ราชกิจจาประกาศ แพ็กเกจสิทธิภาษี เงินอุดหนุน รถอีวี

ราชกิจจานุเบกษาฯ-ประกาศราชกิจจาฯ

ราชกิจจานุเบกษาประกาศ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์

วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศ กรมสรรพสามิต เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์

โดยที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 38/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 372/2563 เรื่อง แก้ไขและเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการนโยบาย ยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ซึ่งนายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แต่งตั้งให้มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนงาน แผนปฏิบัติการ และโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 และครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565

เห็นชอบให้ดำเนินมาตรการสนับสนุน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยการลดอัตราหรือยกเว้นอากรขาเข้า การลดอัตราภาษีสรรพสามิตและการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการ เพื่อส่งเสริมให้เกิด การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ และขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

โดยมอบหมายให้อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่อธิบดี กรมสรรพสามิตมอบหมาย มีอำนาจอนุมัติให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ขอรับสิทธิตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กรมสรรพสามิตกำหนด ซึ่งต่อมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 รับทราบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าตามที่กระทรวงพลังงานในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วม ของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติเสนอ

และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยให้กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ดำเนินการ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สำหรับการจัดหาแหล่งงบประมาณในการดำเนินการตามมาตรการ สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์

และให้กระทรวงการคลังร่วมกับ สำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาความเหมาะสมของ แหล่งเงินและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติซึ่งผ่านการพิจารณา ของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น

อธิบดีกรมสรรพสามิตจึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ โดยออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในประกาศนี้ “มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์” หมายความว่า มาตรการของรัฐในการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยการลดอัตราหรือยกเว้นอากรขาเข้า การลดอัตราภาษีสรรพสามิตและการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ได้รับ สิทธิตามมาตรการ

เพื่อให้ราคารถยนต์และรถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ลดลงใกล้เคียงกับราคารถยนต์และรถจักรยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งส่งผลในอันที่จะทำให้เกิดความต้องการซื้อและสร้างแรงจูงใจให้มีการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) เพิ่มขึ้น

โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยมีกำหนด ระยะเวลาการดำเนินมาตรการจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 “คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาการขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์”

หมายความว่า คณะกรรมการตามคำสั่ง กรมสรรพสามิต ที่ 81/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณา การขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ข้อ 2 ผู้ขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ได้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้

2.1 ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2.2 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่มีโรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในเขตปลอดอากรตามกฎหมาย ว่าด้วยศุลกากร

2.3 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่มีโรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในเขตประกอบการเสรี ตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

2.4 ผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมตามข้อ 2.1 ข้อ 2.2 หรือข้อ 2.3 แล้วแต่กรณี 2.5 ผู้นำเข้าที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการจาก ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่มีโรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ในเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

2.6 ผู้นำเข้าที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการจากบริษัท ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์และมีสัญญาว่าจ้างการผลิตกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่มีโรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ ในเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

2.7 ผู้นำเข้าที่มีสัญญาว่าจ้างการผลิตกับบริษัทที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนภายใต้ กิจการการผลิตรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่

ข้อ 3 รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่ขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติ ดังนี้

3.1 รถยนต์นั่งตามบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ตอนที่ 6 และกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ออกตามความ ในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ที่มีราคาขายปลีกแนะน าไม่เกิน ๒ ล้านบาท และมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป

หรือแบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ที่มีราคาขายปลีกแนะนำเกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท และมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งผลิตในประเทศในปี พ.ศ. 2565 – 2568 หรือนำเข้ามาในประเทศในปี พ.ศ. 2565 – 2566

3.2 รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ท้ายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ตอนที่ 6 และกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษี สรรพสามิตที่ออกตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ที่มีราคาขายปลีกแนะนำ ไม่เกิน ๒ ล้านบาท และมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป

หรือแบบ พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ที่มีราคาขายปลีกแนะนำเกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท และมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งผลิตในประเทศในปี พ.ศ. 2565 – 2568 หรือนำเข้ามาในประเทศในปี พ.ศ. 2565 – 2566

