4G-IoT ครองเมือง วิดีโอดันยอดใช้ ดาต้าโตพรวด

เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ส่งผลต่อชีวิตผู้คนทั่วโลก ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีทั้งในแง่อุปกรณ์ที่มีราคาย่อมเยาขึ้นกว่าเดิม พื้นที่บริการครอบคลุมมากขึ้น และสปีดเร็วขึ้น

อีริคสันŽ เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุด (Mobility Report 2017) ระบุว่า ผู้ใช้บริการ LTE ในไทยโตต่อเนื่อง จากการขยายโครงข่ายที่ครอบคลุมทั่ว, อุปกรณ์ที่มีราคาสมเหตุสมผล และแอปพลิเคชั่นที่พัฒนาโดยคนไทยและต่างชาติ รวมถึงการสนับสนุนนโยบายดิจิทัลไทยแลนด์

นาดีน อัลเลนŽ ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ความนิยมในการใช้เทคโนโลยี 4G LTE ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก คาดว่าในปี 2561 เทคโนโลยี 4G LTE จะเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดในโลก เนื่องจากการใช้ดาต้าผ่านมือถือเพิ่มขึ้น 70% เทียบจากไตรมาส 1 ปีที่แล้วกับไตรมาส 1 ปีนี้ ขณะที่ผู้ใช้มือถือทั่วโลกโตขึ้น 4% มาอยู่ที่ 7.6 พันล้านราย เฉลี่ย 1.1 พันล้านรายในแต่ละภูมิภาค

สำหรับในไทยมีคนใช้มือถือ 90 ล้านราย สูงกว่าประชากร เนื่องจากผู้ใช้บางคนมี 2 ซิม คาดว่า ในปี 2565 จะมีผู้ใช้เพิ่มเป็น 100 ล้านราย

ทุกวันมีผู้สมัครใช้โมบายบรอดแบนด์เพิ่มวันละ 1 ล้านรายทั่วโลก ซิมการ์ดโต 4% แต่มีการใช้โมบายบรอดแบนด์โตขึ้น 25% จากปี 2559 มีผู้ใช้ 7.6 พันล้านราย และเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคนทั่วโลกในปี 2565 มี 8.3 พันล้านรายใช้โมบายบรอดแบนด์Ž

เทคโนโลยี 4G มาแทน 2G

ภายในปี 2565 เทคโนโลยี 2G แทบจะหายไปจากโลกนี้ และ 4G จะมีสัดส่วนการใช้อันดับ 1 ทั่วโลก ขณะที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3G และ 4G จะมีส่วนแบ่งการตลาดเท่ากันที่ 48% และ 5G คาดว่าจะมีผู้ใช้งาน 500 ล้านคนทั่วโลก อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 28 ล้านราย

สำหรับในไทยระหว่างปี 2559-2565 เทคโนโลยี 4G จะเติบโตขึ้นถึง 4 เท่า จากปี 2559 ที่มีการใช้งาน 4G เกือบ 20 ล้านราย หรือราว 20% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ และจะเพิ่มเป็น 60% ในปี 2563 ส่วนเทคโนโลยี 5G จะเข้ามาในช่วงปี 2563-2565 โดยเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) จะเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศไทย

การใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกมีค่าเฉลี่ยการใช้ข้อมูลที่ 2.1 GB/เดือน คาดว่าปี 2565 จะโตเป็น 6 เท่า หรือ 12 GB/เดือน ขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีค่าเฉลี่ยการใช้ที่ 1.8 GB/เดือน และเติบโต 7 เท่า หรือมาอยู่ที่ 12 GB/เดือน

ในอีกห้าปีข้างหน้า วิดีโอŽ ดันยอดใช้ดาต้าพุ่ง

ตัวขับเคลื่อนการใช้ดาต้า คือ วิดีโอŽ มีสัดส่วนถึง 50% ในปี 2559 ที่ผ่านมา คาดว่าจะเพิ่มเป็น 75% ในปี 2565 โดย 60% เป็นการใช้งานผ่านแท็บเลต รองลงมาเป็นพีซี และสมาร์ทโฟน แต่การใช้โซเชียลมีเดียจะใช้ผ่านสมาร์ทโฟน 80% โดยในปี 2558-2559 มีการใช้แอป แชตŽ มากสุด รองลงมาเป็น เสิร์ชเอ็นจิ้นŽ และ โซเชียลมีเดียŽ

ปัจจุบันผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยมีการใช้งานโลคอลแอปพลิเคชั่น ประมาณ 18% เป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งการใช้โลคอล

