ที่กำหนด ให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็

แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่เจ้ามรดกจัดทำมีผลผูกพันไปถึงทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสและทรัพย์สินที่เป็นส่วนตัวของผู้คัดค้านที่ 3 ด้วยผู้คัดค้านที่ 3 ย่อมอ้างสิทธิของตนที่มีอยู่ในทรัพย์สินดังกล่าวและขอให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกระงับการจัดการมรดกเพื่อขอให้โอนทรัพย์สินส่วนของตนที่ได้โอนไปตามพินัยกรรมคืนและอาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสหรือทรัพย์สินที่เป็นส่วนของตนได้

เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ความว่าการที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเนื่องจากทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมอยู่แล้ว ผู้ร้องได้แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทไปตามพินัยกรรมจำนวนมากแล้วและการที่ไม่ทำการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวทายาท

ตามพินัยกรรมต่อไปอีกเป็นเพราะผู้คัดค้านที่ 3โต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินตามพินัยกรรมว่าเป็นสินสมรสระหว่างตนกับเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมและบางส่วนเป็นทรัพย์สินของตนรวมอยู่ด้วย

กรณีดังนี้จึงหาใช่เหตุที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1327 ไม่

นอกจากนี้ผู้คัดค้านที่ 2-3 ยังยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่2ยังมาเป็นพยานเบิกความยืนยันว่าผู้ร้องได้ทำหน้าที่จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายด้วยความสุจริตและเป็นธรรมด้วยดีตลอดมา ผู้ร้องยังเหมาะสมที่จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไปและคัดค้านหากจะให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เพราะผู้คัดค้านที่ 1 มีความประพฤติไปในทางที่เสื่อมเสียแก่กองมรดกและวงศ์ตระกูล

กรณียิ่งทำให้เห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรอื่นใดที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและยิ่งไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านที่ 1 ให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นอย่างยิ่งไม่เช่นนั้นจะเป็นการสร้างปัญหาความขัดแย้งระหว่างทายาทของกองมรดกขึ้นมาอีกมากมาย

หากผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจัดการมรดกหรือแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างไรก็ชอบที่จะฟ้องคดีได้ต่างหากอยู่แล้วผู้คัดค้านที่ 1 มีเพียงตัวผู้คัดค้านที่ 1 เป็นพยานเบิกความต่อศาลโดยไม่มีทายาทอื่นหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นยื่นคำร้องหรือเป็นพยานเบิกความสนับสนุนให้เห็นตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ 1 พยานหลักฐานตามทางไต่สวนของฝ่ายผู้คัดค้านที่ 1


จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้น้อยกว่าฝ่ายผู้ร้องคดีฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือมีเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นหรือปัญหาอื่นนอกเหนือจากนี้อีกเพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปพิพากษายกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดให้ตกเป็นพับ