3.3 รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ตามบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ตอนที่ 6 และกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ออกตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน ๒ ล้านบาท และมีขนาดความจุของ แบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งผลิตในประเทศในปี พ.ศ. 2565 – 2568

3.4 รถจักรยานยนต์ตามบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ตอนที่ 7 และกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ที่ออกตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ที่มีราคาขายปลีกแนะน า ไม่เกิน 150,000 บาท ซึ่งผลิตในประเทศในปี พ.ศ. 2565 – 2568 หรือน าเข้ามาในประเทศในปี พ.ศ. 2565 – 2566 โดยต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติ ดังนี้

(1) ใช้แบตเตอรี่ประเภทลิเธียมไอออนที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 48 โวลต์ ขึ้นไป โดยต้องยื่นเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ประเภทลิเธียมไอออน ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐหรือจากสถาบันที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ (เช่น สถาบันยานยนต์ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น) หรือหน่วยงานอื่นที่รัฐรับรอง

(2) ใช้แบตเตอรี่ที่มีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป หรือวิ่งได้ระยะทางตั้งแต่ 75 กิโลเมตรขึ้นไปต่อการอัดประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง ซึ่งผ่านการทดสอบ ตามมาตรฐาน WMTC (Worldwide Harmonized Motorcycle Emission Certification/Test Procedure) ตั้งแต่ Class 1 ขึ้นไป โดยต้องยื่นเอกสารรายงานผลการทดสอบจากหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ (เช่น สถาบันยานยนต์ สถาบันไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น) หรือหน่วยงานอื่นที่รัฐรับรอง

(3) ใช้ยางล้อที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยางล้อแบบสูบลม สำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปด มาตรฐานเลขที่ มอก. ๒๗๒๐ – ๒๕๖๐ หรือที่สูงกว่า หรือเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคยานยนต์ของสหประชาชาติ ข้อกำหนดที่ ๗๕ (UN Regulation No. 75) 00 Series หรือ Series ที่สูงกว่า

(4) ผ่านการทดสอบความปลอดภัยของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยานยนต์ประเภท L : คุณลักษณะเฉพาะสำหรับระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้า มาตรฐานเลขที่ มอก. 2952 – 2561 หรือได้รับหนังสือรับรองแบบ (Certificate) ตามข้อกำหนด ทางเทคนิคของสหประชาชาติ ข้อกำหนดที่ 136 (UN Regulation No. 136) 00 Series หรือ Series ที่สูงกว่า หรือได้รับหนังสือรับรองแบบเครื่องกำเนิดพลังงานที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ของรถจักรยานยนต์ ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก

ข้อ 4 ผู้ขอรับสิทธิตามข้อ 2 ที่ผลิตหรือนำเข้ารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่มีคุณลักษณะ และคุณสมบัติตามข้อ 3 ต้องยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (แบบ ยฟ. 01-01) ที่กำหนดท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอรับสิทธิ

โดยยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต ณ สำนักงาน สรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ ที่สถานประกอบการของผู้นำเข้าตั้งอยู่ ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ขอรับสิทธิตาม ข้อ 2 มีโรงอุตสาหกรรมหรือ สถานประกอบการหลายแห่ง ให้มีสิทธิยื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการอันเป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

เมื่อสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ได้ตรวจสอบรายละเอียดและข้อมูลการขอรับสิทธิในเบื้องต้นแล้ว ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นำส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ขอรับสิทธิตามวรรคหนึ่งและเอกสาร หลักฐานที่ใช้ประกอบการขอรับสิทธิให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2 เพื่อให้นำเสนอ คณะกรรมการกาหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาการขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์

เพื่อพิจารณาและตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขของการได้รับสิทธิ และนำเสนอต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพสามิตมอบหมาย เพื่อพิจารณาและอนุมัติให้เป็นผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ต่อไป

ข้อ 5 ผู้ขอรับสิทธิตามข้อ 2 ที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นผู้ได้รับสิทธิตามข้อ 4 วรรคสอง ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ได้รับสิทธิในขั้นตอนการขอรับสิทธิดังกล่าว ต้องทำข้อตกลงการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์กับอธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพสามิตมอบหมาย

และเมื่อได้มีการลงนามข้อตกลงการรับสิทธิจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ให้เก็บต้นฉบับข้อตกลงการรับสิทธินั้นไว้ ณ สำนักมาตรฐาน และพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2 และส่งมอบคู่ฉบับข้อตกลงการรับสิทธิให้ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ได้รับสิทธิดังกล่าว

ทั้งนี้ ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2 สำเนาเอกสารข้อตกลงการรับสิทธิให้สำนักงานสรรพสามิตภาคและสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่สถานประกอบการของผู้นำเข้าตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี เพื่อทราบ

ข้อ 6 ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง ต้องวางหนังสือสัญญาค้าประกันโดยธนาคารพาณิชย์ ที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย (Bank Guarantee) ที่มีกำหนดระยะเวลาการค้าประกันจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569 โดยยื่นต่อกรมสรรพสามิต ณ สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการลงนามข้อตกลงการรับสิทธิเสร็จสมบูรณ์

โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินตามหนังสือสัญญาค้าประกัน ดังนี้

1 กรณีที่เป็นการได้รับสิทธิสำหรับรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถยนต์กระบะ ตามข้อ 3.1 ข้อ 3.2 หรือข้อ 3.3 แล้วแต่กรณี

(1) หากมีทุนจดทะเบียนบริษัทน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ให้วางหนังสือ สัญญาค้าประกันโดยธนาคารเป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาท

(2) หากมีทุนจดทะเบียนบริษัทตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท ขึ้นไป ให้วางหนังสือ สัญญาค้าประกันโดยธนาคารเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท

6.2 กรณีที่เป็นการได้รับสิทธิสำหรับรถจักรยานยนต์ ตามข้อ 3.4

(1) หากมีทุนจดทะเบียนบริษัทน้อยกว่า 500 ล้านบาท ให้วางหนังสือ สัญญาค้าประกันโดยธนาคารเป็นจำนวนเงิน 15 ล้านบาท

(2) หากมีทุนจดทะเบียนบริษัทตั้งแต่ 500 ล้านบาท แต่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ให้วางหนังสือสัญญาค้ำประกันโดยธนาคารเป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท

(3) หากมีทุนจดทะเบียนบริษัทตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป ให้วางหนังสือ สัญญาค้ำประกันโดยธนาคารเป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท

กรมสรรพสามิตโดยการนำเสนอของคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณา การขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จะทบทวนวงเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันโดยธนาคารตามวรรคหนึ่ง ตามความเหมาะสมทุก 1 ปี นับแต่วันที่มีการลงนามข้อตกลงการรับสิทธิเสร็จสมบูรณ์

โดยพิจารณาถัวเฉลี่ยจากโครงสร้างราคาขายปลีก แนะนำ และปริมาณจากยอดขายในภาพรวมของผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยคำนึงถึงปริมาณอุปสงค์และอุปทานของยานยนต์ไฟฟ้า ในประเทศ

ข้อ 7 ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง ต้องแจ้งราคาขายปลีกแนะนำและโครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำ และแจ้งเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกแนะนำและโครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำ ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560

สำหรับรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน รถยนต์กระบะ และรถจักรยานยนต์ ที่ขอรับสิทธิตามข้อ 3 โดยแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่สถานประกอบการของผู้นำเข้าตั้งอยู่ ก่อนการนำสินค้า ออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนไม่น้อยกว่า 15 วัน หรือก่อนวันยื่นแบบรายการภาษี

และชำระภาษีไม่น้อยกว่า 15 วัน แล้วแต่กรณี โดยให้ระบุข้อความ “(ยานยนต์ไฟฟ้า)” ต่อท้าย แบบ/รุ่น ของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่ขอรับสิทธิ ในช่อง “แบบ/รุ่น” ของแบบแจ้งราคาขายปลีก แนะนำตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ราคาขายปลีกแนะนำที่แจ้งไว้ตามวรรคหนึ่ง

จะนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาการขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์แล้ว