แอปพลิเคชั่นช่วยพัฒนาประเทศ ดังนั้นการสร้างประสบการณ์ในการใช้งานจึงเป็นสิ่งที่โอเปอเรเตอร์ต้องให้ความสำคัญ เช่น ลดระยะเวลาในการรอ (Time To Content) เนื่องจากกลุ่มคนรุ่นใหม่มีนิสัยไม่ชอบรอ ซึ่งที่ผ่านมาอีริคสันร่วมกับดีแทคพัฒนาโครงข่ายลดระยะเวลาได้ 62% เพิ่มการใช้งานถึง 2 เท่าตัว

IoTŽ ขุมทรัพย์ค่ายมือถือ

อัลเลนŽ กล่าวต่อว่า ในปี 2565 ทั่วโลกจะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ประมาณ 29,000 ล้านชิ้น เป็นอุปกรณ์ IoT จำนวน 18,000 ล้านชิ้น เป็นการใช้งานเทคโนโลยี 4G และ 5G (Wide Area IoT) จำนวน 2,100 ล้านชิ้น และใช้เทคโนโลยีไวไฟ และบลูทูท (Short Range IoT) จำนวน 15,500 ล้านชิ้น โดยจะมีผู้ใช้งานราว 18 ล้านราย โดย 70% เป็นการใช้ด้วย 4G, 5G IoT แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ Massive IoT เป็นอุปกรณ์ทั่วไป และ Critical IoT เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับงานที่มีความสำคัญสูง เช่น การผ่าตัดระยะไกล

เรามองว่าประเทศไทยพร้อมเติบโตไปในทาง Massive IoT แล้ว และผู้ให้บริการโครงข่ายก็สามารถแข่งขันกันที่การให้บริการ Indoor IoT และ Outdoor IoT ให้แตกต่างกันได้ เมื่อตลาด IoT เติบโตไปในทิศทางใดก็ตาม ความร่วมมือระหว่างเอกชนกับภาครัฐถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการวางกรอบด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security) และความเป็นส่วนตัว (Privacy)Ž

ดังนั้น ตลาด IoT ถือเป็นตลาดใหญ่ที่โอเปอเรเตอร์ต้องผลักดันและแย่งชิงไปพร้อม ๆ กัน จึงอาจมีบทบาทได้ทั้งในฐานะเจ้าของโครงข่ายที่ทำให้เทคโนโลยี IoT ต่าง ๆ ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือในฐานะผู้ผลักดันหรือผู้สร้างให้เกิด IoT รูปแบบใหม่ ซึ่งลูกค้า IoT จะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของโอเปอเรเตอร์ด้วย

3 สิ่งที่โอเปอเรเตอร์ต้องทำ

และ 3 สิ่งที่โอเปอเรเตอร์ต้องให้ความสำคัญในยุคดิจิทัลไทยแลนด์ คือ 1.Network Evolution โดยโอเปอเรเตอร์ต้องมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการใช้งานให้สูงขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.Differentiate Offering ผู้ให้บริการโครงข่ายแต่ละรายต้องมีการนำเสนอบริการที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เช่น ที่อีริคสันร่วมมือกับเอไอเอ พัฒนาโซลูชั่น IoT สำหรับตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น และ 3.Public/Private Partnership มีความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการโครงข่ายและภาครัฐในการพัฒนาบริการใหม่ ๆ และโลคอลแอปพลิเคชั่นมากขึ้น ทั้งจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย

สำหรับเทคโนโลยี 5G คาดว่าจะกลายเป็นบริการที่ช่วยให้ระบบ IoT ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ใช้ได้ เช่น 4K/8K วิดีโอสตรีมมิ่ง, AR/VR, รถไร้คนขับ เป็นต้น ส่วนในมุมผู้ให้บริการโครงข่ายจะมีเทคโนโลยี New Radio (NR), Virtualized RAN, Federated Network Slicing, Distributed Cloud และ Real-time Machine Learning/AI

5G ไม่นานเกินรอ

ปัจจุบันเริ่มจับมือกับโอเปอเรเตอร์ทดสอบ 5G ในไทยแล้ว เช่น ร่วมกับทรู ทดสอบการใช้งาน 5G กับ Bike Tracking ด้วยเทคโนโลยี Cat-M1 ทั้งมีการทดสอบการใช้งาน Radio Dot ให้บริการเครือข่ายไร้สายสำหรับอุปกรณ์พกพาความเร็วสูงในอาคาร เป็นต้น

ในต่างประเทศ เราร่วมกับ Scania ในโครงการ Intelligent Transportation System (ITS) ให้รถโดยสารเชื่อมกับ Cloud และบริการต่าง ๆ ของ Scania ได้ ทำให้ผู้ขับได้รับข้อมูลต่าง ๆ และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในการทำรถยนต์ไร้คนขับได้Ž