ข้อ 8 ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง ซึ่งเป็นผู้นำเข้าตามข้อ 2.4 ข้อ 2.5 ข้อ 2.6 หรือข้อ 2.7 ที่นำเข้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน แบบสำเร็จรูปทั้งคัน (Completely Built Up : CBU) ตามข้อ 3.1 หรือข้อ 3.2 แล้วแต่กรณี ซึ่งได้รับสิทธิในการลดอัตราหรือยกเว้น อากรศุลกากร ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร

ต้องยื่นแบบคำขอหนังสือรับรองการได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภท รถยนต์และรถจักรยานยนต์ (แบบ ยฟ. 01-02) ที่กำหนดท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐาน ที่ใช้ประกอบแบบคำขอ โดยยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ ที่สถานประกอบการของผู้น าเข้าตั้งอย

เมื่อสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ได้ตรวจสอบรายละเอียดและข้อมูลการขอรับสิทธิในเบื้องต้นแล้ว ให้ส่งแบบคำขอและเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบแบบคำขอตามวรรคหนึ่งให้สำนักมาตรฐานและพัฒนา การจัดเก็บภาษี 2

เพื่อพิจารณาตรวจสอบและออกหนังสือรับรองการได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (แบบ ยฟ. 01-02/1 หรือแบบ ยฟ. 01-02/2) ที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ภายใน 5 วันทำการ นับแต่วันที่สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2 ได้รับแบบคำขอและเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบจากสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

เมื่อผู้ได้รับสิทธิซึ่งเป็นผู้นำเข้าตามวรรคหนึ่งได้รับหนังสือรับรองตามวรรคสองแล้ว ให้นำหนังสือรับรองการได้รับสิทธิดังกล่าวไปแสดงต่อพนักงานศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร ที่นำเข้าเพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากรตรวจปล่อยสินค้า พร้อมยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในเวลา ที่ออกใบขนสินค้าให้ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรต่อไป

ข้อ 9 ห้ามมิให้ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง กระทำการใด ๆ ต่อรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน รถยนต์กระบะ หรือรถจักรยานยนต์ ตามข้อ 3 ที่ได้แจ้งราคาขายปลีกแนะนำและโครงสร้าง ราคาขายปลีกแนะนำไว้แล้วตามข้อ 7 อันมีลักษณะเป็นการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (Minor Change) ตลอดช่วงระยะเวลาที่ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์

เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณา การขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์

ข้อ 10 รถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถจักรยานยนต์ ตามข้อ 3.1 ข้อ 3.2 หรือข้อ 3.4 ที่นำเข้ามาในประเทศในปี พ.ศ. 2565 – 2566 ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยรถยนต์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 แต่หากเป็นรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน รถยนต์กระบะ หรือรถจักรยานยนต์ ตามข้อ 3.1 ข้อ 3.2 ข้อ 3.3 หรือข้อ 3.4 แล้วแต่กรณี ที่ผลิตในประเทศในปี พ.ศ. 2565 – 2568 ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2568

ข้อ 11 เงินอุดหนุนที่มีสิทธิได้รับตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ มีจำนวนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

11.1 รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามข้อ 3.1 หรือข้อ 3.2 แล้วแต่กรณี ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน ๒ ล้านบาท

(1) หากมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง แต่น้อยกว่า ๓๐ กิโลวัตต์ชั่วโมง ให้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน ๗๐,๐๐๐ บาท ต่อคัน

(2) หากมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ ๓๐ กิโลวัตต์ชั่วโมง ขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน ๑๕๐,๐๐๐ บาท ต่อคัน

11.2 รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน ๔,๐๐๐ กิโลกรัม ตามข้อ 3.3 ให้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท ต่อคัน

11.3 รถจักรยานยนต์ตามข้อ 3.4 ให้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน ๑๘,๐๐๐ บาท ต่อคัน

ข้อ 12 ในการรับเงินอุดหนุนตามข้อ 11 ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง ต้องยื่นแบบคำขอรับเงินอุดหนุน ตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (แบบ ยฟ.01-03) ที่กำหนดท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการชำระภาษีอากร การจำหน่าย และการจดทะเบียนรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน รถยนต์กระบะ หรือรถจักรยานยนต์ ที่ขอรับสิทธิตามข้อ 3 ประกอบด้วย

เอกสารการชำระภาษีสรรพสามิต อากรขาเข้า และภาษีอื่น ที่เกี่ยวข้อง ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีในการซื้อขายหรือการจำหน่ายรถยนต์ และเอกสารหลักฐาน การจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ตามข้อ 10 โดยยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ แห่งท้องที่ที่สถานประกอบการของผู้นำเข้าตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี

เมื่อสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องของแบบคำขอรับเงินอุดหนุนและ เอกสารหลักฐานที่ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นำส่งเอกสารหลักฐานนั้น ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 2 เพื่อให้หน่วยงานหรือคณะทำงานที่อธิบดีกรมสรรพสามิต มอบหมายหรือแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กลั่นกรองรายละเอียดข้อมูลและให้ความเห็นเกี่ยวกับการได้รับสิทธิ แล้วนำเสนอคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาการขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พิจารณาและตรวจสอบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการได้รับเงินอุดหนุน

แล้วนำเสนอต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพสามิต มอบหมายเพื่อพิจารณาและอนุมัติเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน และให้สำนักบริหารการคลัง และรายได้ดำเนินการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นรายไตรมาสต่อไป

ข้อ 13 ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง ซึ่งเป็นผู้ขอรับสิทธิตามข้อ 2.4 ข้อ 2.5 ข้อ 2.6 หรือข้อ 2.7 สำหรับรถยนต์นั่งรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถจักรยานยนต์ ตามข้อ 3.1 ข้อ 3.2 หรือข้อ 3.4 แล้วแต่กรณี

ต้องผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถจักรยานยนต์ หรือต้องดำเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับสิทธิในขั้นตอนการขอรับสิทธิดังกล่าว ผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่ง ไม่เกิน 10 คน หรือรถจักรยานยนต์ แล้วแต่กรณี เพื่อชดเชยการนำเข้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีการนำเข้ามาในประเทศ ในแบบสำเร็จรูปทั้งคัน (Completely Built Up : CBU) ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๖๖ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้า ดังนี้

13.1 กรณีที่มีการนำเข้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน ๒ ล้านบาท และมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ ชั่วโมงขึ้นไป ตามข้อ 3.1 หรือข้อ 3.2 แล้วแต่กรณี ให้ผลิตรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่ง ไม่เกิน 10 คน รุ่นใดก็ได้ โดยต้องผลิตชดเชยจนครบตามจำนวนการนำเข้ามาในประเทศในแบบ สำเร็จรูปทั้งคัน ในอัตราส่วน ๑ : ๑ เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1 คัน) ของจำนวนที่นำเข้ามา ทั้งหมด ภายในวันที่ 31 ธันวาคม ๒๕๖๗

หากจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการผลิตชดเชยจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ๒๕๖๘ ต้องผลิตชดเชยการนำเข้าในอัตราส่วน ๑ : ๑.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ของจำนวนที่นำเข้ามาทั้งหมด 13.2 กรณีที่มีการนำเข้ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีราคาขายปลีกแนะนำเกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท และมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป ตามข้อ 3.1 หรือข้อ 3.2 แล้วแต่กรณี ให้ผลิตรถยนต์นั่งหรือ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เฉพาะรุ่นที่มีการนำเข้าแบบสำเร็จรูปทั้งคันในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๖๖

โดยต้องผลิตชดเชยจนครบตามจำนวนการนำเข้ามาในประเทศในแบบสำเร็จรูปทั้งคัน ในอัตราส่วน ๑ : ๑ เท่า (น าเข้า 1 คัน ผลิต 1 คัน) ของจ านวนที่นำเข้ามาทั้งหมด ภายในวันที่ 31 ธันวาคม ๒๕๖๗ หากจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการผลิตชดเชยจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ๒๕๖๘ ต้องผลิตชดเชยการนำเข้าในอัตราส่วน ๑ : ๑.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ของจำนวนที่นำเข้ามาทั้งหมด 13.3 กรณีที่มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ตามข้อ 3.4 ให้ผลิตรถจักรยานยนต์ รุ่นใดก็ได้

โดยต้องผลิตชดเชยจนครบตามจำนวนการนำเข้ามาในประเทศในแบบสำเร็จรูปทั้งคัน ในอัตราส่วน ๑ : ๑ เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1 คัน) ของจำนวนที่นำเข้ามาทั้งหมด ภายในวันที่ 31 ธันวาคม ๒๕๖๗ หากจำเป็น ต้องขยายระยะเวลาการผลิตชดเชยจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ๒๕๖๘ ต้องผลิตชดเชยการนำเข้าในอัตราส่วน ๑ : ๑.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ของจำนวน ที่นำเข้ามาทั้งหมด

ข้อ 14 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง ซึ่งเป็นผู้ขอรับสิทธิตามข้อ 2 สำหรับรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถยนต์กระบะ ตามข้อ 3.1 ข้อ 3.2 หรือข้อ 3.3 แล้วแต่กรณี ต้องใช้แบตเตอรี่หรือชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ เป็นส่วนประกอบในการผลิต รถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และรถยนต์กระบะ แบบพลังงานไฟฟ้า จากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ทุกคัน

หรือต้องดำเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบ อุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับสิทธิในขั้นตอนการขอรับสิทธิดังกล่าว ใช้แบตเตอรี่หรือชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเป็นส่วนประกอบในการผลิตรถยนต์ดังกล่าวทุกคัน

ทั้งนี้ ในวันที่ทำข้อตกลงการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ตามข้อ 5 ต้องเลือกดำเนินการตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งในกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

14.1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศ ระดับเซลล์ (Battery Cell)

14.2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศ ระดับโมดูล (Battery Module) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 ต้องใช้พีซียู อินเวอร์เตอร์ (PCU Inverter) ที่ผลิตในประเทศ และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2578 ต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิต ในประเทศ โดยเลือกใช้ชิ้นส่วนอย่างใดอย่างหนึ่ง จากชิ้นส่วน 5 รายการ ประกอบด้วย มอเตอร์ ขับเคลื่อน (Traction Motor) เกียร์ทดรอบ (Reduction Gear) คอมเพรสเซอร์ระบบปรับอากาศ สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) ระบบควบคุมการขับขี่ (DCU)

14.3 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศระดับ การประกอบ (Battery Pack Assembly) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 ต้องใช้พีซียู อินเวอร์เตอร์ (PCU Inverter) ที่ผลิตในประเทศ และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2578 ต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิต ในประเทศโดยเลือกใช้ชิ้นส่วน 2 รายการ จากชิ้นส่วน 5 รายการ ประกอบด้วย มอเตอร์ขับเคลื่อน (Traction Motor) เกียร์ทดรอบ (Reduction Gear) คอมเพรสเซอร์ระบบปรับอากาศสำหรับ ยานพาหนะไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) ระบบควบคุมการขับขี่ (DCU)

การเลือกดำเนินการตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการใช้แบตเตอรี่หรือชิ้นส่วน ที่ผลิตในประเทศในกรณีต่าง ๆ ตามวรรคหนึ่ง ซึ่งผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง และผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับสิทธิในขั้นตอนการขอรับสิทธิดังกล่าว ได้แจ้งไว้ในวันที่ทำข้อตกลงการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ตามข้อ 5 นั้น

อาจขอเปลี่ยนแปลงต่อกรมสรรพสามิตได้ ก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขในแต่ละกรณีไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาการขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ก่อน จึงจะสามารถดำเนินการตามที่ขอเปลี่ยนแปลงได้ ระยะเวลาในการเริ่มใช้แบตเตอรี่หรือชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเป็นส่วนประกอบ ในการผลิตรถยนต์ดังกล่าวทุกคันตามวรรคหนึ่ง

สามารถปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับความพร้อม ของผู้ประกอบอุตสาหกรรมและปริมาณความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ หากสามารถใช้แบตเตอรี่ หรือชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศดังกล่าวได้ก่อนระยะเวลาที่กำหนด กรมสรรพสามิตโดยการนำเสนอของ คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาการขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ สามารถปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงื่อนไขและระยะเวลา ดังกล่าวได้ตามความเหมาะสม

ข้อ 15 ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง และผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับ ผู้ได้รับสิทธิในขั้นตอนการขอรับสิทธิ ต้องจัดทำบัญชีประจำวันตามแบบแสดงการรับจ่ายรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ที่ขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ (แบบ ยฟ. 01-04) ภายใน 3 วันนับแต่วันที่มีเหตุที่จะต้องลงรายการนั้นเกิดขึ้น

และต้องจัดทำงบเดือนแสดงการรับจ่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (แบบ ยฟ. 01-05) ที่กำหนดท้ายประกาศนี้ โดยยื่นต่อสรรพสามิตพื้นที่ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่หรือ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่สถานประกอบการของผู้นำเข้าตั้งอยู่ ภายในวันที่ 15 ของเดือน ถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่ปฏิบัติพิธีการศุลกากรตรวจปล่อยสินค้า แล้วแต่กรณี

และต้องเก็บรักษาบัญชีประจำวันและงบเดือนนั้นไว้ ไม่น้อยกว่า 5 ปีที่โรงอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการ โดยต้องเตรียมพร้อมให้เจ้าพนักงาน สรรพสามิตสามารถเรียกมาตรวจสอบได้ตลอดเวลา ข้อ 16 ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ได้รับสิทธิ ตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง ซึ่งเป็นผู้ขอรับสิทธิตามข้อ 2.4 ข้อ 2.5 ข้อ 2.6 หรือข้อ 2.7 ไม่ดำเนินการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถจักรยานยนต์ แล้วแต่กรณี

เพื่อชดเชยการนำเข้า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ 13 หากสำนักบริหารการคลังและรายได้ ได้ดำเนินการจ่ายเงินอุดหนุนไปแล้วตามข้อ 12 วรรคสอง กรมสรรพสามิตจะเรียกคืนเงินอุดหนุน ดังกล่าวจากผู้ได้รับเงินอุดหนุนเป็นรายคันตามจำนวนที่ไม่สามารถดำเนินการผลิตชดเชยได้ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีโดยไม่คิดทบต้น และจะบังคับตามหนังสือสัญญาค้าประกันโดย ธนาคารที่วางไว้ตามข้อ 6 เต็มจำนวน การไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้าตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนหรือไม่ ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง

ตลอดจนผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือ ผู้ประกอบกิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ได้รับสิทธิดังกล่าว จะต้องร่วมกันรับผิดโดยเสียค่าปรับ ในจำนวนเท่ากับภาษีสรรพสามิต เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ที่ชำระขาดไป ส าหรับรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถจักรยานยนต์ เป็นรายคันตามจำนวนที่ไม่สามารถดำเนินการผลิตชดเชยได้

ข้อ 17 ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ได้รับสิทธิ ตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามข้อ 4 วรรคสอง ซึ่งเป็นผู้ขอรับสิทธิตามข้อ 2 ไม่ใช้แบตเตอรี่หรือชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเป็นส่วนประกอบในการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน หรือรถยนต์กระบะ แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ทุกคัน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 14 ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ตามข้อ 4 วรรคสอง

ตลอดจนผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบกิจการที่มีความเกี่ยวข้องกับ ผู้ได้รับสิทธิดังกล่าว จะต้องร่วมกันรับผิดโดยเสียค่าปรับ 2 เท่า ของจำนวนภาษีสรรพสามิตที่จะต้อง เสียจากการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และรถยนต์กระบะ แบบพลังงาน ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ตามจำนวนการผลิตที่ไม่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าว

ข้อ 18 เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์ และรถจักรยานยนต์มีความสอดคล้องกับมติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หากมีกรณี ที่มีปัญหาการตีความหรือปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรการนี้ ให้คณะกรรมการ กำหนดหลักเกณฑ์และพิจารณาการขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภท รถยนต์และรถจักรยานยนต์นำเสนออธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ที่อธิบดีกรมสรรพสามิตมอบหมาย เพื่อหารือไปยังคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติต่อไป

ข้อ 19 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป